ท๊อป - จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา CEO แห่ง บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ เล่าให้ทีม SpringNews ฟังว่า จากทั้งหมด 2,100 คนที่ได้เข้าร่วมประชุม WEF : World Economic Forum 2022 ณ เมือง Davos สวิตเซอร์แลนด์ มีคนไทยเพียง 7 คนที่ได้เข้าร่วม พร้อมสรุป 4 ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญนับจากนี้
จากการเข้าร่วมงาน World Economic Forum 2022 ณ เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เวทีระดับโลกที่นำปัญหาด้านต่างๆ จากทั่วโลกมาหาทางแก้ไข โดยมีผู้นำจากภาคส่วนต่างๆ มาร่วมประชุม กำหนดแนวทางหรือกฎในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน และสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่โลกใบนี้ ท๊อป - จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด สรุป 4 ประเด็นซึ่งเป็นทิศทางที่จะดำเนินธุรกิจและขับเคลื่อนโลกต่อไป และสำคัญต่อโลกอย่างยิ่งยวด นั่นคือ Quality Growth, Digital Wealth, Digital Inclusion และ Recession
4 ประเด็นใหญ่ที่คนไทยต้องรู้ จาก WEF : DAVOS 2022
5-10 ปีที่ผ่านมา Common Theme ของโลกมีลักษณะเป็น High Speed Growth หรือ Aggressive Growth กล่าวคือ การทำธุรกิจให้เติบโตโดยไม่แคร์สังคม ไม่แคร์ความยั่งยืน ไม่แคร์สิ่งแวดล้อม ไม่แคร์โลกร้อน ส่งผลต่อภาวะโลกร้อนและความไม่เท่าเทียมหลากหลายด้านดังที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
หลังจากนี้ การทำธุรกิจให้เติบโตจึงต้องคำนึงถึง Green Economy (เศรษฐกิจสีเขียว) ทั้งเรื่อง Decarbonization, Carbon Credit ซึ่งเข้ามาเปลี่ยนทุกกฎการทำธุรกิจทั้งหมด เช่น กองทุนต่างๆ จะไม่สามารถลงทุนในบริษัทที่ไม่ทำเรื่อง Carbon Neutrality (ความเป็นกลางทางคาร์บอน) ให้เกิดขึ้นภายในปี 2030 เมื่อบริษัทไปกู้แบงก์ก็จะต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงมาก ส่วนบริษัทที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนก็จะจ่ายดอกเบี้ยถูกกว่ามาก
ประเด็นนี้กระเทือนธุรกิจไทยด้วย เช่น ถ้า SMEs ในไทยมีระบบการผลิตสินค้าที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้ไฟฟ้าจากแหล่งผลิตที่ไม่คำนึงถึง Sustainability (ความยั่งยืน) ก็จะต้องจ่ายค่า tariff สูงมาก หรือเมื่อต้องการนำเข้าสินค้าก็จะต้องเสียภาษีนำเข้าสูงกว่าปกติ เกิดผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินธุรกิจโดยตรง
………………………….……………………….………………….……………….
อ่านเพิ่มเกี่ยวกับแนวทางลดคาร์บอน
……………………….……………………….…………………….……………….
พูดถึง ความมั่งคั่ง เห็นได้ชัดว่าเกิดขึ้นในประเทศจีน โดยคนจีนที่อยู่ในกลุ่ม Growth Sector มาจากชนชั้นกลาง (Chinese Middle Class) ซึ่งเป็นทั้ง Internet User เป็นผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าออนไลน์ และเป็นคนที่ใช้จ่ายเงินมากที่สุดในโลกจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจ หาเลี้ยงชีพ รวมถึงการใช้แพลตฟอร์มต่างๆ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น
ในขณะที่ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวถึง 20% หรือราว 3.3 ล้านล้านบาท เมื่อเกิดโควิด-19 จนต้องปิดประเทศ รายได้มหาศาลหายวับไป ดังนั้น สิ่งที่ไทยจะเป็นได้ - ทำได้เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้ประเทศในระยะยาว คือ เป็น Digital Hub ของอาเซียน และควรจะมี GNP (Growth National Product) ของไทยเกิดขึ้น ตราบเท่าที่ไทยยังเดินตามประเทศพัฒนาแล้ว ก็จำต้องเดินทางตามแนวเศรษฐกิจที่สำคัญไปด้วย
ท๊อปเปรียบเทียบ การทำธุรกิจ กับ กีฬาโอลิมปิก ว่าต่างก็ต้องมีการแข่งขัน นักกีฬาโอลิมปิกต้องแข่งภายใต้กฎของโลก ใครที่เข้าใจความเปลี่ยนแปลง เข้าใจกฎก่อนย่อมได้เปรียบ การทำธุรกิจก็เช่นกัน ใครเข้าใจความเปลี่ยนแปลง ทำตามกฎและเติบโตไปกับเทรนด์โลก ก็จะเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ รวมถึงโอกาสในการพัฒนาประเทศ
เนื่องจากต้นทุนการดำเนินงานส่วนต่างๆ กำลังจะเพิ่มสูงขึ้นจนไม่สามารถให้บริการได้ทุกคน หากองค์กรไม่ทำหรือไม่ใส่ใจประเด็นนี้ก็จะยิ่งเพิ่มความเหลื่อมล้ำ ตอกย้ำความไม่เท่าเทียม จึงมีการระบุว่า Digital Inclusion ที่ต้องทำมี 3 ด้าน ได้แก่
เศรษฐกิจถดถอยมาพร้อมกับการขึ้นดอกเบี้ยอย่างแรงและรวดเร็ว มันคือการดึงเม็ดเงินออกจากตลาด อเมริกาพรินต์เงินออกมาในปี 2021 เงินเฟ้อมาก ก็ขึ้นดอกเบี้ยสูงที่สุดในรอบ 40 ปี และมีการคาดการณ์ว่า เงินเฟ้อจะกลับมาที่ Normal Rate 2% ได้ภายในปี 2024
“วิธีที่เมืองไทยจะรอดจากเงินเฟ้อในระยะยาวได้ ต้องเน้นที่ Productivity ทั้งด้านจีดีพี สินค้าและบริการ คน หรือในทุกมิติ ด้วยการลงทุนในคน ลงทุนในเทคโนโลยี" ท๊อปกล่าว
ท๊อปย้ำปิดท้ายว่า ภาครัฐต้องเตรียมซัพพอร์ต 2 เรื่องหลักเพื่อให้ทุกคนได้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
……………………….……………………….…………………….……………….
เรียบเรียงจากการสัมภาษณ์ออกรายการ Nation TV ช่อง 22 และ Digital Life โดย SpringNews ซึ่งจะเผยแพร่เร็วๆ นี้