สรุปจากการฟัง "SPRiNG News Special Forum : INNOVATION x SUSTAINABILITY นวัตกรรมนำธุรกิจยั่งยืน" ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 28 เมษายน 2565 เพื่อให้ทุกคนรู้จัก ESG (Environmental, Social, Governance) แนวคิดและตัวชี้วัดทางธุรกิจ ที่ปลายทางคือ การส่งคืนสิ่งดีๆ สู่สังคมและโลกใบนี้
ผ่านไปแล้วสำหรับงาน SPRiNG News Special Forum : INNOVATION x SUSTAINABILITY นวัตกรรมนำธุรกิจยั่งยืน ที่ สปริงนิวส์ กรุงเทพธุรกิจ และ คมชัดลึก ร่วมกันจัดขึ้น เพื่อเชิญชวนทุกคน ทุกภาคส่วนมาร่วมรับฟังและทำความเข้าใจว่า ESG สำคัญแค่ไหนในโลกธุรกิจยุคใหม่ พร้อมเหตุผลที่ว่า ทำไมทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมกัน ลดคาร์บอน
ภายในงานได้รับเกียรติจาก วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย มากล่าวปาฐกถาพิเศษในประเด็น INNOVATION x SUSTAINABILITY นวัตกรรมนำธุรกิจยั่งยืน โดยเน้นให้ร่วมกันสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศเป็นของไทยเอง ลดการพึ่งพาต่างประเทศ, อนาคตของอุตสาหกรรมกับการลดคาร์บอน เทรนด์การลงทุน การสนับสนุนจากภาครัฐ และแนะให้เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส โดยนำหลักการ ESG ไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ นอกจากจะช่วยสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลแล้ว ธุรกิจก็จะก้าวต่อไปได้อย่างยั่งยืน
"พวกเราจะต้องสนับสนุนให้พัฒนาเทคโนโลยีในประเทศ ลดการพึ่งพาต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สนับสนุนภาคเอกชน แนวคิด ESG ที่คำนึงถึงความรับผิดชอบด้าน นอกจากจะทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนแล้ว จะลดความขัดแย้ง ลดข้อผิดพลาด ลดก๊าซเรือนกระจก และยังเป็นแรงดึงดูดสำคัญจากต่างประเทศ เพราะมีการบริหารความเสี่ยงอย่างชัดเจน ซึ่งจะไปกระตุ้นการจ้างงาน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศต่อไป
"ส่วนวิกฤตที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ ทั้งด้านพลังงาน ค่าไฟ ปุ๋ย ภาคการท่องเที่ยว จะส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวช้ากว่าเดิม จึงอยากให้ทุกคนเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส โดยนำหลักการ ESG ไปใช้ในการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึง Stakeholders ซึ่งจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ สร้างประโยชน์ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
.........................................................
บทความภาคต่อ
..........................................................
"บริษัทต่างๆ ต้องคำนึงถึงนโยบายเปิดเผยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มากกว่าคิดเรื่องการได้กำไรสูงสุดอย่างที่ผ่านมา และเพื่อส่งเสริมด้านการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน หลายหน่วยงานภาครัฐจึงเข้ามาช่วยด้านมาตรการภาษี ทั้ง
"ส่วนอุตสาหกรรมที่เริ่มสร้างความเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับความยั่งยืน อาทิ อุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งเป็นภาคที่ใช้ทรัพยากรต่างๆ จำนวนมาก และแนวโน้มของอุตสาหกรรมนี้ก็กำลังเปลี่ยนไป เช่น การปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งเพื่อลดโลกร้อนที่จังหวัดสุพรรณบุรี การทำเกษตรแม่นยำ การยืดอายุผลผลิต การใช้วัสดุจากเศษวัสดุเหลือใช้ รวมทั้งการประยุกต์ใช้การเกษตรสมัยใหม่
"ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมากและปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับสูง เนื่องจากใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้า ก็ต้องเปลี่ยนให้มีสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 50% ซึ่งเป็นได้ทั้งโซลาร์ พลังงานลม พลังงานจากขยะมูลฝอย และต้องเอื้อให้ประชาชนเป็นได้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
"การดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนยังดึงดูดการลงทุน จากต่างประเทศ ซึ่งเมื่อพิจารณาพอร์ตการลงทุน มีการสำรวจความคิดเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินในสหรัฐอเมริกา พบว่า ปี 2563 ที่ปรึกษาทางการเงินแนะนำนักลงทุนให้ลงทุนใน ESG อย่างมีนัยสำคัญ" วราวุธกล่าว
ต้นแบบด้าน ESG ไทยพร้อมกลยุทธ์ที่พาองค์กรไปผงาดในเวทีโลก กับ 3 บริษัท มหาชน
หลังจากปาฐกถาพิเศษ ก็เข้าสู่การเสวนา Session 1 “ต้นแบบด้าน ESG ไทยพร้อมกลยุทธ์ที่พาองค์กรไปผงาดในเวทีโลก” โดยเป็นองค์กรต้นแบบที่โดดเด่นด้าน ESG ของไทย ที่มาเผยกลยุทธ์นำพาองค์กรไปผงาดคว้ารางวัลด้านความยั่งยืนในเวทีโลก นำโดย
เจาะลึกแนวคิดสู่การพิชิตความยั่งยืน
ปิดท้ายเวทีเสวนาด้วย Session 2 : เจาะลึกแนวคิดสู่การพิชิตความยั่งยืน กับธุรกิจพลังงาน การสื่อสาร และ ผู้ผลิตอาหารชั้นนำระดับโลก ที่ต่างก็ปักหมุดดำเนินการเพื่อนำพาธุรกิจไปสู่ความยั่งยืน ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล นำโดย
Key Message จากงาน SPRiNG News Special Forum : INNOVATION x SUSTAINABILITY นวัตกรรมนำธุรกิจยั่งยืน
ประเด็นที่ผู้บริหารแต่ละองค์กรนำเสนอ มีความเห็นสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันว่า ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ องค์กรมหาชน ผู้ประกอบการ ต่างก็ต้องกำหนดกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน โดยนำแนวคิด ESG มาใช้เพื่อร่วมกัน ลดคาร์บอน ในทุกขั้นตอนหรือกระบวนการทำงานต่างๆ อย่างเร่งด่วน เพื่อลดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศา เพราะนั่นจะนำไปสู่หายนะของสภาพแวดล้อม ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อการดำรงอยู่หรือสูญพันธุ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
หัวใจสำคัญของการ ลดคาร์บอน ให้สำเร็จคือ การร่วมมือกันสร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก อย่างมีเป้าหมาย มีข้อกำหนดหรือข้อควรปฏิบัติ และมีระยะเวลาที่คาดว่าจะบรรลุผล อาทิ Paris Agreement ข้อตกลงปารีส, Sustainable Development Goals (SDGs) เป้าหมายด้านความยั่งยืนโลก ซึ่งมี 17 ข้อ, ESG แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน
กุญแจสำคัญที่องค์กรต้องทำให้เป็นรูปธรรมก่อนคือ Carbon Neutrality หรือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศ เมื่อทำได้ก็จะนำไปสู่ประตู Net Zero Emission หรือ การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ แต่การเปลี่ยนวิธีดำเนินธุรกิจ เปลี่ยนรูปแบบ หรือมายด์เซ็ตที่มีต่อสินค้าและบริการ เพื่อลดคาร์บอนแบบวัดผลได้ ทั้งภาคการผลิต การบริโภค และพฤติกรรมของผู้บริโภค ต้องอาศัยเวลา ต้นทุน และความร่วมแรงร่วมใจในการสร้างความเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ประโยชน์และผลตอบแทนที่ทุกฝ่ายจะได้รับมากกว่าวันนี้อีกหลายเท่า
——————————————————————————
ติดตามข่าว ไอที เทคโนโลยี นวัตกรรม ธุรกิจดิจิทัล สำหรับไลฟ์สไตล์ในโลกยุคใหม่ได้ที่สปริงนิวส์ www.springnews.co.th