รู้จัก Home/Community Isolation ไปแล้ว มารู้จัก Temple Isolation กันบ้าง ความช่วยเหลือจากศูนย์พักคอยที่ตั้งขึ้นเป็นโมเดลนำร่อง ณ อาคารปฏิบัติธรรม วันอินทรวิหาร พระอารามหลวง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพระนคร กรุงเทพฯ
นอกจากโมเดล กักตัวที่บ้าน กักตัวที่ชุมชน มารู้จักโมเดลล่าสุด ‘กักตัวที่วัด’ หรือ Temple Isolation ภายในศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ เขตพระนคร ณ อาคารปฏิบัติธรรม วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง กรุงเทพฯ
วันอินทรวิหาร ศูนย์พักคอยที่เป็นโมเดลนำร่อง
"...วัด เป็นของประชาชนทุกคน เป็นสาธารณกุศล ทั้งในยามทุกข์และในยามสุขฯ และในภาวะวิกฤตแห่งการระบาดของโควิด 19 จึงเปลี่ยนจากวิกฤตเป็นโอกาสในการช่วยเหลือประชาชน ให้ได้รับขวัญ กำลังใจ จากพระพุทธศาสนาต่อไปฯ" พระโสภณธรรมวงศ์ (เจ้าคุณน้อย) เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง กรุงเทพฯ เจ้าคณะแขวงวัดสามพระยา ให้โอวาทธรรมเพื่อนำไปเผยแพร่ต่อ
คนไทยคุ้นชินกับการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่มักจะมี บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน อยู่ในบริเวณเดียวกัน และในช่วงที่ผู้ป่วยมากกว่าเตียงและบุคลากรทางการแพทย์ ในฐานะที่วัดเป็นแหล่งพักพิงทั้งกายและใจ เป็นแหล่งรวมความศรัทธา ตลอดจนความช่วยเหลือ พระโสภณธรรมวงศ์ เจ้าอาวาสจึงเลือกใช้อาคารปฏิบัติธรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของวัด จัดตั้งศูนย์เพื่อรองรับผู้ป่วยโควิดที่มีอาการไม่มากหรืออยู่ใน 'กลุ่มสีเขียว'
รู้จัก ‘วัดอินทรวิหาร’ ในบริบท Temple Isolation
กักตัวที่บ้านต้องทำยังไง อ่านได้ที่ลิงก์นี้
เริ่มแล้วไม่มีแผ่ว
ก่อนที่จะปรับสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารปฏิบัติธรรมมาเป็น ศูนย์พักคอย พระโสภณธรรมวงศ์เห็นว่า คนไทยกำลังเดือดร้อน ขาดสถานที่กักตัว กอปรกับในวัดมีคนติดโควิดแล้วไม่มีที่พักเพื่อแยกกักตัว สถานการณ์ที่ดูจหนักหน่วงยิ่งขึ้นจึงคิดว่าต้องใช้พื้นที่ในวัดจัดตั้งศูนย์พักคอย
"การจัดตั้งศูนย์ของวัดนี้ มีการปรึกษาหารือกันตั้งแต่เริ่มต้น ก็คือร่วมด้วยกับทางเขตพระนคร รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แล้วก็ประชุมปรึกษาหารือ วางแผนในการจัดตั้ง ส่วนค่าใช้จ่ายก็มาจากญาติโยมช่วยบริจาค ร่วมกับการตั้งกองทุน น้ำพระทัยหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร"
เจ้าอาวาสยังเล่าด้วยว่า หากถูกส่งมากักตัวที่วัดแห่งนี้ แน่นอนว่ามีอาหาร 3 มื้อ มียาที่ใช้รักษา มีพยาบาลดูแล ทั้งยังได้หาหมอออนไลน์ (Telemedicine) ทุกวัน หากหมอพิจารณาว่า อาการดีขึ้นก็สามารถกลับบ้านบ้าน แต่หากอาการทรุดลงก็จะมีรถพาไปส่งโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป
แต่โมเดลศูนย์พักคอยในลักษณะนี้ ใช่ว่าทุกวัดจะมีความพร้อมที่จะทำได้เลย ต้องอาศัยการสนับสนุนจากหน่วยงานเช่น สำนักงานเขต สถานพยาบาล หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และที่สำคัญ ความพร้อมของวัด ทั้งในด้าน
"โมเดลนี้ถูกถ่ายทอดไป แล้วหลายๆ วัดตอนนี้ก็เริ่มจัด ก็เป็นผลที่ดี หลังจากนี้ก็คาดว่าจะมีผู้ป่วยเข้าพักมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีเขตพระนครเป็นผู้ประสาน ในส่วนนี้ เราจะไม่ได้ให้ทุกคน walk-in เข้ามาได้ เพราะเตียงเรา พื้นที่เรามีจำกัด" เจ้าอาวาสเน้นย้ำ
แยกกักตัวที่วัดอินทรวิหาร ช่วยผู้ป่วยโควิดในเขตพระนครได้แค่ไหน
สำหรับความสามารถในการรองรับผู้ป่วยให้เข้าไปกักตัวที่วัด ณ อาคารปฏิบัติธรรม พระครูธรรมธร เลขาธิการวัดอินทรวิหารให้ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยเข้า-ออก อัตราการครองเตียง ฯลฯ ประจำวันที่ 18 ก.ค. 64 ดังนี้
รับผู้ป่วยใหม่ 10 ราย
ส่งต่อ รพ./รพ.สนาม 12 ราย
ยอดส่งต่อผู้ป่วยสะสม 44 ราย
ผู้ป่วยคงเหลือในศูนย์พักคอย 125 ราย
ยอดผู้ป่วยสะสม 181 ราย
ยอดพระสงฆ์ 10 รูป จำหน่ายพระสงฆ์แล้ว 1 รูป
จำนวนเตียงที่เหลือในศูนย์พักคอย
จำนวนเตียงในอาคารปฏิบัติธรรม
อัตราครองเตียง (ขยายได้สูงสุด 330 เตียง)
ได้กลับบ้านรวม 8 ราย
ไม่ว่าจะมีอาชีพใด บทบาทใดในสังคม การมีเมตตา มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เช่นนี้เอง ที่ทำให้คนไทยผ่านพ้นมาได้ทุกวิกฤต
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามเกี่ยวกับ Temple Isolation ติดต่อที่ ศูนย์พักคอยรอการส่งต่อ เขตพระนคร โทร. 064-491-4184 หรือ เพจวัดอินทรวิหาร : facebook.com/WatIndharaviharn