svasdssvasds

โรงพยาบาลสนามวิกฤต ไม่ได้ชะลอการรับ แต่รับไม่ได้แล้ว เสนอ Home Isolation

โรงพยาบาลสนามวิกฤต  ไม่ได้ชะลอการรับ แต่รับไม่ได้แล้ว เสนอ Home Isolation

ปัญหาเตียงเต็มจะเพิ่มมากขึ้น จากยอดผู้ติดเชื้อที่ยังควบคุมไม่ได้ สิ่งสำคัญต่อจากนี้คือการทำ Home Isolation ที่เป็นระบบสำหรับผู้ป่วยสีเขียว "เราไม่ได้ชะลอการรับ แต่เรารับไม่ได้" ข้อเสนอจากนายแพทย์อุกฤษฎ์ อุเทนสุต ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลสนามเอราวัณ 2

ตัวเลขผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤตโควิด และไม่รู้ว่าต้องใช้เวลายืดยาวแค่ไหนในการควบคุม 

แนวทางที่เข้มข้นในการควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อให้ลดลงอยู่ในระดับที่ระบบสาธารณสุขสามารถบริหารจัดการได้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะสถานการณ์การรับผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเข้าขั้นคับขัน การจัดสรรพื้นที่กักแยกโรคจึงเป็นเรื่องเร่งด่วน ทั้งการตั้งโรงพยาบาลสนาม และ hospitel 

 

โรงพยาบาลสนาม และ hospitel ที่กรุงเทพมหานคร มอบหมายให้สำนักการแพทย์ดูแลรับผิดชอบ

  • โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
  • โรงพยาบาลสนามราชพิพัฒน์ 1
  • โรงพยาบาลสนามราชพิพัฒน์ 2 (วัดศรีสุดาราม)
  • โรงพยาบาลสนามเอราวัณ 1 (ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษาบางบอน)
  • โรงพยาบาลสนามเอราวัณ 2 (สนามกีฬาบางกอกอารีน่า หนองจอก)
  • โรงพยาบาลสนามเอราวัณ 3 (ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ ทุ่งครุ)
  • โรงพยาบาลกลาง (hospitel)
  • Elegant Airport Hospitel
  • โรงแรมบ้านไทย
  • โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ (hospitel)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โรงพยาบาลสนามวิกฤต  ไม่ได้ชะลอการรับ แต่รับไม่ได้แล้ว เสนอ Home Isolation

แนวทางในการรับผู้ป่วยของโรงพยาบาลสนามคือ เป็นผู้ป่วยยืนยันโควิด-19 ที่ไม่มีอาการ หรือ มีอาการเล็กน้อย หรือ ดีขึ้นหลังจากการรับการรักษาในโรงพยาบาล และมีอาการคงที่หรือเป็นผู้ป่วยสีเขียว โรงพยาบาลสนามจึงเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ช่วยลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 

แต่ด้วยสถานการณ์ที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ทำให้โรงพยาบาลสนามเตียงเต็ม เพราะผู้ป่วยมากขึ้น และระยะเวลาในการครองเตียงนานขึ้น ถึงตอนนี้อาจต้องยอมรับแล้วว่า กลุ่มสีเขียวที่ไม่มีอาการ อาการน้อย ต้องอยู่บ้าน home islation เพื่อให้เตียงแก่ผู้ป่วยสีแดงก่อน และลดอัตราการเสียชีวิต

สอดคล้องกับที่ นายแพทย์อุกฤษฎ์ อุเทนสุต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนามเอราวัณ 2 บางกอกอารีน่า หนองจอก ได้ให้ข้อเสนอไว้ว่า "ปัญหาเตียงเต็มจะเพิ่มมากขึ้นจากยอดผู้ติดเชื้อที่เรายังควบคุมไม่ได้ สิ่งสำคัญคือการทำ Home Isolation ที่เป็นระบบที่สุดสำหรับผู้ป่วยสีเขียว เพราะเราไม่ได้ชะลอการรับ แต่เรารับไม่ได้" 

Home Isolation โดยการให้เจ้าหน้าที่นำยา Favipiravir ไปให้ผู้ป่วยที่บ้าน เพื่อลดความรุนแรงของโรคโควิด-19 และบรรเทารักษาอาการสำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่ได้เตียง "เพื่อให้ได้รับยาก่อนได้รับเตียง" เพราะที่ผ่านมาต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเท่านั้น ถึงจะได้รับยา หากมีการประสานส่งต่องานอย่างเป็นระบบผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ที่บ้านเพื่อรอเตียง ได้รับยาตามอาการ ก็จะช่วยบรรเทาอาการผู้ป่วย ลดอัตราการเสียชีวิตลง อย่างที่เราเห็นกันอยู่ตามข่าวทุกวันว่า นอนรอเตียงจนเสียชีวิตคาบ้าน

ตามมาตรการการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ต้องมีหลักเกณฑ์ในการจัดตั้ง ทั้งระบบตัวอาคาร ระบบจัดการน้ำเสีย การจัดการอากาศ ดูทิศทางการไหลของอากาศ มีบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข มีการจัดโซนนิ่งให้ห่างจากพื้นที่ การจะเพิ่มโรงพยาบาลสนามเพื่อรองรับผู้ป่วยไปเรื่อยๆ ไม่รู้ว่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสมหรือไม่ เพราะนอกจากข้อจำกัดของสถานที่แล้ว บุคลากรทางการแพทย์ก็ขาดแคลนในสถานการณ์ตอนนี้

การกำหนดนโยบาย การให้ข้อมูลที่ชัดเจนที่เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานร่วมกัน น่าจะเป็นประโยชน์และสามารถแบ่งเบาภาระให้กับผู้ปฏิบัติหน้าที่ที่หน้างานอย่างคุณหมอพยาบาลที่โรงพยาบาลสนาม รวมทั้งโรงพยาบาลหลัก และน่าจะช่วยชีวิตผู้ป่วยที่กำลังรอเตียง รอเข้ารับการรักษาได้มาก

การบริหารจัดการแบบบูรณาการที่โรงพยาบาลสนาม เอราวัณ 2 บางกอกอารีน่า หนองจอก ต้องปฏิบัติ เพื่อควบคุมสถานการณ์โควิด น่าจะทำให้เราเข้าใจความยาก เข้าใจสถานการณ์มากขึ้น ว่าทั้งคุณหมอ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ต้องผ่านอะไรบ้างในแต่ละวัน

ดูคลิปเต็มที่ลิงค์ด้านล่าง และสามารถติดตามรายการอยากเห็นเมืองไทยดีกว่านี้ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 09.30 - 10.00 น. ทางเนชั่นทีวีช่อง 22 และสปริงออนไลน์

related