กระทรวงสาธารณสุข ใช้การแยกกักตัวที่บ้าน-ในชุมชน (Home Isolation) ช่วยผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย (สีเขียว) เข้าระบบการรักษาเร็ว ระบบเทเลเมดิซีน วันละ 2 ครั้ง ส่งอาหารครบ 3 มื้อ
กระทรวงสาธารณสุข ได้นำ 2 มาตรการ คือ การแยกกักตัวที่บ้าน และการกักตัวในชุมชนมาใช้ เนื่องจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีจำนวนมากขึ้น อัตราการครองเตียงของ กทม. และปริมณฑล เพิ่มจากเดือนที่ผ่านมาถึง 10,000 ราย จากวันที่ 9 มิถุนายน 2564 มีผู้ป่วย 19,629 ราย เพิ่มเป็น 30,631 รายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2564 โดยเป็นผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก (สีเขียว) ร้อยละ 76, อาการปานกลาง (สีเหลือง) ร้อยละ 20 และอาการหนัก (สีแดง) ร้อยละ 4 ซึ่งผู้ป่วยสีแดงเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจาก 714 ราย เป็น 1,206 ราย ทำให้บุคลากรแบกรับภาระงานหนักมาก และการเพิ่มบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทำได้ยาก
สำหรับเกณฑ์พิจารณาผู้ป่วย Home Isolation จะต้องเป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ อายุไม่เกิน 60 ปี อยู่คนเดียว หรือมีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน ไม่มีภาวะอ้วน ไม่มีโรคร่วม เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ และยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง โดยสถานพยาบาลจะประเมินผู้ติดเชื้อตามดุลยพินิจของแพทย์ ลงทะเบียน แนะนำการปฏิบัติตัว ติดตามประเมินอาการ และรับส่งผู้ป่วยมารักษาในสถานพยาบาลหากมีอาการรุนแรงขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทำตามนี้ก่อน ติดโควิด-19 มีอาการแต่ต้องรอเตียง ควรทำอย่างไร
เตรียมตัวกันเถอะ ถ้าล็อกดาวน์ครั้งนี้ เราควรซื้ออะไรตุนไว้ดี
แพทย์แนะนำ Home Isolation กักตัวอยู่บ้านอย่างไร เมื่อติดโควิด-19
Home isolation ใครบ้างทำได้
- ติดเชื้อแล้ว สบายดี ไม่มีอาการ (asymptomatic cases)
- อายุน้อยกว่า 60 ปี
- สุขภาพร่างกายแข็งแรง
- อยู่คนเดียว หรือมีผู้ร่วมพักไม่เกิน 1 คน
- ไม่มีภาวะอ้วน (ภาวะอ้วน หมายถึงดัชนีมวลกาย>30 กก./ม.2 หรือ น้ำหนักตัว>90กก.)
- ไม่มีโรคร่วม ดังนี้ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
-ยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง
ที่มา กรมการแพทย์