svasdssvasds

ชิคุนกุนยา หรือ ไข้ปวดข้อยุงลาย ทำความรู้จักโรคที่มาในหน้าฝน

ชิคุนกุนยา หรือ ไข้ปวดข้อยุงลาย ทำความรู้จักโรคที่มาในหน้าฝน

ฤดูฝนมักมาพร้อมโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ ซึ่งยุงลายสวนและยุงลายบ้านเป็นพาหะของ ไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ ชิคุนกุนยา อาการที่สำคัญคือมีไข้สูง และปวดตามข้อ

ชิคุนกุนยา (Chikungunya) หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลายเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งถูกแพร่กระจายโดยยุงลายสวย (Aedes albopictus) และยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) พบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี แต่จะพบมากในฤดูฝน และพบได้ในทุกกลุ่มอายุ ส่งผลกระทบต่อคนทุกเพศ ทุกวัยแม้กระทั่งเด็กเล็ก อาการคล้ายคลึงกับโรคไข้เลือดออก แต่โรคไข้เลือดออกจะรุนแรงมากกว่า โรคชิคุนกุนยามักไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเรื้อรังต่อเนื่องเป็นเดือนหรือเป็นปี ทำให้ถูกวินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้เช่นกัน

อาการของโรคชิคุนกุนยา หรือโรคไข้ปวดข้อ และมีอาการเช่นเดียวกับไข้เลือดออก ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดข้อและกล้ามเนื้อ มีผื่นแดงตามแขนขา ตาแดง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ท้องเสีย แม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคชิคุนกุนยาสามารถถ่ายทอดไปยังทารกได้

คำแนะนำเพื่อป้องกันและรักษาตัวเพื่อไม่ให้มีการเกิดโรคชิคุนกุนยาคือ หลีกเลี่ยงการไม่ถูกยุงลายกัด ด้วยการทำความสะอาดบ้าน ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง ไม่ให้มีน้ำท่วมขังภายในบริเวณบ้าน หรือ ปลูกต้นไม้จัดสวน ให้โล่ง แสงแดดส่อง ใส่เสื้อผ้าแต่งกายให้เหมาะสม ไม่อยู่ในที่รก ทึบ แม้โรคชิคุนกุนยา จะร้ายแรงน้อยกว่าไข้เลือดออก แต่ การเจ็บป่วยนั้นส่งผลเสียกับร่างกาย จึงควรรักษาสุขภาพเบื้องต้นให้แข็งแรง

ยุงลาย ชิคุนกุนยา

จากการทดสอบทางนํ้าเหลืองวิทยา พบ IgM ในตัวอย่างซีรั่มระยะเฉียบพลัน และพบไตเตอร์ในนํ้าเหลืองเพิ่มขึ้น ซึ่งจะแสดงผลต่อเชื้อ Alphavirusesระหว่างตัวอย่างระยะเฉียบพลัน และระยะพักฟื้น โดยทั่วไป IgM จะคงอยู่นานเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน จากตัวอย่างเลือดโดยเฉพาะสำหรับโรคไข้ปวดข้อยุงลาย และอาจแยกเชื้อไวรัสจากเลือดผู้ป่วยระยะเริ่มมีอาการใน 2-3 วันแรกโดยเพาะเชื้อในลูกหนูไมซ์แรกเกิด ยุง หรือเซลล์เพาะเลี้ยง

สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ ชิคุนกุนยา ทางห้องปฏิบัติการนั้น มีทั้งการตรวจเพื่อค้นหาเชื้อไวรัสด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับ (RT-PCR) และวิธีการเพาะเชื้อจุลินทรีย์เพื่อแยกไวรัสออกจากเลือด (Immunochromatography) ซึ่งจะมีภูมิคุ้มกัน (Chikungunya IgM Antibody) สูงสุดในช่วง 3-5 สัปดาห์หลังจากเริ่มมีอาการ และคงอยู่ต่อเนื่องประมาณ 2 เดือน

ชิคุนกุนยา

ทั้งนี้การตรวจด้วยวิธี RT-PCR สามารถใช้เพื่อตรวจยีนชิคุนกุนยาในเลือดได้ ควรตรวจภายในสัปดาห์แรกของโรค และใช้เวลา 1-2 วันจึงจะทราบผล ส่วนการตรวจหา Chikungunya IgM Antibody นั้นโดยปกติร่างการจะเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันหลังจากมีอาการประมาณ 1 สัปดาห์ แนะนำให้ตรวจครั้งที่ 1 ในวันที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา และตรวจอีกครั้งหลังจากเริ่มมีไข้ 14-25 วัน

เนื่องจากไม่มียาเฉพาะสำหรับการรักษาผู้ติดเชื้อชิคุนกุนยา การรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการ เพื่อลดอาการของผู้ป่วย เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวด เพื่อลดไข้ ลดอาการปวดตามข้อ ถึงแม้ผู้ป่วยจะไม่มีอันตรายถึงชีวิต แต่อาการปวดข้ออาจคงอยู่เป็นเวลาหลายสัปดาห์ หลายเดือน ซึ่งสร้างความทุกข์ทรมานให้ผู้ป่วยได้ การวินิจฉัยที่ดีที่สุดคือ การเจาะเลือดผู้ป่วยส่งห้องปฏิบัติการเพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัย

ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ (N Health) มีบริการตรวจวินิจฉัยโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ ชิคุนกุนยา สำหรับโรงพยาบาลทั่วไป โดยการตรวจหาสารพันธุกรรมด้วยวิธี RT-PCR และตรวจหาจากภูมิคุ้มกันด้วยวิธี Immunochromatography สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ @Nhealth โทร. 02 7624000 หรือ email: [email protected]

 

related