ฝุ่น PM2.5 กลายเป็นปัญหาใหญ่ด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของเมืองไทย หลายฝ่ายโต้แย้งไปมา ว่ามาจากการเผาป่าที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ ทำไมต้องเผาป่า ไม่เผาได้ไหม ไม่เผาเราทำได้!
ในวันที่มลพิษฝุ่นควัน PM2.5 ภาคเหนือพุ่งสูงขึ้น และหากในช่วงเวลาเดียวกันนั้น เกิดไฟป่าหลายจุดบนภูเขา เข็มเวลาแห่งผู้ร้ายจะเริ่มทำงาน โดยหันไปหาเกษตรกรชาวเขา ที่ถูกมองว่าเป็นผู้เผาทันที
ผู้คนที่อาศัยอยู่บนป่าเขามาอย่างยาวนาน มีอาชีพหลักที่ถนัดที่สุดคือการทำไร่ทำนา ปลูกพืชผลต่าง ๆ เพื่อนำไปขายให้กับตลาดในเมืองหรือปลูกส่งนายทุน ศาสตร์การทำการเกษตรที่ส่งต่อมาจากรุ่นสู่รุ่นคือการทำเกษตรกรรมแบบหมุนเวียน หรือไร่หมุนเวียนที่เราเคยได้ยิน และเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จ สิ่งที่ต้องทำต่อมาคือการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกในครั้งต่อไป
และการเผาเตรียมพื้นที่ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในช่วงก่อนฤดูฝน ประมาณ เดือนเมษายน ซึ่งจะเป็นช่วงที่อากาศแห้งพอดี เศษใบไม้ใบหญ้าจึงติดไฟได้ง่าย ซึ่งถ้าหากการเผานี้ไม่มีการทำแนวกันไฟ หรือไม่สามารถควบคุมไฟได้ ไฟก็สามารถลามยังป่าบริเวณใกล้เคียงได้
แต่วิถีชีวิตนี้ก็ดำเนินมาอย่างยาวนานแล้ว ทำไมเมื่อก่อนไม่มีปัญหา แต่ปัจจุบันปัญหาการเผาถึงรุนแรงขึ้น?
การเผาวัชพืชเพื่อเตรียมทำไร่หมุนเวียนนั้น แท้จริงแล้ว ไม่ได้ส่งผลต่อเหตุไฟป่าที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันมากเท่าไหร่ แต่การปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่กำลังนิยมต่างหากที่เป็นอีกปัจจัยหลักทำให้คนเผามากขึ้น
การเผาวัสดุเหลือใช้จากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว โดยเฉพาะ ข้าวโพด กำลังเป็นที่นิยมของชาวบ้านที่ราบสูง เพราะราคาดีกว่าพืชอื่น ๆ แถมมีความต้องการในตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย
เพราะปากท้องเป็นเรื่องสำคัญ ถ้ามีทางเลือกมากกว่านี้ก็คงไม่อยากเผา หมู่บ้านไหนจัดการดีก็ดีไป แต่ถ้าไหม้ ก็คือไฟป่านั่นแหละที่จะเกิดขึ้น และก็จะได้รับผลกระทบกันอย่างถ้วนหน้า ยุคใหม่แล้ว เราจะแก้ปัญหานี้ยังไงดี?
รัฐควรเข้มงวดมากกว่านี้ สนับสนุนให้ชาวบ้านนำเศษวัชพืช หรือตอซังข้าวต่าง ๆ ที่แต่ก่อนต้องเผา เปลี่ยนมาทำเป็น BIOMASS และราคาการกำจัดวัชพืชชาวบ้านต้องจับต้องหรือเข้าถึงได้ กระบวนการไม่ยุ่งยาก โดยอาจจะตั้งสหกรณ์ชุมชนเป็นตัวแทนรัฐหรือเอกชนสำหรับรับซื้อเศษวัสดุจากชาวบ้านเพื่อนำไปต่อยอดเป็นพลังงานทดแทน
จัดสรรพื้นที่ทำกิน ไม่ให้ชาวบ้านบุกรุกป่า แบ่งโซนการเพาะปลูกให้ชัดเจน เน้นพืชมีมูลค่าสูง พร้อมกับสร้างแหล่งน้ำที่ยั่งยืน (ไม่สร้างฝาย) ให้กับชุมชน
แหล่งการเงินหรือธนาคาร ต้องไม่ปล่อยกู้เพื่อสนับสนุนให้ชาวบ้านเพาะปลูกและเผาในพื้นที่บุกรุกป่า
สนับสนุนเงินและอุปกรณ์ให้เจ้าหน้าที่ทีมสู้ไฟป่า มีอุปกรณ์ที่ทันสมัย สะดวกใช้งาน มีสวัสดิการที่ดี พร้อมระบบเตือนภัยที่ทันท่วงที
ต้องสร้างการแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ ๆ ท่ามกลางโลกที่เปลี่ยนไป ไม่เผา = เพิ่มมูลค่าให้วัสดุเหลือใช้ ทำยังไงได้บ้าง เพื่อสร้างแรงจูงใจลดการเผา แถมยังสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้
และที่สำคัญ เอกชนทุกรายที่รับซื้อข้าวโพดหรือพืชผลจากชาวบ้าน จะต้องมีระบบตรวจสอบย้อนกลับ ไม่รับซื้อ ไม่นำเข้าผลผลิตที่เกิดจากการเผาและบุกรุกป่า
ตัวอย่างหนึ่งของภาคเอกชนที่ทำระบบตรวจสอบย้อนกลับมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างจริงจัง มาตั้งแต่ปี 2559 คือเครือซีพี โดยการจัดหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของซีพีจะต้องผ่านระบบตรวจสอบย้อนกลับแบบ 100% ด้วยการนำระบบภาพถ่ายดาวเทียมมาช่วยยืนยันระบบตรวจสอบย้อนกลับ ว่ามีการรับซื้อในพื้นที่ที่ถูกต้อง
ระบบดังกล่าวมีการเก็บข้อมูลผ่านระบบ Blockchain และใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายทางอากาศ ทำให้มั่นใจได้ถึงต้นทางของการปลูก และการรับซื้อข้าวโพดทั้งหมด ไม่ว่าจากในประเทศหรือจากการนำเข้า ว่าเป็นข้าวโพดที่ไม่บุกรุกป่า และไม่มาจากการเผา และได้นำระบบตรวจสอบย้อนกลับนี้ไปใช้กับการจัดหาข้าวโพดจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียร์มา สปป.ลาว และเวียดนาม ตั้งแต่ปี 2563 ด้วย
ซีพี ยืนยันด้วยการกระทำอย่างเป็นรูปธรรมมากว่า 7 ปีนะคะว่า ไม่รับซื้อ ไม่นำเข้าผลผลิตที่เกิดจากการเผาและบุกรุก หากใครอยากศึกษานโยบายนี้ของซีพีเพิ่มเติมได้ที่ >>> CP Group Global
ข่าวที่เกี่ยวข้อง