svasdssvasds

รู้จัก เห็ดเผาะ หรือ เห็ด PM2.5 ของป่าหายาก มูลค่าทางเศรษฐกิจสูง

รู้จัก เห็ดเผาะ หรือ เห็ด PM2.5 ของป่าหายาก มูลค่าทางเศรษฐกิจสูง

ทำไมต้องเผาป่า หาเห็ด ไม่เผาได้ไหม? ชวนรู้จัก เห็ดเผาะ หรือ เห็ด PM2.5 ของป่าหายาก มีแค่ในป่าเท่านั้น ต้องเผาจึงจะเจอ มูลค่าทางเศรษฐกิจสูง

SHORT CUT

  • เห็ดเผาะ หรือ เห็ดถอบ อาหารยอดนิยมจากป่า มีราคาพงเพราะหายาก
  • พบเห็ดเผาะได้ในป่าเฉพาะ เช่น ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น สนเขา ในช่วงต้นฤดูฝน
  • เห็ดเผาะมีคุณค่าโภชนาการสูง ป้องกันโรคหัวใจ ยับยั้งมะเร็งและวัณโรคได้
  • เห็ดเผาะถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการสร้างฝุ่น PM2.5 และไฟป่า จึงได้ชื่อใหม่จากนายกเศรษฐาว่า เห็ดPM2.5

ทำไมต้องเผาป่า หาเห็ด ไม่เผาได้ไหม? ชวนรู้จัก เห็ดเผาะ หรือ เห็ด PM2.5 ของป่าหายาก มีแค่ในป่าเท่านั้น ต้องเผาจึงจะเจอ มูลค่าทางเศรษฐกิจสูง

เห็ดเผาะ คืออะไร?

เห็ดเผาะ หรือ เห็ดถอบ (Barometer Earthstars) บางพื้นที่เรียกแตกต่างกันไป อาทิ เห็ดเหียง เห็ดหนัง เห็ดดอกดิน เห็ดสะแบง เห็ดยาง ฯลฯ

เห็ดเผาะคือเห็ดราชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นลูกกลม ๆ เมื่อโตขึ้นก็จะมีลักษณะเป็นรูปดาว มักเจริญเติบโตร่วมกับต้นไม้ยืนต้นหลากหลายชนิด

แหล่งที่อยู่อาศัยของเห็ดเผาะ

เห็ดเผาะ มักพบได้ในพื้นที่เขตอบอุ่นและเขตร้อน อาทิ แอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ จะไม่พบในพื้นที่เขตหนาวแบบอาร์กติกและแบบเทือกเขาแอลป์

โดยสภาพป่าที่เห็ดเผาะชอบคือ ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา ป่าดิบชื้น และป่าเบญจพรรณ เป็นต้น ชอบสภาพดินที่มีธาตุอาหารต่ำ ดินทราย ดินร่วง บางแห่งพบในดินที่มีหินประกอบด้วย

เห็ดเผาะสิรินธร Cr.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว

ฤดูกาลที่เห็ดเผาะชอบ

เห็ดเผาะมักจะออกช่วงต้นฤดูฝน เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม บางชนิดก็ออกช่วงกรกฎาคม-กันยายน

ทำไมจึงชื่อ เห็ดเผาะ

เห็ดเผาะ หรือเห็ดถอบ เป็นอาหารยอดฮิตของคนภาคเหนือของไทย เนื้อมีความกรอบ เมื่อกัดหรือเคี้ยวจะมีเสียงดัง “เผาะ” จึงเป็นที่มาของชื่อ เห็ดเผาะ

ลักษณะของเห็ดเผาะ

ดอกกลมแบน สีขาวออกเหลือง น้ำตาลอ่อน เข้ม เทาดำ ขึ้นอยู่กับอายุ โผล่ขึ้นตามผิวดิน

รู้จัก เห็ดเผาะ หรือ เห็ด PM2.5 ของป่าหายาก มูลค่าทางเศรษฐกิจสูง

เห็ดเผาะประเทศไทยมีกี่ชนิด

เห็ดเผาะส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทยจะมีประมาณ 3 ชนิด คือ

  • เห็ดเผาะฝ้าย (Astraeus asiaticsus)
  • เห็ดเผาะหนัง (Astraeus odoratus)
  • เห็ดเผาะสิรินธร (Astraeus sirindhorniae)

คุณสมบัติเห็ดเผาะ

เป็นอาหารมีโปรตีนและแคลเซียมสูง มีธาตุเหล็กและไขมันดี รวมทั้งมีสาร Astraodoric acid A และ B มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งมะเร็งและวัณโรค ป้องกันโรคหัวใจ โรคตับ ช่วยล้างสารพิษลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ ความดันโลหิตสูงและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

ข้อควรระวังในการทานเห็ดเผาะ

เห็ด บางครั้งอาจได้รับการปนเปื้นมลพิษ หรืออาจเป็นเห็ดพิษ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน หากทานเข้าไปแล้วเกิดอาการ วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว และหายใจลำบาก หลังทานเข้าไป ตั้งแต่ระดับนาทีไปจนถึงข้ามวัน ควรพบแพทย์

 

ทำไมเห็ดเผาะจึงหายาก

เห็ดเผาะไม่สามารถเพาะเลี้ยงในสภาพของโรงเรือนได้ ต้องเก็บจากพื้นที่ทางธรรมชาติเท่านั้น เลยทำให้เห็ดเผาะกลายเป็นจำเลย ตัวการสร้างฝุ่น PM2.5 เป็นที่ต้องการของผู้หาของป่าขาย เพราะบางส่วนเชื่อว่าต้องเผาป่าเท่านั้นจึงจะเห็นเห็ดเผาะได้ชัดเจน สะดวกต่อการเก็บมากขึ้น และป้องกันสัตว์มีพิษที่ซ่อนอยู่ใต้กองใบไม้

ไม่เพียงแค่เห็ดเผาะ ที่เป็นส่วนหนึ่งของไฟป่า ผักหวานและการล่าสัตว์ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการก่อให้เกิดไฟป่า ยากที่จะดับได้ เฉพาะในเขตพื้นที่อนุรักษ์ ไม่ใช่พื้นที่การเกษตร Cr.กรมอุทยานแห่งชาติ สัตวืป่าและพันธุ์พืช

จากเห็ดเผาะแสนอร่อย สู่เห็ด PM2.5 ตัวการเพิ่มอัตราการเผาป่า

นายกรสยาม คงสตรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 เคยเล่าให้ Keep The World ฟังว่า เพราะว่า เห็ดเผาะส่วนใหญ่นั้น ตามวิถีคนหาของป่า จะต้องจุดไฟเผาพื้นที่นั้น ๆ จึงจะสามารถเห็นเห็ดได้อย่างชัดเจน รวมถึงหาผักหวานด้วย จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ชาวบ้านบางคนจุดไฟในป่าเพื่อหาเห็ด แต่ไฟเหล่านั้นอาจเกิดการลุกลาม เผาได้ทั้งป่าและเพิ่มปริมาณฝุ่นควัน PM2.5 ได้ง่ายขึ้น

เห็ดเหล่านี้จะต้องหาในป่าเท่านั้น เพราะการเพาะเลี้ยงในโรงเรือนยังเป็นไปได้ยาก จึงทำให้เห็ดเผาะเป็นที่ต้องการและมีราคาแพงเพราะความอร่อย ราคาผันผวนไปตามเทศกาล มีตั้งแต่ 300 บาทต่อกิโลกรัม ไปจนถึง 1,000 บาทต่อกิโลกรัม

หากฟ่าฝืนโทษรุนแรงมากนะ

อนาคตกำลังจะมีนวัตกรรมปลูกเห็ดเผาะได้ โดยไม่ต้องเผาป่า

องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน หรือ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เผยว่า การเผาะเลี้ยงเห็ดเผาะ เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ทางสถาบันกำลังศึกษาวิจัยและทดลองปลูกเห็ดเผาะในสภาพพื้นที่ธรรมชาติร่วมกับชุมชน เพื่อในอนาคตอาจเป็นทางเลือกการเพาะเห็ดเผาะขายให้กับเกษตรกรบนพื้นที่สูง สร้างรายได้ สร้างอาชีพ รวมทั้ง ช่วยยรักษาสิ่งแวดล้อม จากการจูงใจเพื่อลดการเผาป่า ซึ่งตอนนี้ได้ผลสรุปแล้วว่า “เห็ดเผาะ เพาะได้ ไม่ต้องเผาป่า” ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องเห็ดเผาะได้ที่ >>> สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

*หมายเหตุ ทั้งหมดนี้มิได้กล่าวถึงพื้นที่การเกษตรที่มีการเผาเพื่อปรับพื้นที่ทำไร่ แต่เป็นการเผาหาเห็ดในพื้นที่อนุรักษ์และเขตอุทยานเท่านั้น เนื่องจากไฟป่าส่วนใหญ่ในป่าไทยส่วนใหญ่มิได้เกิดจากธรรมชาติ แต่คือมนุษย์ ส่งผลต่อพื้นที่หากินของสัตว์ป่า ทรัพยากรบุคคล และพื้นที่ป่าที่เสียหาย

ที่มาข้อมูล

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

ข้อมูลทั่วไปด้านการเกษตร

โรงพยาบาลเพชรเวช

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related