SHORT CUT
สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่กำลังวิกฤต โดยมีตัวเลขผู้ป่วยมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น แต่รู้ไหมว่าฝุ่น PM2.5 ระดับสีม่วงเข้ม มีความเสี่ยงทำสมองพัง
ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช ผู้เชี่ยวชาญระบบประสาทและสมอง โพสต์ข้อความเกี่ยวกับอันตรายของฝุ่น PM2.5 ที่มีต่อสมองบนเฟสบุ๊ค สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์ ดังนี้
"มองไปทางไหน มีแต่ฝุ่น PM 2.5 ที่ปลิวว่อน เหมือนเมืองในนรกเลยไม่ผิด ผลที่มีต่อสุขภาพที่อาจจะมีทั้งคนรู้และไม่รู้เท่าทัน มันมากกว่าที่คิด เพราะทั่วโลกได้วิจัยศึกษากันมานานนับสิบปี ก่อนที่เค้าจะมีนโยบายปราบฝุ่นแบบชัดเจน อันเนื่องจาก คุณหมอสุรัตน์ ต้องตรวจคนไข้โรคสมองที่บางบ้านก็ไม่มีเครื่องกรองฝุ่นอยู่ที่บ้านก็อดสงสารชะตากรรมแบบทำอะไรไม่ได้ ได้แต่เตือนภัยจากความรู้จริง เพราะมันส่งผลกระทบไม่ใช่แค่ความเหม็น ความเซ็งเป็ดที่เห็นบ้านเมืองเป็นสีสนิมฝุ่น มันส่งผลกระทบสุขภาพไปถึงสมอง ซึ่งสมองนี่สำคัญเพราะมันเป็นสิ่งที่ทำให้คนเป็นคน แตกต่างจากลิง และ มันกระทบทุกช่วงวัยเลย ไม่ใช่แค่คนสูงวัยหรือเป็นโรค แต่ยังกระทบไปยังเด็ก ที่จะเกิดมา พัฒนาขึ้นเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ เป็นลูกเป็นหลานเราด้วย "
การศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2566 นี้เอง Wei Li และคณะ ตีพิมพ์รีวิวใน Font Mol Neurosci ที่เป็นวารสารวิชาการด้านเซลล์ประสาทวิทยา เรื่อง “A review of respirable fine particulate matter (PM2.5)-induced brain damage” หรือ ฝุ่น PM 2.5 ทำลายสมองว่านอกจาก ฝุ่น PM 2.5 จะ มีการผลเสียต่อหลอดเลือดและปอดแล้ว มันยังมีผลต่อสมองอย่างร้ายแรง
ขนาดที่เล็กของมันที่แทรกเข้าหลอดเลือดผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่ “Lung-Gas-Blood Barrier (ผนังกั้นปอด การแลกเปลี่ยนแก๊ซ และ กระแสเลือด” และ “Gut-Microbial-Brain (ลำไส้ ไมโครเบียล และสมอง)” axis
PM 2.5 ที่ผ่านเข้าหลอดเลือด จะทำให้เกิดภาวะ Oxidative stress หรือ ความเครียดของเซลล์หลอดเลือด ก่อนที่มันจะไปกระตุ้นทำให้เซลล์หลอดเลือดทำงานผิดปกติ ไม่ยืดหยุ่น และอักเสบตามมา
นี่เป็นเหตุให้การสำรวจเชิงประชากรพบว่า PM 2.5 ทำให้อัตราของประชากรเกิดโรคอัมพาตมากขึ้นและหากใครยิ่งมีปัญหาทางหลอดเลือดมากก่อนแล้ว เช่น เป็น stroke หรือ โรคหัวใจ เป็นความดันโลหิตสูงเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หรือแม้กระตุ้น คนสูงอายุที่มักมีเส้นเลือดเสื่อม ก็จะมีปัญหาเส้นเลือดไม่ยืดหยุ่นและอุดตันตามมา
หลายคนตั้งข้อสงสัยว่า การที่สูดฝุ่น PM 2.5 มันต้องนานไหมถึงจะกระตุ้นให้หลอดเลือดเสื่อมและแข็งตัวได้เพราะการสัมผัสฝุ่น PM 2.5 เป็นบางฤดู ที่เราเรียก ฤดูฝุ่น บางคนก็คิดว่า มันไม่เป็นอะไร เพราะเดี๋ยวมันก็ผ่านไป
แต่ในปี ค.ศ. 2517 Guan และคณะ ได้ศึกษาการสัมผัสกับ PM 2.5 ในหนูแรดเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์แล้วพบว่า เพียง 12 สัปดาห์ของการสูดดม (ประมาณ 3 เดือน) นั่นก็ทำให้หลอดเลือดในสมองเกิดการแข็งตัวได้
ระดับของการเพิ่มขึ้นของ PM2.5 ก็มีผลสำคัญต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งตีบและแตก ในนิตยสารประสาทวิทยาเล่มเขียว ทำความสัมพันธ์ของการเกิดอัมพาตและระดับ PM 2.5 พบว่า ทุก ๆ ระดับของ PM 2.5 ที่เพิ่มขี้น 5 μg/m3 จะทำให้เพิ่มโอกาสในการเกิดอัมพาตและโรคหลอดเลือดสมองครั้งใหม่ขึ้น 24% และนอกจากเกิดอัมพาตแล้ว ความรุนแรงของมันก็ทำให้เป็นอัมพาตที่รุนแรงและเสียชีวิตเพิ่มถึง 30%
ในการค้นหาข้อมูลโดยคณะวิจัย โดย อ.นพ. กิตติ เทียนขาว จากคณะแพทยศาสตร์ มช. แสดงข้อมูลให้เห็นว่า PM 2.5 ผ่านเข้าสมองโดยตรงที่ olfactory buld ที่เสมือนทางเชื่อมที่โพรงจมูกกับสมอง เสมือนเป็นที่รับกลิ่นแล้ว PM 2.5 นี้ก็จะเข้าไปกระตุ้นโปรตีนขยะที่อยู่ในสมองที่ชื่อ Beta amyloid ที่เป็นแหล่งกำเนิดโรคสมองเสื่อมอัลไซล์เมอร์
นอกจากนี้ PM 2.5 เมื่อสูดเข้าไป จะเข้าไปสู่การทำงานของเชื้อในลำไส้ ทำให้เชื้อในลำไส้ ปล่อยสารพิษ ผ่านเข้าไปยังกระแสเลือดและเข้าสู่สมองด้วย กระบวนการนี้คือการเปลี่ยนแปลงของ Gut Micro Biota หรือการเปลี่ยนแปลงของเชื้อในร่างกาย
สิ่งที่น่าเป็นกังวลมากคือ ฝุ่น PM2.5 ส่งผลกับสมองของเด็ก จากการศึกษาของ Environmental International พบว่า อนุภาคของ PM 2.5 อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสมองในวัยกำลังพัฒนาของเด็ก ซึ่งก็เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อปัญหาด้านการเรียนรู้ ความฉลาด และอารมณ์ในวัยรุ่น โดยเฉพาะอาการซึมเศร้า ที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย
“ในวัยหนุ่มสาว เซลล์ประสาทในสมองเด็ก กำลังขยายตัว และปรับให้เข้ากับการเรียนรู้สิ่งใหม่ โดยต้องการสารอาหาร การเรียนรู้เซลล์ และสิ่งแวดล้อมต่อการงอกของเซลล์ประสาทที่มีประสิทธิภาพ
งานวิจัยโดย Dora Cserbik และคณะ ได้ศึกษาการสัมผัส PM 2.5 ประจำปี โดยเฉลี่ย แล้วทำ x-ray ดูการทำงานของสมองโดย High Resolution structural T1 MRI และวัดความสมถนะของสมอง ของเด็ก อายุ 9 ถึง 10 ขวบ พบว่าระดับของ PM 2.5 ที่บริเวณที่สูด สัมพันธ์กับส่วนของสมองที่เปลี่ยนแปลงไปของเด็ก ได้แก่ gray matter (สมองส่วนที่เป็นเซลล์สมอง) ในส่วนต่าง ๆ ได้แก่ frontal (ส่วนที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและการคิด) temporal (ส่วนที่เกี่ยวกับจดจำ) occipital lobe (ส่วนที่เกี่ยวกับการมองเห็นและประมานภาพ) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสมองนี้ เกิดขึ้นถึง 9 ตำแหน่งจากสมองทั้งหมด 31 ตำแหน่ง
นอกจากนี้เด็กที่อยู่ในพื้นที่ที่มีมลภาวะฝุ่นพิษสูง มีแนวโน้มในการพัฒนาของสมองช้า IQ ต่ำ มีการเปรียบเทียบในประเทศสเปนมันเป็นเช่นนั้นจริง ๆ กับเด็กในตัวอย่างวิจัยถึง 2715 คน (อายุ 9-10 ขวบ)
ดังนั้นเรื่องการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ควรมีการแก้ปัญหาอย่างจริงจังและยั่งยืน และควรแก้ไขเป็นการเร่งด่วน
ที่มา : Facebook สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์
เนื้อหาที่น่าสนใจ :