svasdssvasds

กรีนไฮโดรเจนคืออะไร? หนึ่งกุญแจสำคัญของการบรรลุเป้าหมาย Net Zero

กรีนไฮโดรเจนคืออะไร? หนึ่งกุญแจสำคัญของการบรรลุเป้าหมาย Net Zero

กรีนไฮโดรเจนคืออะไร? ทำไมต่างชาตินิยมกันเหลือเกิน นี่คืออีกหนึ่มขุมพลังด้านพลังงานสะอาด ที่อาจทำให้โลกบรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้ไกลขึ้น

พลังงานสะอาด เป็นอีกหนึ่งการลงทุนด้านพลังงานที่ถือว่าคุ้มค่ามาก ๆ ในยุคสมัยนี้ ด้วยกระแสของโลกที่มันเปลี่ยนไป และการมองหาพลังงานที่ยั่งยืนมากขึ้น เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินอย่างเช่นวิกฤตสงครามและวิกฤตเศรษฐกิจ

กรีนไฮโดรเจนเป็นอีกหนึ่งพลังงานทางเลือกที่เป็นพลังงานสะอาด และกำลังนิยมอยู่ในขณะนี้ ดังนั้น Keep The World คลิปนี้ชวนไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานไฮโดรเจนว่ามันคืออะไร และช่วยโลกยังไงบ้าง?

กรีนไฮโดรเจน (Green Hydrogen) เป็นไฮโดรเจนที่ผลิตขึ้นมาจากพลังงานสะอาด หรือผลิตมาจากการแยกโมเลกุลของน้ำด้วยไฟฟ้า ออกเป็นไฮโดรเจน และออกซิเจน และมลพิษที่เกิดจากการนำไฮโดรเจนไปใช้ ไม่ว่าจะใช้ในรูปแบบของการเผาไหม้หรือใช้ในรูปแบบเซลล์เชื้อเพลิงไฟฟ้าจะได้แค่น้ำเท่านั้น ไม่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้น ไม่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก

นอกจากนี้ โฮโดรเจนยังสามารถนำไปใช้ได้หลายภาคส่วน เช่น วัตถุดิบกลั่นน้ำมัน ผลิตปุ๋ย เหล็ก และเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าและการขนส่ง

ส่วนใหญ่ที่เห็นกันบ่อยคือเอาพลังงานกรีนไฮโดรเจนมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า เพื่อจ่ายให้กับรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้รถ EV ไร้มลทินจากแหล่งผลิตไฟฟ้าที่ไม่สะอาด เช่น ไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

ในความเป็นจริง บนโลกนี้มีไฮโดรเจนหลากหลายรูปแบบมาก ๆ เช่น ไฮโดรเจนสีน้ำตาล ผลิตจากถ่านหิน (Coal Gasification) ไฮโดรเจนสีเทา ผลิตจากก๊าซธรรมชาติผ่านกระบวนการ Steam Matane Reforming (SMR) และไฮโดนเจนสีน้ำเงิน ซึ่งใช้แบบเดียวกันกับไฮโดรเจนสีเทา ต่างตรงมีการนำเทคโนโลยีดักจับคาร์บอน (Carbon Capture and Storage, CCS) มาใช้ ซึ่งทุกไฮโดรเจนจะแตกต่างกันไปที่วัตถุดิบและกระบวนการได้มาซึ่งพลังงาน

แต่อย่างไรก็ตาม พลังงานไฮโดรเจนมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป ส่วนใหญ่ตอนนี้พลังงานไฮโดรเจนยังคงมีราคาแพงอยู่ ยังมีข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานหรือสถานีเติมก๊าซไฮโดรเจน สำหรับใช้ในยานยนต์เคลื่อนที่ ต้นทุนการผลิตสูง

ซึ่งสำหรับแนวโน้มการใช้พลังงานไฮโดรเจนในไทย ตอนนี้ทางปตท. ก็กำลังเร่งศึกษาอยู่เหมือนกัน เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี 2050

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โดยภารกิจของปตท.ตอนนี้ กำลังสร้างการเติบโตจากธุรกิจพลังงานแห่งอนาคต (Future Energy and Beyond) เพื่อเพิ่มสัดส่วน Green portfolio และบริหารจัดการ Hydrocarbon portfolio ซึ่งคาดว่าจะลดการปล่อยก๊าซกระจกลงได้ 50% เลย

และเพื่อให้การควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปตท.มีเป้าหมายยิ่งใหญ่ คือการปลูกต้นไม้ เพื่อดูดซับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะมีการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง

โดยตอนนี้ ปตท. มีเป้าหมายว่า ภายในปี 2030 กลุ่ม ปตท.จะปลูกป่าเพิ่มอีก 2 ล้านไร่ โดย ปตท. จะปลูก 1 ล้านไร่ และบริษัทในกลุ่ม ปตท. อีก 1 ล้านไร่ ซึ่งเมื่อเดือนสิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา ปตท.ได้ Kick of ปลูกป่าล้านที่ 2 แล้ว ณ แปลงปลูกป่าของปตท. ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าวังเพลิง ป่าม่วงค่อมและป่าลำนารายณ์ ตำบลมหาโพธิ อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี

นอกจากนี้ ผืนป่าที่ฟื้นฟูขึ้นมา จะทำหน้าที่เป็นแหล่งต้นน้ำ และสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมทั้งสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้ด้วย

ซึ่งในอนาคต ปตท.หวังว่าภารกิจเหล่านี้จะช่วยให้ประเทศไทยเดินหน้าสู่การเป็น Net Zero เพียบพร้อมกับนานาประเทศที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ ช่วยให้โลกฟื้นฟูจากวิกฤตโลกเดือดที่กำลังรุนแรงอยู่ในตอนนี้นั่นเอง 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related