ภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้น ก่อให้เกิดคำว่า Net Zero และ Carbon Neutrality เป้าหมายของการชะลอวิกฤตโลกร้อนให้บรรเทาลง แต่ความหมายที่แท้จริงของทั้งสองคำนี้คืออะไรล่ะ?
Net Zero คืออะไร? เห็นทั้งนายก นักการเมือง นักธุรกิจและนักวิชาการหลายคน พูดกันเยอะมาก ถึงการบรรลุเป้าหมาย Net Zero จะเป็นเป้าหมายช่วยลดโลกร้อนได้จริงไหม?
Net Zero Emission หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งผู้คนมักสับสนกับคำว่า ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality แล้ว 2 อย่างนี้ต่างกันอย่างไร?
ถ้าเอาให้รวบรัดเลยคือ Carbon neutrality จะเป็นการ ปล่อยคาร์บอนเท่าไหร่ ดูดซับกลับมาเท่านั้น เช่น ปล่อยไป 100 เราปลูกต้นไม้ หรือเช่าพื้นที่ปลูกต้นไม้ ซึ่งต้นไม้เหล่านี้ช่วยดูดซับคาร์บอนกลับมาได้ 80 อีก 20 ที่เหลือเราไปขอซื้อคาร์บอนเครดิตได้ (ปล่อย+ดูดซับ+คาร์บอนเครดิต)
ส่วน Net Zero Emission จะคล้าย ๆ กัน คือ ปล่อยคาร์บอนเท่าไหร่ ดูดกลับมาเท่านั้น แต่จะต่างกันตรงที่ ห้ามซื้อขายคาร์บอนเครดิต และเราต้องพยายามไม่ปล่อยเลย ปล่อย = ดูด x ไม่ซื้อคาร์บอนเครดิต
อีกทั้งต้องพยายามปรับเปลี่ยนวิธีในการช่วยลดก๊าซเรือนกระจกของโลกลงด้วย เช่น การเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาด ไม่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ใช้รถ EV เป็นต้น เพื่อไปหักลบกับที่เราปล่อยออกไป
ที่นี้ คาร์บอนเครดิตคืออะไรล่ะ? คำนี้ก็ใช้กันเยอะเหมือนกัน คาร์บอนเครดิตคือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สามารถคำนวณได้จากการดำเนินโครงการที่มีการลดหรือดูดกลับก๊าซเรือนกระจกคิดเป็นหน่วยเมตริกตันเทียบเท่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (MTCO2e)
ซึ่งเราสามารถหาคาร์บอนเครดิตได้จากการปลูกต้นไม้ และคำนวนว่า ต้นไม้หนึ่งต้นนี้ หรือหนึ่งไร่นี้สามารถดูดซับคาร์บอนที่มีหน่วยเป็นเมตริกตันเทียบเท่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาได้เท่าไหร่ และผู้ที่เป็นเจ้าของสามารถเอาค่านี้หักลบปริมาณการปล่อยคาร์บอนในกิจการของตนเองได้ ซึ่งเรามีผู้ดำเนินการกลางสำหรับคาร์บอนเครดิตคือ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก หรือ TGO นั่นเอง
หากองค์กรหรือประเทศใดมีเป้าหมายบรรลุ Net Zero 2025 แสดงว่าในปีนั้นจะไม่มีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตอีกต่อไป ซึ่งหากแต่ละประเทศทำได้ จะหมายความว่า เราสามารถหยุดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนเกิน ที่ส่งผลให้เกิดโลกร้อนได้ เพราะพูดกันตามตรงบนข้อเท็จจริง ตอนนี้เป็นไปไม่ได้เลยที่กิจกรรมของเราทุกคนจะไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเลย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นักวิทย์ ย้ำ! การประชุม COP28 ต้องถกปัญหา-วิธีแก้ "โลกร้อน" ให้ครบทุกด้าน
'โซลาร์ฟาร์มบนหลังคาโรงงาน' ใหญ่สุดในไทย ช่วยลดปล่อยคาร์บอน 30,000 ตัน
ซึ่งเป้าหมาย Net Zero ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติของไทย เค้าก็มีเทคโนโลยีในการดักจับก๊าซเรือนกระจกออกมาจากชั้นบรรยากาศด้วย หรือเรียกกันว่า เทคโนโลยีดักจับคาร์บอน CCS โดยจะเป็นการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ในพื้นที่โรงงานมาเก็บไว้ในแหล่งก๊าซหรือแหล่งน้ำมันที่อยู่ใต้ดิน อันไม่ส่งผลกระทบต่อโลก ซึ่งคาร์บอนที่จับได้นี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เพื่อชดเชยการปล่อยคาร์บอนโดยไม่พึ่งพาการซื้อขายคาร์บอนเครดิต
โดยแค่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวก็สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 30% แล้ว และในปัจจุบัน ปตท.เค้าก็กำลังศึกษาการนำพลังงานไฮโดรเจนมาใช้ในกระบวนการผลิตของปตท.ด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตและการใช้พลังงาน แต่ก็ต้องควบคู่ไปกับการใช้พลังงานสะอาด การสนับสนุน EV เพื่อลดมลพาทุกช่องทาง
อย่างไรก็ตาม แผนเป้าหมายบรรลุ Net Zero ของปตท. คาดไว้ว่าจะบรรลุ Net Zeroภายในปี 2050 ซึ่งนี่คือปลายทางสุดท้ายของการช่วยบรรเทาวิกฤตการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมของไทยและโลกดีขึ้นได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง