ทำความรู้จัก "คาร์บอนเครดิตป่าไม้" มีเงื่อนไขในการทำอย่างไร และมีต้นไม้ที่เข้าข่ายทำกิจกรรมเพื่อรับรองคาร์บอนเครดิตได้กี่ประเภท วันนี้มีคำตอบแบบกระชับ เข้าใจง่ายมาฝาก
ประเด็นสังคมที่อยู่ในความสนใจของประชาชน หนึ่งในนั้นคือเรื่องคาร์บอนเครดิต ซึ่งกลไกสำคัญที่จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนได้ แต่ความน่าเชื่อถือของคาร์บอนเครดิต ก็เป็นเรื่องสำคัญมาก ดังนั้น หากต้องการให้เกิดความน่าเชื่อถือของคาร์บอนเครดิตต้องมีการดำเนินกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจกหรือก่อให้เกิดการกักเก็บคาร์บอนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งต้องเป็นการดำเนินงานเพิ่มเติมจากการดำเนินงานโดยปกติทั่วไป และ ต้องไม่ใช่กิจกรรมที่ดำเนินการตามข้อบังคับของกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง และปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกต้องเกิดขึ้นอย่างถาวร มีวิธีการคำนวณ การตรวจวัดที่ได้มาตรฐาน และสอดคล้องกับแนวปฎิบัติสากล ต้องผ่านกระบวนการทวนสอบจากบุคคลที่สาม โดยการรับรองคาร์บอนเครดิตนั้น ต้องมาจากหน่วยงานที่เป็นเจ้าของมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
ดังนั้น คาร์บอนเครดิต (Carbon Credits) ภายใต้บริบทของประเทศไทย คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดหรือกักเก็บได้จากการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ซึ่งเป็นกลไกที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบสมัครใจภายในประเทศไทย โดยคาร์บอนเครดิตจากโครงการ T-VER มีหน่วยเป็น “ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq)”
คาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้ คือ ปริมาณการลด ดูดซับ และกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมประเภทการปลูกป่า
โครงการ T-VER ภาคป่าไม้ ที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ให้การรับรองคาร์บอนเครดิต ในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ กันยายน 2566) มีโครงการที่ได้รับการรับรองปริมาณคาร์บอนเครดิตทั้งหมด 6 โครงการ มีปริมาณคาร์บอนเครดิตเท่ากับ 122,185 tCO2eq คิดเป็น 0.72% ของปริมาณคาร์บอนเครดิตทั้งหมดที่มีการรับรอง
ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง