การประชุม COP 28 ที่จะถึงนี้ ประเด็นสำคัญในวาระการประชุมเห็นจะเป็นเรื่องความยุติธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระหว่างกลุ่มเศรษฐีที่มี 1% แต่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่ากลุ่มประชากรยากจน 5,000 ล้านคนเสียอีก
ในการประชุม COP 28 หรือการประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติ ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 30 พ.ย.-12 ธ.ค. นี้ ที่ดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยมีเรื่องความยุติธรรมด้านสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นสำคัญ โดยพบความต่างของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระหว่างกลุ่มมหาเศรษฐีที่มี 1% แต่กลับปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 16% ทั่วโลก ขณะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกลุ่มประชากรยากจนต้องใช้คน 5,000 พันล้านคน
Oxfam และสถาบันสิ่งแวดล้อม Stockholm เผยข้อมูลเรื่องการสำรวจสาเหตุและผลลัพธ์ของความไม่เท่าเทียมของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ไม่สมสัดส่วนของบุคคลที่ร่ำรวยและประชากรยากจน และจากรายงานในปี 2019 ประเทศที่มีรายได้สูงซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกเหนือ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามการบริโภคทั่วโลกถึง 40% ขณะที่ผู้มีรายได้น้อยในประเทศต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ 0.4% โดยแอฟริกามีประชากรประมาณ 1 ใน 6 ของโลก แต่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 4% เท่านั้น
UN เผยว่า การเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศสุดขั้วกว่า 90% เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งผู้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตกอยู่ที่กลุ่มยากจน กลุ่มชาติพันธุ์ ผู้อพยพ เด็กหญิงและสตรี และจากการศึกษาเผยว่ากลุ่มประชากรเหล่านี้มีโอกาสน้อยในการออมเงินหรือทำประกัน รวมถึงการดูแลทางสังคม ดังนั้นประชากรกลุ่มนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ อย่าง ภัยแล้ง น้ำท่วม ไฟป่า หรือคลื่นความร้อนมากกว่ากลุ่มคนร่ำรวย
รายงานกล่าวถึงปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กลุ่มคนรวยปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมต่างๆ ที่มีเพียง 0.1% เช่น เครื่องบิน Jet ส่วนตัว ซูเปอร์ยอร์ช การไปอวกาศ และคฤหาสน์ ต่อปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นจำนวนมากซึ่งส่งผลกับสภาพอากาศในหลายระดับ
จากการคาดการณ์ของ SEI และ Oxfam เผยว่าในปี 2030 จะมีการกำหนดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อคน ต่อปี ของประชากรที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ซึ่งก็คือกำหนดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 2.8 ตัน ต่อคน/ต่อปี
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
เนื้อหาที่น่าสนใจ :