svasdssvasds

พลังงานไฮโดรเจน เทรนด์มาแรง เทียบชั้น ไฮโดรเจนสีเขียว VS ไฮโดรเจนสีน้ำเงิน

พลังงานไฮโดรเจน เทรนด์มาแรง เทียบชั้น ไฮโดรเจนสีเขียว VS ไฮโดรเจนสีน้ำเงิน

เทรนด์พลังงานสะอาดมาแรงทั่วโลก ไทยก็เร่งตื่นตัวเช่นกัน โดยเฉพาะพลังงานไฮโดรเจน ที่เป็นพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยคาร์บอน ไฮโดรเจนสีเขียว และ ไฮโดรเจนสีน้ำเงิน มาแรงมาก วันนี้จะพาไปทำความรู้จัก

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าวันนี้โลกกำลังเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดแล้ว เพราะทั่วโลกกำลังให้ความสนใจเรื่องรักษ์โลก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการหันมาใช้พลังงานสะอาด รวมถึงพลังงานทดแทนอื่นๆ พลังงานไฮโดรเจน คือหนึ่งในพลังงานสะอาดที่กำลังมาแรง หลายประเทศเริ่มหันมาใช้พลังงานชนิดนี้มากขึ้น เพราะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยคาร์บอน โดยไฮโดรเจนสีเขียว และ ไฮโดรเจนสีน้ำเงิน มาแรงมาก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด เปิดเผยว่า เทรนด์การใช้พลังงานสะอาดในไทย พลังงานไฮโดรเจนสีเขียว ไฮโดรเจนสีน้ำเงิน กำลังจะมาแรง โดยบริษัทจะเดินหน้าเน้นย้ำใน 5 เรื่อง ดังนี้

1.เทคโนโลยีการดักจับการใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) กำลังได้รับแรงขับเคลื่อน และสามารถประยุกต์ใช้ได้ในกระบวนการอุตสาหกรรมหลากหลายที่กำลังปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นเทคโนโลยีนี้จึงถือเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพในการลดการปล่อยคาร์บอน และการมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในอนาคต

2.ไฮโดรเจน โดย BIG เชี่ยวชาญ และเป็นรายใหญ่สุดของโลก บริษัทแม่ลงทุน 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยเน้นบลูไฮโดรเจน และกรีน ไฮโดรเจน ซึ่งคืบหน้า 20-30% และพร้อมใช้งานเต็มรูปแบบปี 2026-2027

3. โซลูชันลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างการเติบโตให้กับเศรษฐกิจประเทศ

4. แพลตฟอร์มเพื่อตอบโจทย์ภาคธุรกิจที่ตรวจจับว่าภาคอุตสาหกรรมปล่อยคาร์บอนปริมาณเท่าไร รวมถึงการตรวจจับการใช้พลังงาน วิธีการลดคาร์บอนในรูปแบบตามความเหมาะสมของธุรกิจ และซื้อขายคาร์บอนเครดิตผ่านแพลตฟอร์มของบีไอจีได้

5.การนำไบโอเซอร์คูลาร์ กรีน มาใช้เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

นอกจากนี้วันนี้จะพามาเปรียบเทียบดูว่าไฮโดรเจนสีเขียว VS ไฮโดรเจนสีน้ำเงิน ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

ไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen)

  • ใช้กระแสไฟฟ้าผลิตขึ้นใหม่
  •  แยกโมเลกุลของน้ำออกมาเป็นไฮโดรเจน และออกซิเจน ทำ
  • การเผาไหม้ไฮโดรเจนที่ไม่ใช้คาร์บอนไดออกไซด์ แต่เป็นน้ำ
  • ปราศจากคาร์บอนไม่ปล่อยมลพิษ

ไฮโดรเจนสีน้ำเงิน หรือ บลูไฮโดรเจน (Blue Hydrogen)

  • ใช้กระบวนการเดียวกันกับเกรย์ไฮโดรเจน
  • เพิ่มเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ การกักเก็บคาร์บอน
  • ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  • ใปล่อยก๊าซคาร์บอน 3-6 ก.ก.ต่อ 1 ก.ก.ของไฮโดรเจนที่ได้
  • ได้พลังงานสะอาด กว่าไฮโดรเจนประเภทอื่นที่ไม่มีนวัตกรรมนี้

นอกจากไฮโดรเจนสีเขียว ไฮโดรเจนสีน้ำเงิน ที่มาแรงยังมีไฮโดรเจนสีอื่นๆ อีกมากมาย ดังนี้

  • ไฮโดรเจนสีน้ำตาล หรือ บราวน์ไฮโดรเจน (Brown Hydrogen) ผลิตได้จากถ่านหินผ่านกระบวนการ coal gasification การผลิตไฮโดรเจนด้วยวิธีนี้ ปล่อยก๊าซคาร์บอนราว 16 กิโลกรัมต่อ 1 กิโลกรัมของไฮโดรเจนที่ผลิตได้
  • ไฮโดรเจนสีเทา หรือ  เกรย์ไฮโดรเจน (Grey Hydrogen) ผลิตได้จากก๊าซธรรมชาต หรือน้ำมัน ผ่านกระบวนการ steam reformimg การผลิตนี้ปล่อยก๊าซคาร์บอนราว 9 กิโลกรัมต่อ 1 กิโลกรัมของไฮโดรเจนที่ผลิตได้
  • ไฮโดรเจนสีฟ้าคราม หรือ เทอร์ควอยไฮโดรเจน (Turquoise Hydrogen) ผลิตได้จากการแยกมีเทนออกมาเป็นคาร์บอนและไฮโดรเจนผ่านกระบวนการ methane pyrolysis ที่ยังอยู่ในช่วงของการพัฒนาและยังไม่มีใช้ในเชิงพาณิชย์

แน่นอนว่าบนโลกใบนี้เหรียญมีสองด้าน มีข้อดี ก็ย่อมมีข้อเสีย พามาดูข้อดี ข้อเสียของพลังงานไฮโดรเจน

ข้อดีไฮโดรเจน

  • ปรับการผลิตได้ตามรอบรถยนต์
  • มีระบบระบายความร้อนที่ควบคุมทางอิเล็กทรอนิกส์
  •  สามารถประหยัดน้ำมันได้ถึง 40-60%
  • เครื่องยนต์เผาไหม้ดีขึ้น ช่วยลดควันดำ
  • วัสดุหาง่ายใช้น้ำเปล่า 100%
  • ไม่มีอันตรายใด ๆ ไม่เหมือนแก๊ส NGV, LPG

ข้อเสียไฮโดรเจน

  • มีราคาแพงกว่าเชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอน
  • ยังมีข้อจำกัดด้านความปลอดภัยในการใช้กับยานยนต์เคลื่อนที่
  •  ประสิทธิภาพเชิงความร้อนต่ำมีปัญหาเรื่องการจุดระเบิดย้อนกลับ (Backfire)
  •  การลงทุนด้านการผลิตและการจัดเก็บที่ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล
  • ยากต่อการจัดเก็บและการขนส่งทางรถบรรทุก เพราะเก็บได้เพียง 1 ใน 4 ต่อหน่วยเมื่อเทียบกับก๊าซธรรมชาติ ทำให้โลหะเปราะบาง และเป็นก๊าซติดไฟง่าย

 

ที่มา : สถาบันพลังงานมช. , Green Network Thailand    

 

 

related