SHORT CUT
การฟื้นคืนของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไม่ได้เป็นแค่การกลับมาของนักท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ยังเป็นการพลิกโฉมของอุตสาหกรรมไปอย่างสิ้นเชิง ภายใต้ดาต้า นวัตกรรม และเทคโนโลยีกลายเป็นฟันเฟืองสำคัญในการแข่งขันของตลาดท่องเที่ยววันนี้
การท่องเที่ยว จะไม่ใช่แค่การพักผ่อนหย่อนใจอีกต่อไป แต่กลายเป็นเครื่องยนต์สำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก
ในปี 2024 สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก (World Travel and Tourism Council : WTTC) รายงานว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะมีส่วนช่วยสนับสนุนผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของโลกสูงเป็นประวัติการณ์ที่ราว 370 ล้านล้านบาท ที่เป็นอย่างนั้น ก็เพราะผู้บริโภคมองว่า “การท่องเที่ยว” เป็นส่วนสำคัญในการใช้จ่ายมากขึ้น
นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะช่วยสนับสนุนงานเกือบ 348 ล้านตำแหน่งในปี 2024 เพิ่มขึ้น 13.6 ล้านตำแหน่งเมื่อเทียบกับปี 2019 ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดก่อนเกิดโควิด-19 อีกทั้งอุตสาหกรรมยังคงรับสมัครเพื่อเติมเต็มตำแหน่งงานในสาขาที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ละประเทศจึงออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศของตัวเองกันอย่างแข็งขันตลอดในช่วงระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา
ญี่ปุ่น ชูโครงการ Nationwide Travel Discount ที่ช่วยออกค่าใช้จ่ายแบบไม่จำกัดจำนวนครั้ง สำหรับประชาชนคนในชาติและชาวต่างชาติที่พำนักระยะยาวอยู่ในประเทศ
เกาหลีใต้ เพิ่มวันหยุด เงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวภายในประเทศ และนโยบายการลดหย่อนภาษี
ส่วนจีน วางแผนกระตุ้นการท่องเที่ยวระหว่างปี 2023-2025 เพื่อสร้างการเติบโตให้กับระบบนิเวศของการท่องเที่ยว เพิ่มวันหยุด ส่งเสริมการท่องเที่ยวตามฤดูกาล แคมเปญสะสมแต้ม หรือให้ส่วนลดกับบุคคลทั่วไป
สำหรับภาคธุรกิจทางรัฐบาลจีนผลักดันให้เกิดการยกระดับการท่องเที่ยวแบบ World Class ด้วยการสร้างจุดเด่นให้กับสถานที่ท่องเที่ยวของตัวเอง เพิ่มมูลค่าด้วยการใช้ต้นทุนทางวัฒนธรรมที่มีในท้องถิ่นมาดึงดูดนักท่องเที่ยว
แนวโน้มของการท่องเที่ยวโลกมีการปรับตัวเพื่อตอบรับกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป กำลังกลายเป็นโอกาส และความท้าทายของอุตสาหกรรมในวันพรุ่งนี้อย่างแท้จริง
บูรณาการสร้างนิเวศนวัตกรรมการท่องเที่ยวไทย
เมื่อแกนกลางของเศรษฐกิจโลกวันนี้มีการท่องเที่ยวเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อน ประเทศไทยที่มีการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในเสาหลักเศรษฐกิจก็ต้องปรับตัว และพัฒนาศักยภาพเพื่อเข้าสู่การแข่งขัน
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้รายงานภาพรวมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการในปี 2024 ของประเทศไทย โดยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยกว่า 35,047,501 คน มีรายได้รวมกว่า1.8 ล้านล้านบาท จากนักท่องเที่ยวไทยและชาวต่างชาติที่เดินทางท่องเที่ยวในไทยกันมากขึ้น
ขณะที่ เป้าหมายของปี 2025 นั้นประเทศไทยตั้งเป้าว่า รายได้จากการท่องเที่ยวเติบโต 7.5 % จากปี 2024 สูงกว่าการเติบโตของ GDP ประเทศไทยปี 2025 ถึง 1.7 เท่าจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่า 39 ล้านคน และดึงไทยเที่ยวไทยมากกว่า 205 ล้านคนต่อครั้ง
โดยรัฐบาลได้กำหนดให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็น 1 ใน 8 เสาหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยภายใต้นโยบาย IGNITE THAILAND’S TOURISM ซึ่งมุ่งหวังให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภูมิภาค (Tourism Hub) ผ่านการให้ความสำคัญกับ
นอกจากนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้ร่วมผลักดันให้การท่องเที่ยวเติบโต โดยนำนวัตกรรมเข้าไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ด้วยการดึงอัตลักษณ์ท้องถิ่นมาช่วยยกระดับประสบการณ์การท่องเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมถึงเป็นการท่องเที่ยวสีเขียว หรือการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) ผ่านการสนับสนุนโครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน ประกอบด้วย
1. นวัตกรรมการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ (Wellness Tourism Innovation)
การท่องเที่ยวที่มีจุดมุ่งหมายส่งเสริมสุขภาพที่ดีอย่างมีคุณภาพ ผ่านกิจกรรมหรือบริการที่สอดคล้องกับสุขภาวะทางร่างกายและจิตใจ ภายใต้พื้นฐานของความยั่งยืน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ตัวอย่างการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เช่น การนวดสมุนไพร การฝึกโยคะ บำบัดจิตใจ นั่งสมาธิปฏิบัติธรรม การบริการ สุวคนธบำบัด (Aroma Therapy) หรือการบริการวารีบำบัด (Water Therapy) การท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาสุขภาพ (Health Healing Tourism) การตรวจร่างกาย การรักษาโรค ทันตกรรม การผ่าตัดเสริมความงาม หรือการผ่าตัดแปลงเพศ เป็นต้น โดยมีตัวอย่างโครงการ เช่น
2. นวัตกรรมการเที่ยวเชิงประสบการณ์อย่างสร้างสรรค์ (Local Experiential Tourism Innovation)
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือในการรักษาความสมดุลระหว่างการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวภายในชุมชน และผลประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับทั้งในรูปแบบที่เป็นผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน โดยมีตัวอย่างโครงการ เช่น
3. นวัตกรรมความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยว (Safe and Secure Tourism Innovation)
องค์กรด้านการท่องเที่ยวโลกได้ระบุถึงความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ที่ต้องพิจารณาจากความเสี่ยงภัยที่เกิดขึ้นได้จาก 4 แหล่งด้วยกัน ได้แก่
โดยมีตัวอย่างโครงการนวัตกรรม เช่น
4. นวัตกรรมการท่องเที่ยวด้านอาหารและวัตถุดิบท้องถิ่น (Gastronomic and local ingredients Tourism Innovation)
หนังสือนิตยสารออนไลน์ “National Geographic” ได้ระบุว่า การท่องเที่ยวเชิงอาหารมีคุณค่ามากกว่าแค่การดื่มกินเมนูดังตามแหล่งท่องเที่ยว แต่ครอบคลุมถึงการผลิต เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์หลากหลายที่เกี่ยวเนื่องจากอาหาร โดย 4 เสาหลักของการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ได้แก่
โดยมีตัวอย่างโครงการ เช่น
5. นวัตกรรมการท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมและความบันเทิง (Cultural and Entertainment Tourism Innovation)
โดยรวมแล้วจะหมายถึงการท่องเที่ยวเพื่อชมสิ่งที่แสดงถึงความเป็นวัฒนธรรมประเพณี วิถีการดําเนินชีวิต รวมถึงเพื่อเข้ารับชมศิลปะทุกแขนง รวมถึงการท่องเที่ยวไปยังสถานที่ ย่านบันเทิง หรือแหล่งบันเทิงอื่น โดยมีตัวอย่างโครงการ เช่น
ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างโครงการนวัตกรรมดี ๆ ซึ่งสามารถเป็นต้นแบบในการต่อยอดการพัฒนานวัตกรรมการท่องเที่ยว โดยนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อนวัตกรผู้พัฒนาแล้ว ยังก่อเกิดประโยชน์ไปยังชุมชนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมด้วย
Data ยกระดับการแข่งขัน
การศึกษาพฤติกรรมและทำการตลาดตามช่วงเวลาที่สอดคล้องกับความสนใจของกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมาย จึงเป็นโจทย์สำคัญของทั้งหน่วยงาน และผู้ประกอบการอย่างยิ่ง ในวันที่ปัจจัยแวดล้อมด้านการท่องเที่ยวมีความท้าทายเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานและการบริการด้านนักท่องเที่ยว และความยั่งยืนของความต้องการเดินทางและท่องเที่ยว
เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า (Customer Data Analysis) แชทบอทและผู้ช่วยเสมือน (Chatbots and Virtual Assistants) ระบบการจองอัจฉริยะ (Smart Booking Systems) การปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience Enhancement) ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสำคัญที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไม่อาจมองข้าม
นี่จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย ดร.กาญจนา เหล่าเส็น และ ดร.อดิศักดิ์ อินทนา นักวิจัยจากศูนย์สารสนเทศศาสตร์บริการและท่องเที่ยวอัจฉริยะอันดามัน วางกรอบการทำงานของ Andaman Intelligent Tourism and Service Informatics Center : AI-TaSI ประกอบด้วย
1. วิจัยด้านการท่องเที่ยวโดยใช้ศาสตร์ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ในการวิเคราะห์ข้อมูล
2. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริการและท่องเที่ยวฝั่งอันดามันเพื่อให้บริการและความรู้แก่หน่วยงานรัฐ ผู้ประกอบการและชุมชนในด้านการท่องเที่ยว
3. ให้คำปรึกษาด้านงานวิจัยด้านการท่องเที่ยวโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์
4. พัฒนาระบบอัจฉริยะด้านการท่องเที่ยว เพื่อยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว
สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว Big Data จะมาช่วยในการวิเคราะห์หาพฤติกรรม และความสนใจของนักท่องเที่ยวที่มาเยือนในบริเวณพื้นที่นั้นๆ ทำให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องมองเห็นแนวโน้มที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป การตอบสนองต่อฟีดแบ็กที่ดีและไม่ดี ที่ล้วนส่งผลกับการวางแผน และจัดรูปแบบการให้บริการเพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น
จากข้อมูลจำนวนมหาศาลเมื่อใช้ AI มาช่วยวิเคราะห์ทำให้ค้นพบ Hidden Knowledge สิ่งที่สกัดออกมาให้ผู้ประกอบการเห็นว่านักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มมีความชอบเรื่องอะไรเป็นพิเศษ เพื่อนำเสนอแพคเกจ การท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับสิ่งที่ลูกค้าให้ความสำคัญ
สิ่งที่ข้อมูลค้นพบก็คือ นักท่องเที่ยวหลังจากโควิด-19 จะมีความเฉพาะทางมากขึ้น กลุ่มหลักๆ ที่มาในภูเก็ตจะสนใจในเรื่องสุขภาพ สถานที่ท่องเที่ยวที่คนให้ความนิยมก็เปลี่ยนไปจากเดิม
กลุ่มประเทศตะวันออกกลางและอินเดียกลายเป็นโจทย์ใหม่ที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัว เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่ปัจจุบันถือได้ว่าเป็นกลุ่มหลักที่เข้ามาในภูเก็ต ที่โรงแรมและผู้ทำธุรกิจการท่องเที่ยวต้องหาวิธีรับมือต่อไป
กุญแจสำคัญอีกดอกหนึ่งสำหรับเรื่องนี้ก็คือ การสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริหารรุ่นใหม่ในอนาคตให้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการนำข้อมูลไปใช้ โดยมีประโยชน์ของประชาชนและคนท้องถิ่นของไทยเป็นที่ตั้ง ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่มีการท่องเที่ยวเป็นพระเอกได้อีกครั้ง ด้วยการนำ ‘Power of Data’ ในที่สุด
ปลอดภัย และยั่งยืน ความท้าทายท่องเที่ยวไทยในวันพรุ่ง
สำหรับประเทศคู่แข่งในอาเซียนด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยได้แก่ เวียดนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งมีการวางแผนด้านโครงสร้างพื้นฐานแบบระยะยาว โดยเฉพาะเรื่องของการขนส่งมวลชนทั้งการเดินทางขนส่งรูปแบบรางและสนามบิน การพัฒนาขีดความสามารถด้วยนโยบาย และปัจจัยเรื่องราคาซึ่งมีผลสำคัญในการตัดสินใจ
ปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่อยู่ประเทศเขตอากาศอบอุ่นที่ต้องการหนีหนาวมาพึ่งความอบอุ่นจากชายหาดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมาตรการการกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องนั้น จะมีผลช่วยให้เกิดการเติบโตและกระจายตัวอย่างทั่วถึงไม่เฉพาะแค่ในจุดแลนด์มาร์กสำคัญๆ เท่านั้น
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความปลอดภัย และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เป็น 2 ประเด็นแข่งขันที่มีผลต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศไทย การวางแผน และบริหารจัดการเพื่อให้สอดคล้องกับหลัก Environmental, Social, and Governance (ESG) ถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง
Tourism Megatrends ที่จะมา Disrupt แนวคิดและรูปแบบการทำธุรกิจสำหรับภาคการท่องเที่ยวแบบเดิมนั้น ประกอบไปด้วย 5 เทรนด์หลักที่สำคัญ คือ
เพื่อการตอบโจทย์พฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไป ภาคอุตสาหกรรมที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จึงต้องปรับทัพกันใหม่ให้สอดรับกับ Megatrends ไม่ว่าจะเป็น การสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการเข้าถึงข้อมูล Big Data และปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้เจาะเข้าถึงความชอบของแต่ละบุคคล
รวมทั้ง การบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเสริมสร้างวิธีการและบุคลากรให้เกิดการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
การสร้างสรรค์นวัตกรรมการท่องเที่ยว ด้วยข้อมูล และเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิดนวัตกรรมที่สอดคล้อง และเหมาะสม ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และยังทำให้การท่องเที่ยวไทยสามารถแข่งขันในตลาดสากลได้อย่างมีประสิทธิภาพ