UNGCNT เข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนประจำปี ค.ศ. 2023 (SDGs Summit 2023) ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ชู 3 ประเด็นเร่งเดินหน้า SDGs ในอาเซียน เน้นยกระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำหรับยุคเศรษฐกิจ 5.0
นายศุภชัย เจียรวนนท์ นายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand) กล่าวถ้อยแถลงในงานเสวนาระดับสูงระหว่างการประชุม SDGs Summit 2023 ในหัวข้อ Fostering Partnership for Our Common Future: Enhancing Multi-Stakeholder Partnerships to Accelerate the SDGs in ASEAN ว่าสมาคมฯ รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของไทยและในภูมิภาคอาเซียน สมาคมฯ เห็นพ้องกับข้อสังเกตจากการประชุม SDGs Summit และเลขาธิการสหประชาชาติ ที่ต่างเรียกร้องว่า การบรรลุ SDGs ของไทยและประเทศอาเซียนอาจจะยังคืบหน้าไม่รวดเร็วพอ และเห็นด้วยกับข้อริเริ่มของสหประชาชาติที่สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนไปสู่ SDGs และ ASEAN Community Vision 2025
ในช่วงเวลา 8 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่สหประชาชาติ ได้รับรองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ โลกในวันนี้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและเผชิญความท้าทายต่อเนื่อง ทั้งการต่อสู้กับสภาพการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ถูกยกระดับขึ้นเป็นสีแดง (Code-Red Climate Change) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ การเปลี่ยนผ่านสู่โลกแห่งเทคโนโลยีดิจิทัล การแพร่ระบาดของโควิด-19 และสังคมสูงวัย
“จากยุคอุตสาหกรรม 4.0 เรากำลังเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจ. 5.0 ซึ่งเป็นยุคที่มนุษย์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) ผสมผสานกันอย่างใกล้ชิดกันที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทุกคนต่างมีความรับผิดชอบร่วมกันที่จะใช้ชีวิตและบริโภคอย่างยั่งยืน สมดุล” นายศุภชัยกล่าว
ธุรกิจเมื่อ 2 ปีก่อน เพื่อส่งเสริมการดูแลสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจไทยที่มีห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ไปทั่วภูมิภาคอาเซียน ความพยายามเหล่านี้นับเป็นส่วนสำคัญที่สนับสนุนให้ไทยได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมาย SDGs มากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้จากรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปี 2566 (Sustainable Development Report 2023) ของ SDGs Sustainable Development Solutions Network (SDSN)
นายศุภชัยฯ ยังได้ตั้งข้อสังเกตสำคัญ 3 ข้อ ที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียนสำหรับ
ยุคเศรษฐกิจสังคม 5.0 ได้แก่
ดังนั้น “เราจึงนิยามทรัพยากรมนุษย์สำหรับยุคใหม่ว่าเป็น Sustainable Intelligence-Based Human Capital กล่าวคือ คนที่มีทักษะจำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 ภายใต้ยุคเศรษฐกิจและสังคม 5.0 มี Mindset ที่ถูกต้องเพื่อใช้ AI อย่างชาญฉลาด ไม่กลายเป็นผู้ที่จะละเมิดการรายงานด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมขององค์กรเกินความเป็นจริง (Green Washers) สามารถเรียก คนกลุ่มนี้ว่า SI Human Capital” นายศุภชัยฯ กล่าว
ในฐานะนายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด นายศุภชัยฯ ได้ตอกย้ำความมุ่งมั่นร่วมผลักดันให้ประเทศไทยและอาเซียนบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มุ่งให้ประชาคมโลกเปลี่ยนในทางที่ดีขึ้น เมื่อทุกคนเปลี่ยนวิธีคิดและลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง