svasdssvasds

“ในนามของความมั่นคงภายใน : การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย”

“ในนามของความมั่นคงภายใน : การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย”

“ในนามของความมั่นคงภายใน : การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย” ในวันที่เสรีภาพทางวิชาการถูกคุกคาม สะท้อนการเมืองไทยที่กองทัพมีบทบาทนำพลเรือน

SHORT CUT

  • คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดงานเสวนา “ความมั่นคงภายใน : อำนาจของทหาร ภารกิจของประชาชน” เนื่องในโอกาสตีพิมพ์หนังสือ “ในนามของความมั่นคงภายใน : การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย”
  • งานเขียนที่บ่งบอกถึงการที่กองทัพเข้ามาแทรกแซงกิจการพลเรือนผ่าน กอ.รอมน.
  • สะท้อนภาวะที่ทหารยังคงนำพลเรือนอยู่

“ในนามของความมั่นคงภายใน : การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย” ในวันที่เสรีภาพทางวิชาการถูกคุกคาม สะท้อนการเมืองไทยที่กองทัพมีบทบาทนำพลเรือน

ที่อาคารเกษม อุทยานิน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดงานเสวนา “ความมั่นคงภายใน : อำนาจของทหาร ภารกิจของประชาชน” เนื่องในโอกาสตีพิมพ์หนังสือ “ในนามของความมั่นคงภายใน : การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย” โดยรองศาสตราจารย์พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วีรยุทธ กาญจน์ชูฉัตร อาจารย์เศรษฐศาสตร์การเมือง มหาวิทยาลัย National Graduate Institute for Policy Studies (GRIPS) ประเทศญี่ปุ่น ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ได้รับเชิญให้เป็นหนึ่งในวิทยากรร่วมแสดงความเห็นต่อหนังสือดังกล่าว

“ในนามของความมั่นคงภายใน : การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย”

กรพินธุ์ชี้ให้เห็นว่าหนังสือเล่มนี้ชี้ให้เห็นประเด็นเด่นๆ คือ

1.ทหารกับการแทรกซึมสังคม

ทหารไทยกับกลไกแทรกซึมสังคม โดยการสถาปนาอำนาจดังกล่าวเป็นอำนาจนอกเหนือจากการใช้กฎหมาย ไม่ใช่มีเพียงแต่อำนาจรัฐที่ใช้ความรุนแรง หรือการปราบปราม แต่มีอำนาจนำในการโน้มน้าวด้วย

การแทรกซึมของกองทัพเองมีการปรับตัวในยุคใหม่ๆ อาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วย

“ในนามของความมั่นคงภายใน : การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย”

กรพินธุ์ ชวนมองคำว่า “การแทรกซึม” เป็นภาษาที่กองทัพใช้ในยุคสงครามเย็นเป็นภาษาที่หมายถึงการที่คอมมิวนิสต์เข้ามาแทรกซึมและดึงมวลชนไป พูดง่ายๆ คือภาษาของฝ่ายตรงข้ามกองทัพ และคำศัพท์นี้ค่อยๆ เป็นคำศัพท์ของกองทัพที่ใช้กับกิจการด้านพลเรือน

 

2.พัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ฉบับกองทัพไทยที่ไม่เป็นสากล

กรพินธุ์ สะท้อนให้เห็นว่า หนังสือ “ในนามของความมั่นคงภายใน : การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย” ชี้ให้เห็นว่า การตีความด้านความมั่นคงของมนุษย์แบบกองทัพไทยเป็นสิ่งที่ผิดฝาผิดตัว

เพราะประเด็นดังกล่าวถูกผลักดันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 เป็นการสร้างความชอบธรรมให้กองทัพ แต่ไม่จัดสรรหรือกระจายความมั่นคงให้ทั่วถึง แต่เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบจารีตเดิมๆ

กรพินธุ์ ชี้ให้เห็นว่าในทางกลับกันนั้นสังคมที่พัฒนาแล้ว ต้องปลดแอกจากความเป็นจารีต ระบบอุปถัมภ์ และมีหน่วยงานรัฐที่เป็นมืออาชีพ

ถึงแม้กองทัพไทยจะหยิบความมั่นคงของมนุษย์ไปใช้สร้างความชอบธรรม ขยายอำนาจเข้าไปในสังคม แต่ความมั่นคงรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นหลังสงครามเย็นในรูปแบบ ปัญหาความยากจน สวัสดิการ ความเท่าเทียม เน้นกระจายอำนาจ เรากลับไม่เห็นเลย

กรพินธุ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ในโลกยุคใหม่รัฐต้องเล็กลง แต่ไทยยังเป็นเหมือนเดิม เพราะเราใช้กองทัพนำพลเรือน หลักการด้านความมั่นคงของมนุษย์ในโลกปัจจุบันคือ Freedom from fear และ Freedom from want สิทธิที่จะไม่ต้องกลัวที่จะแสดงออกหรือแสดงความคิดเห็นนี่คือความมั่นคงของมนุษย์ในโลกสากลที่ถูกต้อง

รัฐฝันเล็ก แต่งบบุคลากรบานปลาย

วีรยุทธ กาญจน์ชูฉัตร อาจารย์เศรษฐศาสตร์การเมือง มหาวิทยาลัย National Graduate Institute for Policy Studies (GRIPS) ประเทศญี่ปุ่น ได้รับเชิญให้เป็นหนึ่งในวิทยากรร่วมแสดงความเห็นต่อหนังสือดังกล่าว

“ในนามของความมั่นคงภายใน : การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย”

วีรยุทธ ชวนมองว่านโยบายด้านความมั่นคงของไทยเปลี่ยนไปเรื่อยๆ และหากอยากรู้ว่าการกระทำดังกล่าวคือเรื่องของอุดมการณ์หรือผลประโยชน์ให้ดูนโยบายว่าส่งผลต่อผลประโยชน์ของกองทัพหรือเปล่า และหากมองให้ชัดคือมองว่า ณ ตอนนี้เศรษฐกิจแย่แต่งบประมาณด้านกองทัพมากขึ้น อาจอธิบายได้ว่ามันคือผลประโยชน์หรืออุดมการณ์

การเมืองไทยไร้ระบบจริงหรือ?

วีรยุทธ ชวนตั้งข้อสังเกตว่า การเมืองไทยถูกนิยามว่าไม่มีระบบ ไม่มีสถาบัน แต่กองทัพไทยกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะมีการสืบทอดตำแหน่ง และอำนาจกันมาอย่างต่อเนื่องและสามารถปรับตัวได้ตลอดเวลา เห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงพันธมิตรทางการเมืองสะท้อนให้เห็นว่ากองทัพมีความยืดหยุ่นให้สามารถดำรงอยู่ได้
ระบบการเมืองไทยในอ่าง

วีรยุทธ ชี้ให้เห็นว่า ทหาร นักการเมือง และเทคโนแครต มีอะไรบางอย่างที่ทำให้อยู่ร่วมกันได้ คือ 1. เสถียรภาพเหนือการแข่งขัน 2. เชื่อในคนเหนือระบบ 3. เคยชินกับสภาวะย้อนแย้งที่เต็มไปหมด เช่นวิทยาศาสตร์สามารถอยู่ร่วมกับไสยศาสตร์ได้ นี่คือสิ่งที่กำลังเป็นอยู่

รัฐฝันเล็ก แต่งบบานปลาย

ปัญหาดังกล่าวที่ วีรยุทธ กล่าวมาล้วนมีผลมาถึงเรื่องงบประมาณที่งบประมาณบานปลายออกไปเรื่อยๆ เพราะหน่วยงานราชการไทยมักฝันเล็ก แต่โชว์ตัวเลขใหญ่ ทำงานซับซ้อนเหมือนกันหมด ทุกหน่วยงานอยากให้มีแขนขาเป็นของตนเอง

เห็นได้จากแต่ละกระทรวงมีการระดมพลอาสา ซึ่งในปัจจุบันมีกำลังพลในภาครัฐ 3.1 ล้านคน คิดเป็น 1:20 ต่อประชากรทั้งหมดทั่วประเทศ เรียกได้ว่ามีบุคลากรในภาครัฐที่สามารถดูแลประชาชนได้ทั่วถึง แต่สภาพความเป็นจริงนั้นไม่ใช่

ขณะที่ปัจจุบัน ทุกหน่วยงานอยากมีอาสาสมัครเป็นของตัวเอง เห็นได้จากการตั้ง อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ที่มีงานทับซ้อนกับ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

วีรยุทธ ชวนมองว่าต้องเปลี่ยนรัฐราชการไทยทั้งระบบ ต้องคิดภาพใหญ่พร้อมกันเพื่อจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ไม่งั้นงบประมาณจะบานปลายขึ้นเรื่อยๆ

กอ.รมน. คุกคามประชาชน แย่งงบพลเรือนทำภารกิจซ้ำซ้อนตรวจสอบไม่ได้

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ได้รับเชิญให้เป็นหนึ่งในวิทยากรร่วมแสดงความเห็นต่อหนังสือดังกล่าว

กอ.รมน. กับการแทรกแซงท้องถิ่น

ธนาธรเริ่มต้นด้วยการระบุถึงประสบการณ์การทำงานท้องถิ่นที่ผ่านมาของคณะก้าวหน้าที่เกี่ยวข้อง โดยกล่าวว่าเมื่อครั้งที่คณะก้าวหน้าทำนโยบายน้ำประปาดื่มได้ที่เทศบาลตำบลอาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด ได้สำเร็จ เพียงวันเดียวหลังการแถลงข่าว นายกเทศมนตรีก็ได้รับจดหมายจากนายอำเภอและ กอ.รมน. ซึ่งไม่ควรเกี่ยวอะไรกับน้ำประปาเลย มาขอตรวจสอบระบบน้ำประปา ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรู้สึกหวาดกลัวกังวล และนี่เป็นหนึ่งในข้อบ่งชี้ว่าตราบที่สังคมไทยยังไม่สามารถสร้างสังคมไทยให้เป็นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน ก็ยากจะทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าของประเทศไทยได้

“ในนามของความมั่นคงภายใน : การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย”

กอ.รมน. กับการแย่งงานพลเรือน

ธนาธรระบุว่าความพยายามของหนังสือเล่มนี้และผู้เขียน เป็นการนำเสนอรวบยอดทางความคิดอย่างเป็นระบบที่สุดในการศึกษา กอ.รมน. และกองทัพ ผ่านวิธีคิดเรื่องความมั่นคง ทอดผ่านระยะเวลาตั้งแต่ทศวรรษที่ 2500-2560 นำเอากรณีต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในงานวิชาการ หน้าหนังสือพิมพ์ บันทึกการประชุม มติ ครม. ซึ่งมีมากมายแต่ถูกเก็บอย่างกระจัดกระจาย มาร้อยรัดรวบยอดความคิด นำปรากฏการณ์ที่ดูผิวเผินไม่เกี่ยวข้องกันมาทำให้เห็นโครงการทางการเมืองของกองทัพ และทำให้ประชาชนรู้ทันกองทัพ

ธนาธร กล่าวต่อไปว่าหนังสือเล่มนี้นำปรากฏการณ์เหล่านี้มาเชื่อมโยงหารูปแบบแล้วร้อยรัดกัน เพื่ออธิบายว่าการที่กองทัพเข้ามามีบทบาทในกิจการพลเรือนที่ไม่ควรเป็นกิจการความมั่นคงเลย เช่น การอบรมเศรษฐกิจพอเพียง การแจกที่ดินกรมธนารักษ์ แก้ปัญหาลักลอบทิ้งของเสีย พัฒนาโครงการจัดหาแหล่งน้ำ จัดระเบียบคิวรถตู้ จัดระเบียบชายหาด ฯลฯ ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นเอกเทศ แต่เกิดจากบทบาทของกองทัพตลอด 60 ปีที่ผ่านมา ว่ามีการใช้กลไกอย่างละเอียดและแยบยลอย่างไรจนทำให้กิจการเหล่านี้กลายเป็นเรื่องปกติในสังคมไปได้

“จากประสบการณ์การทำงานทางการเมือง 6 ปีของพวกเรา ทำให้เรายืนยันได้ว่าสิ่งที่ผู้เขียนระบุไว้เป็นเรื่องจริง ว่าการที่กองทัพใช้เรื่องความมั่นคงมาผลักดันโครงการต่างๆ ในกิจการพลเรือน เป็นการแย่งชิงทรัพยากรไปจากหน่วยงานพลเรือนที่มีหน้าที่และความรู้ความเชี่ยวชาญในปัญหานั้นโดยตรง ประเด็นทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ถูกทำให้กลายเป็นปัญหาด้านความมั่นคงแบบทหารและแก้ไขด้วยกรอบและวิธีการแบบทหาร” ธนาธรกล่าว

กอ.รมน. แดนสนธยาที่ตรวจสอบไม่ได้

ธนาธร ยังได้ยกตัวอย่างโดยระบุว่าจากการได้มีบทบาทตรวจสอบการใช้งบประมาณภาครัฐ เราพบว่างบประมาณกำลังพลภายใต้สังกัด กอ.รมน. มีปัญหาที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ แม้แต่ตัวแทนจากกรมบัญชีกลางเองยังต้องชี้แจงกับกรรมาธิการงบประมาณ ว่ากรมบัญชีกลางเองก็ไม่รู้ว่างบประมาณส่วนนี้ใช้จ่ายกันอย่างไร ทั้งที่กรมบัญชีกลางสามารถตรวจสอบการใช้งบประมาณได้ทุกรายการของทุกหน่วยงาน

“ในนามของความมั่นคงภายใน : การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย”

ธนาธร กล่าวต่อไป ว่าใน 15 ปีที่ผ่านมางบประมาณในภาพรวมของ กอ.รมน. แม้จะลดลงแต่ไปโผล่ที่งบประมาณกำลังพลที่เพิ่มขึ้นถึง 160 % และงบประมาณดำเนินการที่เพิ่มขึ้นถึง 176% ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ขณะที่การเพิ่มขึ้นของงบประมาณรายจ่ายประจำปีและจีดีพีเติบโตในอัตราที่น้อยกว่า นี่คือเรื่องที่เกี่ยวพันกับประชาชน นี่คือการเบียดเบียนทรัพยากรของประเทศ แทนที่จะได้ใช้งบประมาณต่างๆ ไปในสิ่งที่เกิดประโยชน์กับประชาชนมากกว่า

อีกสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่สุด คือ 22 ปีที่ผ่านมามีการใช้งบประมาณไปถึง 5.64 แสนล้านในการแก้ปัญหาชายแดนใต้ภายใต้การนำของ กอ.รมน. การใช้งบประมาณไปมากขนาดนี้แต่ยังแก้ปัญหาไม่ได้ และน้อยคนมากที่จะกล้าตั้งคำถาม เป็นสิ่งที่บ่งบอกให้เห็นแล้วว่าการให้กองทัพเป็นตัวนำไม่ใช่ทางออกในการแก้ปัญหา และทหารควรจะถอยออกไปแล้วให้พลเรือนกลับมานำการแก้ปัญหาได้แล้ว

เส้นทางที่ไม่ง่ายในการปฏิรูป กอ.รมน.

ธนาธร กล่าวต่อไป ว่าหนังสือเล่มนี้ยังกล่าวไว้ตอนหนึ่งถึงเมื่อครั้งอดีตนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน แถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา กลับไม่ปรากฏนโยบายยกเลิกการเกณฑ์ทหารและการปฏิรูปกองทัพ จนเป็นที่น่าเสียดายที่รัฐบาลกำลังเดินซ้ำรอยรัฐบาลที่ผ่านๆ มาในการมอบภารกิจพลเรือนให้กับกองทัพใช้ขยายอำนาจของตนเอง

ซึ่งจากประสบการณ์การทำงานของเราที่ผ่านมาก็เห็นเป็นเช่นนั้น ถ้าย้อนเวลากลับไปในช่วงที่มีความพยายามจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกล มีการลงนามข้อตกลงฉบับหนึ่งเกี่ยวกับวาระที่จะทำร่วมกันในการจัดตั้งรัฐบาล และอีกฉบับหนึ่งที่ไม่เกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลแต่เกี่ยวกับตำแหน่งประธานสภา ภายใต้เงื่อนไขว่าพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลจะยกมือสนับสนุนกฎหมายสามฉบับที่เกี่ยวกับการปฏิรูปกองทัพ คือร่างแก้ไขกฎอัยการศึก พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม และยกเลิก กอ.รมน.

“ในนามของความมั่นคงภายใน : การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย”

อย่างไรก็ตามเมื่อมีการเสนอกฎหมายยกเลิก กอ.รมน. เข้าไป ซึ่งต้องให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้กลั่นกรองเนื่องจากเกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งก็เป็นเรื่องสมเหตุสมผลเพื่อไม่ให้การออกกฎหมายมาผูกพันรัฐบาลจนประเทศมีวิกฤติด้านการคลัง แต่อดีตนายกรัฐมนตรีเศรษฐากลับปัดตกไป ซึ่งเป็นการกลับหัวกลับหางวัตถุประสงค์ของการให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจกลั่นกรอง เพราะการยกเลิก กอ.รมน. ไม่ได้เพิ่มงบประมาณ แต่เป็นการลดงบประมาณ

ทางออกในการแก้ไข

ธนาธร ยังกล่าวต่อไปว่าหนังสือเล่มนี้ชี้ให้เห็นว่าปรากฏการณ์ 3 อย่างในสังคมไทย คือ 1. การไม่มีนิติรัฐนิติธรรม 2. การไม่มีการแต่งตั้งโยกย้ายด้วยระบบผลงาน (meritocracy) และ 3. ปัญหาการทุจริตในหน่วยงานราชการ ไม่ใช่ความล้มเหลวของระบบปัจจุบัน แต่เป็นสิ่งที่ระบบปัจจุบันจำเป็นต้องมีเพื่อทำให้มันดำรงอยู่ต่อไปได้ คือระบบที่มีขึ้นเพื่อการสร้างเสถียรภาพให้ระบบเศรษฐกิจและการเมืองแบบมีลำดับชั้นแบบจารีตของไทย ซึ่งการแก้ปัญหาพวกนี้ภายใต้ระบบแบบปัจจุบันเป็นไปไม่ได้ ถ้าไม่เริ่มจากการแก้ปัญหาในเชิงระบบ และแน่นอนที่สุดการปฏิรูปกองทัพเป็นส่วนสำคัญหนึ่งในการแก้ปัญหานี้

ธนาธร ยังชี้ให้เห็นว่า กอ.รมน. แทรกซึมเข้าไปทุกพื้นที่ตั้งแต่ระดับจังหวัดจนถึงระดับหมู่บ้าน เป็นวิธีการของชนชั้นนำจารีตที่ต้องการหาคำอธิบายและเงื่อนไข เพื่อรองรับอำนาจของกองทัพ

เสรีภาพทางวิชาการที่กำลังตกต่ำ

รองศาสตราจารย์พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าของผลงานชวนมองว่า

ท่าทีของ กอ.รมน. ที่มีต่อหนังสือของเธอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ กอ.รมน. ระบุว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ได้ใช้เอกสารทางราชการเป็นแหล่งอ้างอิง เธอชี้แจงว่ามีการอ้างอิงเอกสารทางราชการจำนวนมากในหนังสือ โดยปรากฏในบรรณานุกรมยาวถึง 28 หน้า ซึ่งประกอบไปด้วยเอกสารจากกองทัพ หน่วยงานราชการ และข่าวต่างๆ รวมแล้วมากกว่า 100 ชิ้น

“ในนามของความมั่นคงภายใน : การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย”

ยันใช้หลักฐานจำนวนมาก

รศ.ดร.พวงทอง ยืนยันว่าหนังสือของเธออ้างอิงเอกสารราชการจำนวนมาก โดยชี้ไปที่บรรณานุกรมของหนังสือที่มีความยาวถึง 28 หน้า ประกอบด้วยเอกสารจากกองทัพ หน่วยงานราชการ และข่าวต่างๆ รวมแล้วมากกว่า 100 ชิ้น

เธอตั้งข้อสังเกตว่า การที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กล่าวหาว่าเธอไม่ได้ใช้เอกสารทางราชการเป็นแหล่งอ้างอิงนั้น ไม่เป็นความจริง และเป็นการโต้แย้งที่ไม่เป็นธรรม

เรียกร้องเปิดเอกสารเป็นสาธารณะ

ยิ่งไปกว่านั้น เธอยังเรียกร้องให้ กอ.รมน. เปิดเผยเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นในหนังสือ หากไม่ใช่ความลับ เพื่อให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างครบถ้วน

ข้อสังเกตของ รศ.ดร.พวงทอง แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นกลางในการวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐ

เธอมองว่าการที่ กอ.รมน. ออกมาตอบโต้หนังสือของเธออย่างรุนแรง แสดงถึงความหวาดกลัวของกองทัพที่มีต่อการวิพากษ์วิจารณ์จากงานวิชาการ

กองทัพคุกคามงานวิชาการ

รศ.ดร.พวงทอง มองว่า การที่กองทัพมักใช้การฟ้องร้องมาจัดการกับงานวิชาการที่วิพากษ์วิจารณ์กองทัพนั้น ส่งผลกระทบต่อเสรีภาพทางวิชาการอย่างมาก โดยเธอแสดงความกังวลว่า นักวิชาการคนอื่นๆ อาจไม่กล้าที่จะวิจัยเกี่ยวกับกองทัพ เพราะกลัวว่าจะถูกฟ้องร้อง

ตัวอย่างที่ รศ.ดร.พวงทอง ยกขึ้นมาประกอบ ได้แก่ กรณีที่ สุชาติ สวัสดิ์ศรี อดีตศิลปินแห่งชาติ ถูกฟ้องในข้อหา ม.116 และกรณีเพื่อนนักวิชาการของเธอที่ทำวิจัยเกี่ยวกับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ถูกฟ้องร้องเช่นกัน ซึ่งสร้างความหวาดกลัวและเป็นอุปสรรคต่อการทำงานวิชาการ

นอกจากนี้ การที่กองทัพแสดงท่าทีคัดค้านเนื้อหาในหนังสือของเธออย่างรุนแรง ทั้งที่หนังสือของเธอเป็นงานวิชาการที่ขายได้ไม่มากนัก ก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงความพยายามในการปิดกั้นการวิพากษ์วิจารณ์กองทัพ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related