svasdssvasds

"ก้าวไกล" เสนอ กองทัพ ตัดงบซ้ำซ้อน - ผลิตอาวุธของตัวเอง

"ก้าวไกล" เสนอ กองทัพ ตัดงบซ้ำซ้อน - ผลิตอาวุธของตัวเอง

"ก้าวไกล" เสนอ กองทัพ ตัดงบซ้ำซ้อน - ผลิตอาวุธของตัวเอง - เพิ่มประโยชน์จากดาวเทียม นำงบ 7,600 ล้านบาทไปใช้อย่างอื่น

SHORT CUT

  • "ก้าวไกล" เสนอ กองทัพ ตัดงบซ้ำซ้อน - ผลิตอาวุธของตัวเอง
  • นำงบ 7,600 ล้านบาทไปใช้อย่างอื่น
  • ชี้ต้องจัดสรรให้มียุทธศาสตร์ มีตัวชี้วัดประสิทธิภาพ และมีแผนงานระยะยาว การใช้เงินถึงจะทำให้เกิดผลลัพธ์มีประสิทธิภาพสูงสุด

"ก้าวไกล" เสนอ กองทัพ ตัดงบซ้ำซ้อน - ผลิตอาวุธของตัวเอง - เพิ่มประโยชน์จากดาวเทียม นำงบ 7,600 ล้านบาทไปใช้อย่างอื่น

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่สอง สมัยวิสามัญเป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568
 

นายชยพล สท้อนดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า งบประมาณของประเทศ จะจัดสรรให้ดีก็ต้องจัดสรรให้มียุทธศาสตร์ มีตัวชี้วัดประสิทธิภาพ และมีแผนงานระยะยาว การใช้เงินถึงจะทำให้เกิดผลลัพธ์มีประสิทธิภาพสูงสุด

ยุทธศาสตร์จัดสรรงบประมาณ หากเรามาดูกันที่เป้าหมาย ก็จะเห็นว่าตอนนี้รัฐบาลตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความสุข มีความมั่นคง มีความพร้อมป้องกันประเทศ และได้รับการชื่นชมจากประชาคมโลก ส่วนตัวชี้วัดก็จะคล้าย ๆ กัน แต่สิ่งที่เสนอให้เราต้องมีเพิ่ม คือการวางแผนสำหรับอนาคตเพิ่มเข้าไปด้วย เพราะถ้าดูจาก
ยุทธศาสตร์ในตอนนี้ เป็นการวางแผนที่ไม่ได้พาประเทศไทยขยับไปทางไหนเลย การพัฒนาประเทศในด้านความมั่นคง หลายคนอาจนึกภาพเป็นการมีอาวุธที่เข้มแข็ง มีกองทัพที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก แต่มันก็ไม่ใช่แบบนั้นเสมอไป เพราะตอนจะเริ่มขัดแย้งกับใคร เป้าหมายอย่างแรก ๆ เลยตาม

ยุทธวิธี คือการตัดเสบียงกำลังบำรุง ยังไม่ต้องเริ่มยกพลใส่กัน ไม่ต้องโจมตีกันทางทหาร เริ่มต้นด้วยการตัดความสัมพันธ์ การค้าขาย และสนับสนุนด้านต่าง ๆ เพื่อบีบให้การดำเนินกิจการของประเทศต้องสะดุด

ด้านของความมั่นคงประเทศไทยเราพึ่งพายุทโธปกรณ์จากต่างประเทศค่อนข้างเยอะ และด้วยความที่เป็นความสัมพันธ์ลักษณะ ซื้อมาใช้ไป ทำให้เรายังจำเป็นต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากประเทศต้นทางเทคโนโลยีค่อนข้างมาก ทั้งอะไหล่ เรื่องของการซ่อม หรือเรื่องของการพัฒนาอัพเกรดอาวุธ หากเราถูกตัดความสัมพันธ์ทางด้านนี้ ก็จะทำให้กองทัพเราอ่อนแรงลงเรื่อย ๆ และอาจเป็นเป้าหมายในการโจมตีรูปแบบอื่น ๆ ต่อไปได้อนาคต

อนาคตใหม่ของกลาโหมไทย ที่สามารถ Ignite Thailand ได้ เริ่มต้นกันที่เป้าหมายยุทธศาสตร์จากของเดิม ที่เราไม่ได้ตั้งเป้าหมายในการพัฒนา
ใด ๆ เป็นการคงรูปไว้ให้ไม่ถดถอยเป็นพอ ขอเสนอให้เรามีความกล้าหาญ พากองทัพเดินหน้า

ตั้งเป้าหมายการพัฒนาในด้านที่กองทัพไทยยังขาดอยู่ โดยใช้กลไกของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เพราะฉะนั้น เราควรเริ่มต้น ด้วยการตั้งเป้าหมายในการพัฒนาอาวุธสัญชาติไทยให้เกิดขึ้นจริง และตั้งเป้าหมายในการสนับสนุนยกระดับคุณภาพอาวุธสัญชาติไทย โดยมีตัวชี้วัด คือ อัตราการก้าวหน้าของสัดส่วนการบรรจุอาวุธสัญชาติไทยเข้าประจำการในกองทัพ จนเป้าสุดท้ายคือการส่งออกอาวุธให้กับประเทศอื่น ๆ ต่อได้ในอนาคต

แผนที่ภัยความมั่นคงรอบ ๆ ไทย ตอนนี้เป็นจังหวะเวลาที่ดีในการเริ่มเอางบประมาณ เปลี่ยนจากการซื้อมา ใช้ไป เป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ พร้อมยกตัวอย่างสถานการณ์ความขัดแย้งในบริเวณชายแดนไทย - เมียนมา หรือเรื่องข้อพิพาทในทะเลใต้ ที่มีการชิงผลประโยชน์เรื่องทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลในบริเวณนั้น โดยจากเหตุการณ์ 2 อย่างที่ได้นำเสนอ จะเห็นได้ว่า ไม่มีนโยบายที่ไทยเป็นคู่ขัดแย้งโดยตรง และไม่
มีอันไหนที่ประเทศไทย เสี่ยงต้องได้รับผลกระทบโดยตรงเลย หากดูสถานการณ์ความสัมพันธ์ของประเทศไทย กับประเทศในภูมิภาคอื่นประกอบเพิ่ม ความสัมพันธ์ก็ยังคงดีมาสม่ำเสมอ ยิ่งเชื่อได้ว่า ไม่น่ามีสถานการณ์ให้ประเทศไทยต้องขัดแย้งกับใคร จนถึงขั้นต้องเกิดเหตุประทะกันด้วยกำลังทหาร รวมถึงช่วงระยะเวลา 5 ปีหลังจากนี้ ไทยก็ไม่ได้มีวี่แววว่าจะต้องกระทบอะไรกับใครเลย

“ในช่วงจังหวะเวลานี้แหละ ที่ประเทศไทย ไม่จำเป็นต้องสะสมอาวุธ ตั้งรั้วที่สูงมาก เสมือนว่าเรากำลังเผชิญภัยคุกคามตลอดเวลา เราควรเริ่มใช้เวลาตรงส่วนนี้ เริ่มต้นพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้มีสมรรถภาพจริง ด้วยการจัดงบ ที่เน้นการลงทุน เน้นการพัฒนาร่วมกันกับเอกชน เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ที่จะหมุนเวียนกลับมา และเน้นเรื่องการวิจัยพัฒนาอาวุธ เพื่ออุดช่องโหวที่เรามี ซึ่งก็คือการลดการพึ่งพายุทโธปกรณ์จากต่างประเทศ และสร้างองค์ความรู้ที่เราสามารถต่อยอดต่อได้ไม่สิ้นสุดในอนาคต” นายชยพล กล่าว

ถ้าเราดูสัดส่วนการจัดสรรงบประมาณในปิ้งบ 68 นี้ งบที่ถูกใช้ไปกับกรซื้อหรือซ่อมยุทโธปกรณ์ของทุกหน่วยงานรวมกันมีสัดส่วนอยู่ที่ 11% ส่วนงบที่ใช้กับงานวิจัย มีเพียง 0.37% เท่านั้นที่ถูกใช้ไปเพื่อการวิจัยและพัฒนา ต่างจากประเทศอื่นที่ใช้งบประมาณจำนวนมากในการพัฒนา ดังนั้น การตั้งเป้าหมายในการจัดสรรงบประมาณถึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และที่สำคัญเลยคือต้องมีวิสัยทัศน์ ตั้งเป้าหมายที่จะพาประเทศขยับไปข้างหน้าอีกด้วย

สถานการณ์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของประเทศไทย ขอแยกออกเป็น 3 ประเภท คือ อุตสาหกรรมสำหรับอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

อุตสาหกรรมแห่งอดีต ซึ่งก็คือสิ่งที่ไทยสามารถทำเองได้ ผลิตเองได้ เป็นเทคโนโลยีที่มีมานานแล้ว เช่น การผลิตยาของกองทัพซึ่งเราสามารถทำได้และสามารถพัฒนาต่อยอดให้ขยายไปได้อีก แต่ปัจจุบัน กลับไม่ทำกำไรให้กับประเทศจึงต้องของบงบประมาณเพิ่มเติม ไม่สามารถสร้างผลกำไรให้เลี้ยงตัวเองได้อย่างยั่งยืนแล้ว ยังเสียโอกาสในการสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับอุตสาหกรรมด้านนั้น ๆ ด้วย

อุตสาหกรรมสำหรับปัจจุบัน เรื่องการพัฒนาที่แม้ว่าเราจะเข้าใจว่าประเทศไทยต้องการปืนในลักษณะไหนและมีการออกแบบดีไซน์ให้พร้อมใช้งานตั้งแต่ปี 2564 แต่หลังจากนั้นก็ไม่ได้มีการต่อยอดอะไรอีก ทำให้จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้มีการบรรจุเข้าประจำการภายในกองทัพ ทั้งที่เรามีเอกชนคอยช่วยสนับสนุนในเรื่องนี้

อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ซึ่งก็คือสิ่งที่ไทยยังไม่มี เป็นเทคโนโลยีใหม่ ไทยยังไม่สามารถทำเองได้  ตอนที่ยังมีเพียงไม่กี่ประเทศในโลกเท่านั้นที่เป็นผู้นำ ส่วนประเทศในภูมิภาคของเรายังเพิ่งเริ่มตั้งท่า ประเทศไทยเราก็จะไม่ตกขบวนรถไฟแห่งการแข่งขันในด้านนี้ ซึ่งก็คือเรื่องของความมั่นคงด้านอวกาศ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ และอาจจะยาก

สิ่งที่จะเป็นตัวตัดสินสำคัญ คือระยะที่ไกลกว่าที่ตามองเห็น ซึ่งตัวแปรสำคัญของสิ่งนี้คือการตรวจจับเป้าหมายที่เร็วกว่า และไกลกว่าข้าศึก เพราะฉะนั้น การหาข่าว การสอดแนม และการหาเป้าหมายระยะไกล จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และสิ่งเหล่านี้จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ เครือข่ายดาวเทียม

ประเทศไทย เรายังไม่มีระบบการปกป้องเครือข่ายดาวเทียมของเราเลย สิ่งที่เรามีอยู่ตอนนี้ คือความร่วมมือระหว่างเรากับประเทศพันธมิตรในการช่วยกันแจ้งเตือน ว่ามีดาวเทียมดวงไหนของใครเข้าใกล้เครือข่ายดาวเทียมของเราบ้าง เพราะชาติพันธมิตรเรามีเครือข่ายในการติดตาความเคลื่อนไหวของดาวเทียมทุกดวงทั่วโลก ก็จะพยายามช่วยเราสอดส่องอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้เป็นการติดตามใกล้ชิดขนาดนั้น เป็นเพียงการแจ้งเตือน 

สิ่งที่เราต้องระวังอย่างมากเลยคือเรื่องของขยะอวกาศ หรือก็คือดาวเทียมปลดประจำการแล้ว แต่ยังโคจรอย่างไม่มีการควบคุมต่อ ซึ่งบางดวงก็ได้มีการชนกับดาวเทียมปลดประจำการดวงอื่น หรือชนกับชิ้นส่วนจรวดที่ถูกปลดออกตามขั้นตอนการยิงจรวดสู่นอกโลก ทำให้เกิดเศษขยะโคจรรอบโลกอย่างต่อเนื่อง และหากมีการชนกับดาวเทียมของไทยโดยไม่สามารถป้องกันได้ ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่เราต้องเสียสมบัติ และยังส่งต่อระบบเศรษฐกิจด้วย ยืนยันว่า ประเทศไทยเรามีทรัพยากรที่สามารถดึงดูดให้ต่างชาติเข้ามาสนใจประเทศไทยในการเป็นฐานด้านอวกาศ ซึ่งก็คือเส้นศูนย์สูตร เพราะจุดที่หมาะสมต่อการเป็นฐานปล่อยจรวดได้ คือขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้ และตลอดแนวเส้นศูนย์สูตร เพราะพื้นที่ที่ใช้พลังงานในการส่งดาวเทียมขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศน้อยกว่าจุดอื่น ๆ 

จากทั้งหมดนี้ เราสามารถนำความต้องการในการซื้อของกองทัพ หรือก็คือ งบซื้อซ่อม หันมาสร้างเป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้ เพียงแต่เราปรับนโยบายการบริหาร และการใช้จ่ายงบประมาณกันใหม่ ตรงส่วนไหนที่สามารถยก
ให้เอกชนไทยทำแทนได้ ก็ควรต้องยกไปเพื่อให้เอกชนสามารถมีส่วนร่วมในการแข่งขัน และเติบโต จากงบประมาณของกระทรวงกลาโหม และในส่วนที่เอกชนไทยสามารถทำได้แล้ว 

ในด้านอุตสาหกรรมแห่งอนาคต อาจจะต้องเริ่มจากการตั้งโครงสร้างหน่วยงานให้ชัดเจนก่อน พ.ร.บ.กิจการอวกาศ ตอนนี้ก็ยังไม่ชัดเจน ทำให้เรามีหน่วยงานที่ดูแลด้านอวกาศ แต่ยังแยกกัน
ทำงานอยู่ จึงเป็นโจทย์ที่รัฐบาลต้องแก้ไขโครงสร้างให้ชัดเจน เพื่อให้มั่นใจว่าเม็ดเงินที่เราใส่ลงไปนั้น จะสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เป็นอุตสาหกรรมแห่งอวกาศต่อไปได้ในอนาคต

ตนเองขอเน้นกว่าประเทศไทยในปัจจุบันมีความพร้อมหลายด้านแล้ว ไม่ต้องใช้งบประมาณเพิ่มเลย เพียงแค่ปรับนโยบาย และเป้าหมายการจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสม

ส่วนงบประมาณ เราเสนอให้หนึ่งก้อนใหญ่ที่เราสามารถกระชับขึ้นได้ กับงบของกองบัญชาการกองทัพไทย ซึ่งหน่วยงานนี้ มีงบประมาณอยู่ที่ราว 15,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินด้านบุคลากร 7,500 ล้าน และด้านอื่นอีกราว 7,600 ล้าน หน่วยงานนี้มีภารกิจ และรูปแบบการดำเนินงานที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกับสำนักปลัดกระทรวกลาโหม อาจจะ
แตกต่างในรายละอียดปลีกย่อยบ้าง แต่ไม่ได้มากจนถึงขั้นต้องตั้งเป็นหน่วยงานแยกที่รับงบประมาณในระดับนี้ จึงอยากเสนอให้เราคงไว้เพียงงบประมาณด้านบุคลากร ปรับโครงสร้างใหม่ นำภารกิจที่มีของกองบัญชาการกองทัพไทยไปร่วมกับหน่วยอื่น

งบประมาณในส่วนนี้ คือเรือฟริเกตของกองทัพเรือที่ถูกดีตกไปเมื่อครั้งพิจารณางบประมาณบี 67 เป็นโครงการที่จะนำเรือขนาดใหญ่มาต่อภายในประเทศ ใช้งบประมาณ 1,700 ล้านบาทใน
ปีแรก สามารถใช้เป็นฐานเหยียบในการเริ่มพัฒนาอุตสหากรรมต่อเรือภายในประเทศได้ สร้างงานสร้างอาชีพ และเศรษฐกิจหมุนเวียนมหาศาล ปี 68 นี้ก็ไม่ได้รับการบรรจุเข้ามา ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายยิ่ง ถ้าเราเอาเงินก้อนใหญ่ที่กระชับได้จากกองบัญชาการกองทัพไทยมาลงทุนด้านนี้ เรายังมีงบประมาณเหลือให้ลงทุนด้านอื่นอีก

“ผมเพียงอยากขอให้ทุกท่านกล้าที่จะฝัน กล้าที่จะมองเห็นความเป็นไปได้ เพราะที่ผ่านมา ประเทศไทยเราเคยมีสิทธิ์จะขึ้นรถไฟขบวนแรกกับหลายต่อหลายอุตสาหกรรม จะเป็นเรื่อง ข้าว การเกษตร ยานยนต์ อุตสาหกรรมหนัก สิ่งทอ หรืออื่นๆ แต่เราก็ค่อยๆถอยร่นลงมา จากการเป็นผู้นำ กลายเป็นต้องเล่นเกมของผู้ตามแทน” นายชยพล กล่าว

นายชยพล กล่าวว่า ตนเองเข้าใจว่าทั้งหมดที่ได้เสนอมา มันไม่ได้ง่ายเลย ไม่ใช่ว่าการอัดเงินเข้าไปเท่านั้นก็จะเกิดอุตสาหกรรมขึ้นได้ หรือฉีดเงินเข้าการวิจัยสุดท้ายก็อาจพบกับทางตัน แต่ขั้นตอนวิธีการที่สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์มีอยู่หลายทาง เราจึงควรเริ่ม ด้วยก้าวแรก อย่างมีวิสัยทัศน์ สู่ขบวนรถไฟแห่งการแข่งขันระดับภูมิภาค

การจัดสรรงบประมาณ ที่ต้องตั้งเป้าในการพัฒนาอุตสาหกรรมด้วย ไม่ใช่เพียงรักษาสภาพไว้ตามเดิม แล้วหลังจากนั้น เราถึงจะได้เห็นความพยายามในการพัฒนาอุตสาหกรรมจากภายใน ให้ประเทศไทยเข้มแข็งด้วยแรงของตัวอง และพัฒนาเศษฐกิจของประเทศไปด้วยในตัว จนเป้าสุดท้ายที่เราควรทำได้ คือการมีบทบาทเป็นหนึ่งใน Supply chain ของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในโลก และนี่แหละ คือบทบาทการพัฒนาประเทศ และพัฒนาเศรษฐกิจ ที่กองทัพสามารถทำได้ ด้วยงบจากกระทรวงกลาโหมเอง เพียงแต่เราต้องกล้าที่จะฝัน กล้าที่จะมองเห็นความเป็นไปได้ แล้วใช้ไอเดียตรงนี้ เริ่มต้นจุดประกายความเปลี่ยนแปลงให้กับประเทศไทย เพื่ออนาคตใหม่ของกลาโหมไทย ที่จะนำไปสู่การ Ignite Thailand แท้จริง

related