ชวนย้อนดู 4 วิกฤตเศรษฐกิจไทย ที่ผ่านมา สาหัสแค่ไหน ? ทั้ง วิกฤตสงครามอ่าวเปอร์เซีย วิกฤตต้มยำกุ้ง วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ (หรือวิกฤตซับไพรม์) และสุดท้ายวิกฤตในช่วงโควิด-19
ประเทศไทย เคยผ่านมรสุมพายุเศรษฐกิจมาหลายต่อหลายครั้ง ผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมากี่ครั้งก็ลุก ก็ฟื้นมาได้ แต่จะลุกเร็วหรือลุกช้า แต่ละครั้งนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของฝ่ายบริหารประเทศ
ทุกครั้งที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ละครั้งก็จะมี "สาเหตุ" และ "ทางออก" วิธีรับมือ ที่แตกต่างกันไป ซึ่งการกลับไปย้อนศึกษา วิกฤตเศรษฐกิจ แต่ละครั้ง เราย่อมได้ประโยชน์ จากการ "ถอดบทเรียน" จากปัญหาในแต่ละครั้ง
เกิดขึ้นใน ปี 2533 หรือในช่วงปี 1990 โดยถือว่า เป็นเหตุการณ์สำคัญของโลกยุคใหม่ โดย ช่วงเวลานั้น เป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างอิรักและคูเวต โดย ‘ซัดดัม ฮุดเซน’ ผู้นำอิรักออกมากล่าวหาว่าคูเวตแอบขโมยน้ำมันของอิรักมาขายจำนวนมาก จึงพยายามเจรจาให้คูเวตแบ่งดินแดนเพื่อเป็นชดใช้ แต่คูเวตก็ไม่ยอม อิรักจึงใช้กำลังคนกว่า 100,000 นาย บุกเข้าประเทศคูเวตในวันที่ 2 สิงหาคม 2533 เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามอ่าวเปอร์เซีย ทำให้ราคาน้ำมันมีราคาพุ่งขึ้นไปแตะ 140 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อน้ำมันซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด และเป็นที่ต้องการ ถีบตัวสูงขึ้น มันย่อมกระทบชิ่งต่อเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สหประชาชาติ หรือ UN ต้องออกมาตรการคว่ำบาตรมากมาย สุดท้ายสหรัฐอเมริกาและอีก 28 ประเทศก็ร่วมกันใช้ยุทธวิธีทางทหารเข้าจัดการอิรักในช่วงมกราคม 2534 กระทั่ง 27 กุมภาพันธ์ 2534 กองกำลังผสมก็สามารถประกาศอิสรภาพให้คูเวตได้
ผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรงคือราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและตลาดหุ้นร่วงอย่างรวดเร็ว ทั้งที่พึ่งทำสถิติใหม่โดยขึ้นไปแตะ 1,129 จุด ในวันที่ 2 สิงหาคม 2533 แต่สงครามอ่าวเปอร์เซียทำให้การลงทุนของไทยลดลงมาต่ำสุดอยู่ที่ 544 จุด ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2533 (กลายเป็นอีกวิกฤตที่มีความรุนแรงไม่แพ้ Black Monday ที่เกิดขึ้นเมื่อสามปีก่อนหน้านั้น ดัชนีหุ้นไทยหายไปครึ่งหนึ่งในเวลาไม่นาน)
และต้องใช้เวลากว่า 3 ปี เพื่อทำให้ดัชนีกลับไปแตะที่ 1,129 จุด อีกครั้งในวันที่ 12 ตุลาคม 2536 หรือจะเรียกว่า วิกฤตสงครามอ่าวเปอร์เซีย สงครามที่ทำให้ดัชนีหุ้นไทยหายไปครึ่งหนึ่ง ก็ว่าได้
ปี 2540-2545
จุดเริ่มต้นมาจากวิกฤตการเงิน (Financial Crisis) ของไทย ในช่วงที่เป็นวิกฤตต้มยำกุ้ง และขยายผลกระทบจนนำไปสู่การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในหลายประเทศ วิกฤตต้มยำกุ้ง นั้นเกิดจากการใช้จ่ายเกินตัว การลงทุนด้วยเงินกู้ ตลอดจนการหวังเก็งกำไรจากสินทรัพย์ต่าง ๆ จนทำให้เกิดช่องโหว่ทางการเงินมากมาย และกลายเป็นฟองสบู่ใน ซึ่งวิกฤตต้มยำกุ้งใช้เวลาเกือบ 5 ปี กว่าที่มูลค่าทางเศรษฐกิจจะฟื้นตัวกลับมาเทียบเท่าก่อนการเกิดวิกฤต
ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงต้องนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาซื้อเงินบาทเพื่อพยุงค่าเงิน แต่เมื่อทุนสำรองระหว่างประเทศเริ่มเหลือน้อยลงเรื่อยๆ สุดท้ายธนาคารแห่งประเทศไทยจึงตัดสินใจปล่อยค่าเงินบาทลอยตัวจากระดับที่ 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเงินบาทนั้นเคยเพิ่มไปถึงระดับ 56 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
คนที่กู้เงินจากต่างประเทศจำนวนมากต้องล้มละลาย สถาบันการเงินหลายแห่งปิดกิจการ คนไทยจำนวนมากต้องตกงาน และวิกฤตนี้ยังกระจายไปอีกหลายประเทศในเอเชีย ในตอนนั้น GDP ของประเทศไทยลดลงติดต่อกัน 4 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3/1997 - ไตรมาสที่ 2/1998
เงินเฟ้อ 5-8% ส่งผลให้ต้นทุนประกอบการสูง กิจการล้ม
ปี 2550-2551
สำหรับ วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ นั่น หากจะปัดหมุดในประวัติศาสตร์ ก็คือวันที่ 15 กันยายน 2551 ตอนนั้นถือว่า เป็น วิกฤตการเงินทั่วโลก หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์’ หรือ ‘วิกฤตซับไพรม์’
จุดเริ่มต้นมาจาก เลห์แมน บราเธอร์ส สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ซึ่งประกาศล้มละลายในวันนั้น และส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลก วิกฤตครั้งนั้นถือว่าเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1
นักวิเคราะห์ต่างชาติมองว่า แม้เศรษฐกิจโลกจะสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เกิดวิกฤตแบบเดียวกับในปี 2008 แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงอยู่มากมายในระบบเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสงครามการค้า ซึ่งอาจเป็นชนวนให้เกิดวิกฤตรอบใหม่
สิ่งที่เกิดขึ้นในไทย หุ้นตก เงินบาทอ่อนค่า เงินทุนต่างชาติไหลออก
ภาคการเงิน ในช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงินเพียงเล็กน้อย
การส่งออก โดยส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกอันดับต้น ๆ ของสินค้าไทย
ตลาดทุน เกิดปรับตัวลดลงของดัชนี โดยตลาดหุ้นไทยทำจุดสูงสุดในช่วงที่เกิดวิกฤตคือ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 อยู่ที่ 927 จุด แต่เพียง 1 ปี ก็ดิ่งลงมาเหลือเพียง 380 จุด ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2551 และใช้เวลากว่า 2 ปี ถึงจะกลับไปแตะ 900 จุด ในช่วงเดือนกันยายน 2553
ปี 2563 - 2564
โควิด-19 มีจุดเริ่มต้นในช่วงปลายปี 2562 ดังนั้น ผลกระทบทางเศรษฐกิจจะเอฟเฟกต์แบบจริงๆจังๆ ตอนปี 2563 โดยประเทศไทยนั้น การล็อกดาวน์เข้มข้น ทำให้การท่องเที่ยวหยุดชะงัก
มีบริษัทที่ขาดสภาพคล่องมากกว่า 192,046 บริษัท ธุรกิจร้านอาหาร สายการบิน โรงแรมต่างปิดตัวไปเพราะไม่สามารถดำเนินการได้ ทำให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มฟื้นตัวช้าเพราะอิงกับรายได้จากการท่องเที่ยว, อัตราเงินเฟ้อสูง สินค้าราคาแพง ต้นทุนเพิ่มขึ้น
ตลาดหุ้นไทยในวิกฤตนี้โดยนับจากเดือนธันวาคม 2562 ที่เริ่มพบผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 1,589 จุด ร่วงมาอยู่ที่ 969 จุดในวันที่ 13 มีนาคม 2563 แต่อย่างไรก็ดี จากการช่วยกันแก้ปัญหาจากหลายภาคส่วนจนสามารถควบคุมได้ ตลาดหุ้นไทยก็มีแรงซื้อกลับเข้ามา
และแม้จะมีการแพร่ระบาดระลอกที่ 2-3 แต่ก็ไม่ได้ลดความเชื่อมั่นของนักลงทุนมากนัก ก่อนจะกลับมาแตะระดับ 1,600 จุด เมื่อเดือนมีนาคม 2564
ข่าวที่เกี่ยวข้อง