ผลสำรวจชี้ ประชาชนกว่า 70% มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Soft Power เป็นอย่างดี ส่วนใหญ่มองว่าแนวคิดเรื่อง Soft Power เป็นเรื่องใกล้ตัว แต่เมื่อถามถึงนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS) เสียงเกินกว่า 60% เทไปในฝั่งเดียวกันคือ ยังไม่ค่อยเข้าใจ
Soft Power คือ คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ถูกหยิบยกมาใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงใช้ในบริบททางการเมือง การแสดง ช่วงหลังๆ เรามักได้ยินคำนี้กันบ่อยมากจนเป็นที่คุ้นหู
“ซอฟต์พาวเวอร์” หมายถึง การใช้อิทธิพลทางวัฒนธรรม การกิน การดื่ม วิถีชีวิต ความเชื่อ นำเสนอผ่านสื่อ หรือผลงานในแบบต่างๆ เพื่อโน้มน้าวใจ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด หรือพฤติกรรมความชอบให้หันมาสนใจสิ่งเหล่านี้มากขึ้น
The Attraction (ดิ แอทแทรคชั่น) ผู้ผลิตคอนเทนต์ เพื่อนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ในแง่มุมที่น่าสนใจผ่านการเล่าถึงมุมมองสำคัญทางด้านอาหาร วัฒนธรรม ความบันเทิง เศรษฐกิจ การเมือง และอื่นๆ ได้เล็งเห็นความสำคัญด้านการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาล ที่ทำให้เกิดการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางในสังคม
จึงได้จัดทำ “แบบสำรวจความคิดเห็นของประชาชนไทยที่มีต่อซอฟต์พาวเวอร์” กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ติดตามเพจและประชาชนทั่วไปในโลกออนไลน์ โดยคาดหวังว่าข้อมูลและสถิติที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและองค์กรต่างๆ
จากแบบสอบถามพบว่า ประชาชนกว่า 70% มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Soft Power เป็นอย่างดี อีกทั้งประชาชนส่วนใหญ่มองว่าแนวคิดเรื่อง Soft Power เป็นเรื่องใกล้ตัว
แต่ก็มีเสียงบางส่วนบอกว่าควรใช้ทับศัพท์ไม่ต้องหาคำแปลให้ปวดหัว
แต่เมื่อเจาะถึงนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS) ที่รัฐบาลได้ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ เสียงของประชาชนเกินกว่า 60% เทไปในฝั่งเดียวกันคือ ยังไม่ค่อยเข้าใจ และ “งงมากแม่”
ทั้ง 5 แบรนด์เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศอยู่แล้ว ถือว่าเป็นอีกช่องทางที่จะช่วยประชาสัมพันธ์ Soft Power ของไทยที่ดี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง