ชวนดูภาพยนตร์ The Big Short ของผู้กำกับอดัม แม็คเคย์ (Adam McKay) หนังในปี 2015 ที่พูดถึงช่วงเวลาก่อน วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ หรือ วิกฤตซับไพรม์ ซึ่งน่าจะเป็นอีกหนึ่งกระจกสะท้อนภาพเศรษฐกิจโลกที่กำลังแย่อยู่ในเวลานี้ได้บ้าง
วิกฤตเศรษฐกิจปากท้อง และการใช้ชีวิตของผู้คนในประเทศตอนนี้ ไม่ต่างอะไรกับภาวะของผู้ป่วยที่ต้องนอนโรงพยาบาล เรื่องเศรษฐกิจตกต่ำ กลายเป็นทิศทางที่โลกกำลังจะเจอและไม่มีใครอยากให้เป็น , หากใครยังนึกภาพความเลวร้ายของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำไม่ออก , เราขอเชิญชวน ไปชมภาพที่ง่ายที่สุด ในการเข้าใจภาพภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ครั้งล่าสุดของโลกที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ ในช่วงปี 2007-2008 หรือวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์
(ซับไพรม์) กับภาพยนตร์ The Big Short ของผู้กำกับ อดัม แม็คเคย์ (Adam McKay)
ย้อนเข็มนาฬิกากลับไปในปี 15 กันยายน 2008 ถือเป็นวันที่ทั่วโลก ปักหมุดเหตุการณ์วิกฤตการเงินทั่วโลก หรือที่รู้จักกันในชื่อ วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ หรือ วิกฤตซับไพรม์ และได้ถูกเล่าเรื่องผ่านภาพยนตร์ The Big Short
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ความน่าสนใจของภาพยนตร์ The Big Short หรือ ชื่อไทย คือ เกมฉวยโอกาสรวย นั่นคือ หยิบยกเอาเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องที่ดูจะเป็นเรื่องยาก และเข้าถึงได้ยาก มาเล่าในมุมมองที่ทิ่มแทงอย่างสุดแสบและเสียดสี , เพราะถ้าเป็น เรื่องเล่าในทำนองทั่วไป อาจจะขอเล่าเรื่องในมุมมอง "ผู้แพ้" จากวิกฤตโลกครั้งนั้น แต่ อดัม แม็คเคย์ (Adam McKay) เลือกที่จะเล่าถึงตัวละครในมุมมองคน "ผู้ชนะ" ในเหตุการณ์ครั้งนั้น เป็นการย้อนศร และมีนักแสดงชั้นนำ มาร่วมเล่นอาทิ คริสเตียน เบล Christian Bale , แบรด พริตต์ Brad Pitt และ ไรอัน กอสลิ่ง Ryan Gosling
ภาพยนตร์ The Big Short เกมฉวยโอกาสรวย เรื่องนี้ ดัดแปลงบทจากหนังสือ non-fiction ขายดีชื่อเดียวกันกับหนัง ผลงานเขียนของ ไมเคิล ลูอิส Michael Lewis (เจ้าของผลงานหนังสือ Moneyball และ The Blind Side ซึ่งถูกนำมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์เช่นกัน) ได้หยิบเรื่องราวดังกล่าวมาเล่าใหม่ด้วยการเปลี่ยนมุมมอง ตัวเรื่องกลับสำรวจความย่อยยับของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผ่านสายตาของ “ผู้ชนะ” จากระบบนี้ ที่เป็นเพียงคนเพียงหยิบมือที่มองโลกต่างออกไป พูดง่ายๆคือ คนกลุ่มหนึ่งที่ชิงความได้เปรียบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก อาทิ คุณ ไมเคิล เบอร์รี (แสดงโดยคริสเตียน เบล) ผู้ได้กลิ่น วิกฤตก่อนใคร
เท้าความ ย้อนกลับ ในปี 2008 เลห์แมน บราเธอร์ส สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ได้ยื่นขอล้มละลายอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 กันยายน ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นในเชิงสัญลักษณ์ของวิกฤตการเงินทั่วโลกที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ (Hamburgur Crisis) ซึ่งเลห์แมน บราเธอร์ส ธนาคารเพื่อการลงทุนรายใหญ่ที่จัดเป็นสถาบันการเงินที่ ใหญ่เกินกว่าที่จะปล่อยให้ล้มได้...เพราะมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกอย่างมาก ถ้าล้มเมื่อใดย่อมส่งผลกระทบในระดับที่ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกเกิดความหายนะเลยก็ว่าได้ ซึ่งความใหญ่ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงขนาดของบริษัท แต่หมายถึงการที่บริษัทหรือสถาบันการเงินนั้นๆ มีความผูกติดกับเศรษฐกิจโลกแบบแทบจะแยกกันไม่ออก
อย่างไรก็ตาม แต่ก็ใช่ว่าเลห์แมน บราเธอร์ส จะเป็นต้นเหตุของเรื่องราวทั้งหมดนี้ เพราะต้นตอแท้จริงของวิกฤตครั้งนั้นมาจากภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ สืบเนื่องจากการเก็งกำไรในตลาดที่อยู่อาศัย ซึ่งภาพยนตร์ The Big Short จะเล่าเรื่องการพังทลายของอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯในเวลานั้น เพราะธนาคารปล่อยสินเชื่อที่มีความน่าเชื่อถือต่ำหรือด้อยคุณภาพ (Subprime) มากจนเกินไป ซึ่งนั่นก็เป็นที่มาของชื่อวิกฤตอีกชื่อว่า วิกฤตซับไพรม์ นั่นเอง
ในภาพยนตร์ The Big Short จะเป็นการพูดถึงไทม์ไลน์ของเศรษฐกิจสหรัฐยุคต่าง ๆ ผ่านภาพตัดปะเล็ก ๆ ของวัฒนธรรมป๊อปคัลเจอร์ เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยบอกยุคสมัย อาทิ ไอโฟน, เครื่องแม็ค ,นักร้อง บริทนีย์ สเปียร์ส, ดนตรีกรันจ์แบบ Nirvana และอีกมากมายที่ตัดสลับกับโครงหลักของเรื่อง เพื่อเล่าว่า ผู้ชมมาถึงยุคไหนของเศรษฐกิจโลกกันแล้ว
.
จากก่อนหน้าที่ ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์จะแตก ได้มีกลุ่มนักลงทุนที่ “ขายชอร์ต” เหมือนตัวตลกของคนมองโลกในแง่ดีในระบบเศรษฐกิจทุนนิยม โดยในช่วงเวลานั้น คนกลุ่มนี้ไม่ได้มองวอลล์สตรีท เป็นตลาดการเงินในสหรัฐฯ ด้วยสายตาที่เชื่อมั่นเท่าไหร่นัก ในทางกลับกัน พวกเขามองโลกการเงินด้วยแง่ลบอย่างถึงที่สุด ผ่านการลงทุนที่เรียกว่า “การขายชอร์ต” ซึ่ง เป็นการเก็งกำไรที่สวนทางกับตลาดในแง่ที่ว่า หากตลาดโต หุ้นมีมูลค่าเพิ่ม พวกเขาเจ๊ง แต่หากตลาดแย่ พวกเขาจะอยู่ฝั่ง ผู้ชนะ
.
แต่ท้ายที่สุด ภาพยนตร์ The Big Short จะค่อย ๆ คลี่ปมให้เห็นว่า ตัวตลก คนมองโลกในแง่ร้ายเหล่านั้น กลายเป็นผู้ชนะได้เช่นกัน โดยระหว่างทาง ข้อมูลด้านลบต่าง ๆ ที่หลั่งไหลมา ทำให้พวกเขาเชื่อมั่นว่า โลกไม่สามารถที่จะดำรงอยู่ด้วยเหรียญ “โลกสวย” แต่เพียงด้านเดียว มันต้องการการมองในฝั่ง “โลกเสื่อม” ควบคู่กันไปด้วย
แม้เวลาของวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ หรือ วิกฤตซับไพรม์ จะผ่านมาเป็นเวลาเกือบๆ 15 ปีแล้ว แต่ทุกวันนี้ก็ ยังมีความเสี่ยงมากมาย ที่อาจบั่นทอนเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลกปัจจุบัน และนำไปสู่วิกฤตอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็น Cryptocurrency เป็นต้น...
คำถามที่เกิดหลังจากรับชมภาพยนตร์ The Big Short จบลง นั่นคือ ถ้าหากทุกคน เห็นเค้าลางของความปี่ป่นแหลกสลายแล้ว ทุกคนจะเลือกฝั่งใด ระหว่างออกลุยเตือนตลาดที่กำลังคลั่งและมั่นใจมาก กับ เป็นคนกลุ่มน้อยผู้ซึ่งเลือกเดิมพันเพื่อความมั่งคั่งอันเกิดจากความพินาศของคนทั้งตลาดแบบในหนัง ?
Credit : Youtube UIP Thailand