svasdssvasds

อัยการสั่งไม่ฟ้อง 'บอสแซม-บอสมิน' ดิไอคอนกรุ๊ป รอดทุกข้อหา เตรียมปล่อยตัว

อัยการสั่งไม่ฟ้อง 'บอสแซม-บอสมิน' ดิไอคอนกรุ๊ป รอดทุกข้อหา เตรียมปล่อยตัว

ด่วน! อัยการสั่งฟ้อง 19 บอสดิไอคอนกรุ๊ป ยกเว้น 2 บอสดาราคือ มิน พีชญา และแซม ยุรนันท์ อัยการสั่งไม่ฟ้อง รอดทุกข้อกล่าวหา

วันนี้ 8 มกราคม 2568 สำนักงานอัยการสูงสุด แถลงความคืบหน้าคดี ดิไอคอนกรุ๊ป ในฐานความผิด พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 และ พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 และคดีพิเศษที่ 115/2567 ว่า คณะทำงานสำนักงานคดีพิเศษ มีความเห็นสั่งฟ้อง 5 ข้อหา บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป พร้อม 16 บอส

โดยสั่งไม่ฟ้อง 2 นักแสดง "บอสแซม" ยุรนันท์ ภมรมนตรี และ "บอสมิน" พีชญา วัฒนามนตรี โดยเหตุผลยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เนื่องจากมีส่วนในคดีของผู้ต้องหาที่สั่งฟ้อง

เมื่ออัยการสั่งไม่ฟ้อง ทำให้ บอสมิน และบอสแซม จะถูกปล่อยตัวทันที และจะส่งสำนวนคดีกลับมาที่ดีเอสไอ เพื่อให้อธิบดีดีเอสไอ ลงความเห็นว่าจะฟ้อง หรือไม่ฟ้อง ถ้าไม่ฟ้องคดีจะจบ แต่ถ้าเห็นแย้งว่าควรฟ้อง อธิบดี ดีเอสไอต้องทำความเห็นกลับไปอัยการสูงสุดอีกครั้ง และให้อัยการสูงสุดพิจารณาชี้ขาดว่าจะเห็นพ้องตามอัยการคดีพิเศษ หรือเห็นพ้องตามอธิบดีดีเอสไอ

 

 

ด้านสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) แจ้งว่า ขณะนี้เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในฐานะนายทะเบียน ได้มีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงของบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด แล้ว มีผลตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2568

ทั้งนี้ สคบ. ระบุเหตุผลว่า ตามที่ เลขาธิการ สคบ.ในฐานะนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ได้รับจดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงให้แก่บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด ทะเบียนนิติบุคคล เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2562 เพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารและเครื่องสำอาง ผ่านเว็บไซต์ theicon.co.th 

โดยวิธีการทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการสื่อสารข้อมูลเพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงต่อผู้บริโภคซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางและมุ่งหวังให้ผู้บริโภคแต่ละรายตอบกลับเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง 

ทั้งนี้ พฤติกรรมดังกล่าวของบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป รวมทั้งวิธีการในการดำเนินธุรกิจมีลักษณะที่ไม่ได้มุ่งเน้นในการขายสินค้าให้กับผู้บริโภค แต่กลับมุ่งเน้นให้สมาชิกรายเก่าหาสมาชิกรายใหม่เพื่อให้ได้รับผลตอบแทน ซึ่งรายได้หลักเกิดจากการที่มีผู้สมัครรายใหม่ในตำแหน่งดีลเลอร์ต่อๆ กันไป 

โดยรูปแบบการประกอบธุรกิจของบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป มีลักษณะเป็นการชักชวนให้บุคคลเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในธุรกิจตลาดแบบตรงโดยตกลงว่าจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการหาผู้เข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าว ซึ่งคำนวณจากจำนวนผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่เพิ่มขึ้น อันเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545

เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ในฐานะนายทะเบียน ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 อาศัยอำนาจตามมาตรา 3 มาตรา 5 มาตรา 44 และมาตรา 53 วรรคสอง (3) (5) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 จึงมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงของบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2568

ล่าสุดนายศักดิ์เกษม นิไทรโยค ผู้ตรวจการอัยการ ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด ได้รับสำนสำนวนจากพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กรมสอบสวมคดีพิเศษ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2567 คดีระหว่าง นายณัฏฐ์ ธนาพิพัฒน์ดลภัค กับพวก ผู้กล่าวหาบริษัท ดีไอคอน กรุ๊ป จำกัด โดยนายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล ผู้ตองหาที่ 1 กับพวกรวม 19 คน ข้อหา "ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอรอันเป็นเท็จ

โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน, ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันประกอบธุรกิจขายตรง ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงดำเนินกิจการในลักษณะที่เป็นการชักชวนให้บุคคลเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการประกอบธุรกิจ โดยตกลงว่าจะให้ผลประโยชน์ตอบแทน จากการหาผู้เข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าว ซึ่งคำนวณจากจำนวนผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่เพิ่มขึ้นโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย, ร่วมกันประกอบธุรกิจขายตรงโดยไม่ได้รับอนุญาต" เหตุเกิดระหว่างวันที่ 12 สิงหาคม 2563 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2567 ในท้องที่แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร และหลายท้องที่ทั่วราชอาณาจักรต่อเนื่องกัน คิดเป็นค่าเสียหายรวมประมาณ 649,912,290 บาท นั้น

เนื่องจากคดีนี้มีผู้เสียหายจำนวนมาก และเป็นคดีที่ประชาชนและสื่อมวลชนให้ความสนใจ ถือเป็นคดีสำคัญตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด จึงได้มีคำมีตั้งคณะทำงทำงานร่วมพิจารณา

บัดนี้สำนักงกงานคดีพิเศษได้พิจารณาสำนวนดังกล่าวแล้วมีความเห็นและคำสั่ง ดังนี้

1. สั่งฟ้อง บริษัท ดีไอคอนกรุ๊ป จำกัด โดยนายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล กรรมการผู้มีอำนาจ ผู้ต้องหาที่ 1 นายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล หรือบอสพอล ผู้ต้องหาที่ 2 นายจิระวัฒน์ แสงภักดี หรือบอสแล็ป ผู้ต้องหาที่ 3, นายกลด เศรษฐนันท์ หรือบอสปีเตอร์ ผู้ต้องหาที่ 4 น.ส.ปัญจรัศม์ กนกรักษ์ธนพร หรือบอสปัน ผู้ต้องหาที่ 5 นายฐานานนท์ หิรัญไขยวรรณ หรือบอสหมอเอก ผู้ต้องหาที่ 6 น.นัฐปสรณ์ ฉัตรธนสรณ์ หรือบอสสวย ผู้ต้องหาที่ 7 น.ส.ญาสิกัญจณ์ เอกชิสนุพงศ์ หรือบอสโชดา ผู้ต้องหาที่ 8 นายนันทธรัฐ เขาวนปรีชา หรือบอสโอม ผู้ต้องหาที่ 9 นายธวิณทร์ภัส ภูพัฒนรินทร์ หรือบอสวิน ผู้ต้องหาที่ 10 น.ส.กนกธร ปูรณะสุคนธ์ หรือบอสแม่หญิง ผู้ต้องหาที่ 11 นส.เสาวภา วงษ์สาขา หรือบอสอูมมี่ ผู้ต้องหาที่ 12 นายเชษฐ์ณภัฏ อภิพัฒนกานต์ หรือบอสทอมมี่ ผู้ต้องหาที่ 13 นายหัสยานนท์ เอกชิสนุพงศ์ หรือบอสป้อบ ผู้ต้องหาที่ 14 นางวิไลลักษณ์ ยาวิชัย หรือบอสจอย ผู้ต้องหาที่ 15 นายธนะโรจน์ ธิติจริยาวัชร์ หรือบอสออฟ ผู้ต้องหาที่ 16 และนายกันต์ กันตถาวร หรือบอสกันต์ ผู้ต้องหาที่ 19 ตามข้อกล่าวหา ฐาน "ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบบคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน, ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันประกอบธุรกิจ ขายตรง

ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงดำเนินกิจการในลักษณะที่เป็นการชักชวนให้บุคคลเข้าร่วมเป็นเหรือข่ายในการประกอบธุรกิจ โดยตกลงว่าจะให้ผลประโยชน์ตอบแทน จากการหาผู้เข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าว ซึ่งคำนวณจากจำนวนผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่เพิ่มขึ้นโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย, ร่วมกันประกอบธุรกิจขายตรงโดยไม่ได้รับอนุญาต"

ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 มาตรา 3, 19, 20,38, 46, 47, 54, พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 มาตรา 3, 6, 18, 23 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83, 91, 341, 343 พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2526 มาตรา 4 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 มาตรา 4 พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน มาตรา 3, 4, 5, 9, 11/1, 12, 15 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2534 มาตรา 3 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 3, 4, 5 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของ ผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.ศ. 2550 มาตรา 14 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 มาตรา 8 ตามความเห็นพนักงานสอบสวน

2. สั่งไม่ฟ้อง นายยุรนันท์ ภมรมนตรี หรือ บอสแชม ผู้ต้องหาที่ 17 และ น.ส.พีชญา วัฒนามนตรี หรือ บอสมิน ผู้ต้องหาที่ 18 ตามขอกล่าวหา ฐาน "ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน, ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันประกอบธุรกิจขายตรง ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง ดำเนินกิจการในลักษณะที่เป็นการชักชวนให้บุคคลเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการประกอบธุรกิจ โดยตกลงว่าจะให้ผลประโยชน์ตอบแทน จากการหาผู้เข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าว

ซึ่งคำนวณจากจำนวนผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่เพิ่มขึ้นโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย, ร่วมกันประกอบธุรกิจขายตรงโดยไม่ได้รับอนุญาต " ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 มาตรา 3, 19, 20, 38, 46, 47,54,พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 มาตรา 3, 6, 18, 23 ประมวลกฎหมายอาญาตรา 3, 91, 341, 343 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2526 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 มาตรา 4 พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 3, 4, 5, 9, 11/1, 12, 15 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2534 มาตรา 3 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 3, 4, 5 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด 2. สั่งไม่ฟ้อง นายยุรนันท์ ภมรมนตรี หรือ บอสแชม ผู้ต้องหาที่ 17 และ น.ส.พีชญา วัฒนามนตรี หรือ บอสมิน ผู้ต้องหาที่ 18 ตามขอกล่าวหา ฐาน "ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน, ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันประกอบธุรกิจขายตรง ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง ดำเนินกิจการในลักษณะที่เป็นการชักชวนให้บุคคลเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการประกอบธุรกิจ โดยตกลงว่าจะให้ผลประโยชน์ตอบแทน จากการหาผู้เข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าว

ซึ่งคำนวณจากจำนวนผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่เพิ่มขึ้นโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย, ร่วมกันประกอบธุรกิจขายตรงโดยไม่ได้รับอนุญาต " ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 มาตรา 3, 19, 20, 38, 46, 47,54,พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 มาตรา 3, 6, 18, 23 ประมวลกฎหมายอาญาตรา 3, 91, 341, 343 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2526 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 มาตรา 4 พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 3, 4, 5, 9, 11/1, 12, 15 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2534 มาตรา 3 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 3, 4, 5 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related