svasdssvasds

จะดราม่า Amitofo ทำไม? เมื่อพระพุทธเจ้า ไม่เคยให้สร้างพระพุทธรูป

จะดราม่า Amitofo ทำไม? เมื่อพระพุทธเจ้า ไม่เคยให้สร้างพระพุทธรูป

จะดราม่า Amitofo ทำไม? เมื่อพระพุทธเจ้า ไม่เคยให้สร้างพระพุทธรูป แต่เรากลับสร้างและปลูกฝังให้เป็นเรื่องที่แะต้องไม่ได้

SHORT CUT

  • กลายเป็นดรามาสนั่นจอ เมื่อมีการทำ Art Toy รูปพระพุทธเจ้าออกมาขาย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือแบรนด์ อมิตโตโฟ (Amitofo) ได้สร้างความสะเทือนใจให้กับชาวพุทธไทยสายอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่ง เหตุเพราะถูกมองว่าไม่เหมาะสม เป็นการล้อเลียนพระพุทธเจ้า
  • แต่ความเป็นจริงแล้วนั้นพุทธที่แท้จริงกลับไม่ได้มีรูปเคารพเสียด้วยซ้ำ อ้าวแล้วแบบนี้ทำเอาพุทธแท้แบบไทยๆ จะทำอย่างไรดี พระเครื่องเต็มบ้าน พระพุทธรูปเกลื่อนเมือง
  • ดังนั้นการทำเครื่องรางของขลังต่างๆ จึงเป็นความเชื่อส่วนบุคคล แล้วแต่คนจะศรัทธา และความเป็นจริงแล้วไม่มีใครสามารถผูกขาดศาสนาพุทธ รวมถึงรูปตัวแทนของพระพุทธเจ้าได้ ดังนั้นการทำ Art Toy รูปพระพุทธเจ้าไม่ใช้ความผิดแต่อย่างไร

จะดราม่า Amitofo ทำไม? เมื่อพระพุทธเจ้า ไม่เคยให้สร้างพระพุทธรูป แต่เรากลับสร้างและปลูกฝังให้เป็นเรื่องที่แะต้องไม่ได้

กลายเป็นดรามาสนั่นจอ เมื่อมีการทำ Art Toy รูปพระพุทธเจ้าออกมาขาย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือแบรนด์ อมิตโตโฟ (Amitofo) ได้สร้างความสะเทือนใจให้กับชาวพุทธไทยสายอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่ง เหตุเพราะถูกมองว่าไม่เหมาะสม เป็นการล้อเลียนพระพุทธเจ้า

จะดราม่า Amitofo ทำไม? เมื่อพระพุทธเจ้า ไม่เคยให้สร้างพระพุทธรูป

แต่ความเป็นจริงแล้วนั้นพุทธที่แท้จริงกลับไม่ได้มีรูปเคารพเสียด้วยซ้ำ อ้าวแล้วแบบนี้ทำเอาพุทธแท้แบบไทยๆ จะทำอย่างไรดี พระเครื่องเต็มบ้าน พระพุทธรูปเกลื่อนเมือง

พาไปคนหาความจริงว่าผลสุดท้ายแล้วพุทธที่แท้จริง ควรเชื่อหลักคำสอนของพระพุทธเจ้ามากกว่าเชื่อในรูเคารพ ที่อาจจะพูดได้ว่าจะดราม่าไปทำไม เพราะพุทธเจ้าเองไม่เคยสั่งให้สร้างรูปเคารพเองเลยด้วยซ้ำ

พระพุทธเจ้าสั่งห้ามไม่ให้มีรูปเคารพ

ในความเป็นจริงแล้วนั้นสมัยพุทธกาลและหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานใหม่ๆ ในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ทรงสอนให้พึ่งตนเอง พระองค์เน้นที่การพัฒนาปัญญาและการปฏิบัติธรรม เพื่อให้บรรลุถึงความหลุดพ้นจากทุกข์ ไม่ได้เน้นการพึ่งพาสิ่งภายนอก ไม่ให้ยึดติด พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ละวางอุปาทานทั้งปวง รวมถึงการยึดติดกับรูปเคารพ โดยสอนไว้ว่าธรรมะคือศาสดา พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ควรยึดถือเป็นหลักในการปฏิบัติ

จะดราม่า Amitofo ทำไม? เมื่อพระพุทธเจ้า ไม่เคยให้สร้างพระพุทธรูป
แม้กระทั่งเรื่องศาสดาต่อจากพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสไว้เองก่อนปรินิพพาน ซึ่งเราจำกันแม่นทีเดียวว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานล่วงลับไป ไม่ได้ทรงตั้งพระภิกษุองค์ใดเป็นศาสดาแทนพระองค์ แต่พระองค์ได้ทรงมอบหมายให้ชาวพุทธได้รู้กันว่า พระธรรมวินัยนั้นแหละเป็นพระศาสดาแทนพระองค์

เป็นภาพสะท้อนแนวทางการปฏิบัติของศาสนาพุทธที่แท้จริงว่าไม่ต้องยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ให้เชื่อในหลักธรรมคำสอนนั่นเอง

กำเนิดการสร้างพระพุทธรูป

แต่ภายหลังพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานล่วงมาร้อยกว่าปี อินเดียสมัยราชวงศ์กุษาณะปกครองทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือได้มีจัดสร้างรูปเคารพตามอารยธรรมกรีก

โดยการจัดสร้างพระพุทธรูปเกิดขึ้นครั้งแรกที่แคว้นคันธารราฐ ในสมัยของพระเจ้ากนิษณะ แห่งราชวงศ์กุษาณะ ค.ศ. 120 – 162 โดยได้รับอิทธิพลจากชาวกรีกโบราณ สืบเนื่องมาจาก พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์แห่งอาณาจักรมาซีโดเนีย ทางตอนเหนือของประเทศกรีซ แผ่ขยายอำนาจ คลอบคลุมดินแตนต่างๆ

ตั้งแต่ในคาบสมุทรบอลข่าน อียิปต์ ตุรกี เปอร์เซีย มาจนถึงแคว้นคันธารราฐของอินเดีย เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๓ หลังจากนั้น ชาวกรีกและชาวโรมันก็ได้เดินทางมาค้าขาย และนำวัฒนธรรมมาเผยแพร่ในดินแดนแถบนี้ รวมถึงการสร้างรูปเคารพทางพระพุทธศาสนา จนเกิดการสร้างพระพุทธรูปขึ้น เป็นรุ่นแรกที่เรียกว่า พระพุทธรูปศิลปะสมัยคันธารราฐนับตั้งแต่นั้นมาจึงมีการสร้างรูปเคารพของพระพุทธเจ้า แต่กระนั้นพระพุทธรูปรุ่นแรกเมื่อรับอิทธิพลกรีกมาจึงมีความคล้ายกับศิลปะการแกะสลักหินอ่อนของกรีกเป็นอย่างมาก อาจเรียกได้ว่าเป็นพระพุทธเจ้าที่มีหน้าตาคล้ายตะวันตกด้วยซ้ำ

จะดราม่า Amitofo ทำไม? เมื่อพระพุทธเจ้า ไม่เคยให้สร้างพระพุทธรูป

ไทยรับอิทธิพลการสร้างพระพุทธรูปมาตั้งแต่เมื่อไหร่

ในประเทศไทยเองเป็นประเทศที่รับอิทธิพลของศาสนาพุทธมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย แล้วแต่มีหลักฐานการสร้างวัตถุโบราณที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธชัดเจนในสมัยทวาราวดี แต่นิยมสร้างพุทธอาสน์ (ที่ประทับของพระพุทธเจ้า) 

ต่อมาสมัยหลังรับคติการสร้างพระพุทธรูปมาจากอินเดีย สร้างเป็นพระประธานด้วยศิลาหรือปั้นด้วยปูน ทำพระพุทธรูปเป็นภาพเครื่องประดับ หรือทำเป็นพระพิมพ์ พระพุทธรูปที่นิยมสร้างมากคือปางประทานปฐมเทศนานั่งห้อยพระบาท พระพุทธรูปยืนกรีดนิ้วพระหัตถ์ ข้างขวาเป็นวง พระหัตถ์ซ้ายถือชายจีวร พระพุทธรูปปางต่าง ๆ ที่นิยมสร้างในสมัยทวารวดี ได้แก่ ปางแสดงธรรมเทศนา ปางประทานอภัย ปางห้ามสมุทร ปางมารวิชัย ปางตรัสรู้

ในต่อๆ มาสังคมไทยก็เริ่มสร้างรูปเคารพของพระพุทธเจ้าเรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็น ศิลปะ สุโขทัย ลพบุรี อยุธยา ตลอดจนรัตนโกสินทร์ และค่อยๆ กลายเป็นพัฒนาการที่มีทั้งพระห้อยคอ ตลอดจนเครื่องรางของขลังเกลื่อนเมือง

จากศาสนาสู่พุทธพาณิชย์ เชิงมูเตลู

เมื่อสังคมไทยมีการพัฒนาความเชื่อเรื่องศาสนาผ่านโลกทุนนิยม และนำไปสู่ศาสนาเชิงพาณิชย์ ดังคำอธิบายของหนังสือ เทวา มนตรา คาถา เกจิ : ไสยศาสตร์ยุคใหม่กับทุน (ไทย) นิยม" ของ Peter A. Jackson

ที่ อรรถสิทธิ์ สิทธิดำรง ถอดรหัสว่า เป็นการขยายตัวของโลกสมัยใหม่ภายใต้กำกับของทุนนิยมแบบเสรีนิยมใหม่ หรือก็คือสภาวะสมัยใหม่ไม่ได้แค่ถอนความศักดิ์สิทธิ์ (แบบเดิม) ออกจากโลก แต่ยังสร้างความศักดิ์สิทธิ (ใหม่) ที่ผสานไปด้วยกันได้กับวิถีชีวิตสมัยใหม่แบบทุนนิยมอย่างไร้รอยต่อ 

ในระดับของข้อมูลเชิงประจักษ์ หนังสือเล่มนี้คือบทวิเคราะห์การเปลี่ยนผันชีวิตทางศาสนาในสังคมการเมืองไทย โดยผู้เขียนได้เน้นให้เห็นว่า "ชีวิตทางศาสนา" ในที่นี้ไม่ใช่เรื่องของการยึดมั่นในคำสอนทางธรรมหากแต่เป็นเรื่องพิธีกรรมในทางปฏิบัติ อย่างการขอพร เคารพบูชารูปเคารพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาทั้งหลาย

ด้าน รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้ให้เห็นว่าหนังสือเล่มดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงความมูเตลู เรื่องไสยศาสตร์ จริงๆ แล้วมีมิติทางเศรษฐศาสตร์การเมืองอยู่ในนั้น ผู้เขียนคืออาจารย์ Peter Jackson ศึกษาเมืองไทยมายาวนานมาก เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม ศาสนา วิธีคิดของคนไทย เพราะฉะนั้น เล่มนี้เหมือนกลั่นมาจากประสบการณ์ 40 ปี เป็นงานชิ้นสำคัญ ทำไมคนถึงเชื่อเรื่องแบบนี้ มันผูกกับวิธีคิดของความอยากรวย อยากประสบความสำเร็จในชีวิต หรือการที่การเมืองไม่แน่นอน คนต้องไปพึ่งสิ่งเหล่านี้ 

ดังนั้นการทำเครื่องรางของขลังต่างๆ จึงเป็นความเชื่อส่วนบุคคล แล้วแต่คนจะศรัทธา และความเป็นจริงแล้วไม่มีใครสามารถผูกขาดศาสนาพุทธ รวมถึงรูปตัวแทนของพระพุทธเจ้าได้ ดังนั้นการทำ Art Toy รูปพระพุทธเจ้าไม่ใช้ความผิดแต่อย่างไร

แต่เกิดจากการตีความที่ผิดเพี้ยนไปจากคำสอนเดิมของพระพุทธเจ้าที่ให้มองเรื่องหลักธรรมคำสอน ทำให้รูปเคารพของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่แตะต้องไม่ได้ หรือถึงขนาดผูกขาดโดยคนบางกลุ่มที่ต้องการสร้างความเชื่อให้คนในสังคมเชื่อตามเท่านั่นเอง

อ้างอิง

ประจักษ์ ก้องกีรติ / มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ / BBC / จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย / Medium / หอสมุทรพระราชวังสนามจันทร์ / 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related