SHORT CUT
“Smart City” ต้องตอบโจทย์ประชาชน ไม่ใช่ลงทุนหรูหราเป็นหมื่นล้าน พร้อมมีเทคโนโลยีที่เหมาะสม ตอบโจทย์ประชาชนในชีวิตประจำวัน
โพสทูเดย์ ร่วมกับ สปริงนิวส์ และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนา POSTTODAY Thailand Smart City 2025 “การจัดการเมืองอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีและ AI เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต” ในวันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2567 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม ชั้น 6 โรงแรม อิสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพฯ
เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรียนรู้แนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของประเทศไทย จากวิสัยทัศน์และนวัตกรรมใหม่ๆ ในการสร้างเมืองอัจฉริยะที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตยุคใหม่ โดยมุ่งเน้นไปที่การรักษาสิ่งแวดล้อมและการบรรลุเป้าหมาย Net Zero
เรียนรู้จากประสบการณ์และบทเรียนจากการบรรยายของผู้บริหารระดับสูงองค์กรภาครัฐและเอกชนชั้นนำ ที่จะมาแบ่งปันแนวคิดและวิสัยทัศน์ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับวิทยากรและผู้เข้าร่วมงานท่านอื่นๆ พร้อมรับชมการสาธิตและนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้พูดถึงประเด็น Smart City ว่า ในมุมมองภาครัฐจะมีมุมมองที่แตกต่างจากเอกชนเพราะมีทรัพยากรที่จำกัด เพราะหากนึกถึงเรื่อง Smart City เรามีคนไร้บ้านที่นอนเต็มไปอีก 20 ปี เพราะฉะนั้นต้องโฟกัสเรื่องคน ต้องเน้นที่คน
ฉะนั้น Smart City ต้องตอบโจทย์ประชาชนไม่ใช่นักการเมือง ต้องลงทุนกำลังดีไม่ใช่ลงทุนหรูหราเป็นหมื่นล้าน และสุดท้ายเทคโนโลยีต้องมีความเหมาะสม ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เราต้องค้นหา เราต้องค้นหาโครงการที่ฉลาดพอและตอบโจทย์ประชาชน
ชัชชาติ กล่าวว่า กรุงเทพมหานครมองนโยบาย 9 ด้านต้องมีองค์ประกอบของความ Smart อยู่เรื่องโปร่งใสคือหัวใจหลักมันคือช้างตัวใหญ่ในห้องฉะนั้นเราต้องทำเรื่องความโปร่งใสโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ที่จริงแล้วประชาชนคือกล้องที่ดีที่สุดเราขอให้ประชาชนช่วยรายงานให้กับเรา ตัวอย่างเช่น Traffy Fondue เป็นตัวอย่างของเทคโนโลยีที่ไม่มีต้นทุน วันแรกเลยคนด่ามาเต็มไปหมด จากนั้นเราก็ค่อยๆ ทำ ทำให้จากแต่ก่อนเจ้าที่หน้าที่เขตต้องหันหาผู้ว่าฯ ว่าจะต้องทำอะไรแต่ปัจจุบันหันไปที่ประชาชนได้โดยตรง กลายเป็นคำสั่งจากประชาชนโดยที่ตนไม่ต้องสั่งการ ทำให้ประชาชนมีอำนาจอย่างรวดเร็ว จะทำให้รู้เลยว่าเลือกค้างอยู่ที่ใครและหน่วยงานไหนทำหน้าที่ล่าช้า
ประชาชนไม่เคยร้องเรียนในเวลาราชการส่วนใหญ่ร้องเรียนในเวลากลับบ้านแล้ว หากเรานับในช่วงเวลาราชการจะมีเรื่องร้องเรียนหายไปจำนวนมาก เงินเท่าเดิมแต่ได้เวลากลับคืนมา เป็นสิ่งที่สามารถติดตามได้ตลอดและมีตัวชี้วัด สามารถติดตามงบประมาณติดตามสัญญาทุกอย่างสามารถติดตามผ่านออนไลน์ได้เพราะเทคโนโลยีตอบโจทย์
ชัชชาติ กล่าวว่า ตัวที่ทุจริตตัวหลักคือเรื่องการขออนุญาตก่อสร้าง เราจึงเปลี่ยนให้มาขออนุญาตผ่านออนไลน์ ปกติใช้เวลา 45 วันแต่มาใช้ในรูปแบบออนไลน์สามารถรู้ผลภายใน 14 วัน อนาคตจะไปถึงการเรื่องภาษีที่สามารถยื่นผ่านออนไลน์ได้ อย่างที่ขออนุญาตผ่าน กทม. ต้องขึ้นระบบดิจิทัลหมด ทำให้เราเห็นความโปร่งใสผ่านการประมูลประหยัดงบประมาณของ กทม.
ชัชชาติ เผยให้เห็นว่า กทม. มีรถไฟฟ้าเต็มไปหมดแต่ปัญหาคือปัญหาทางเดินต่างๆ ที่มีปัญหา เราจะมีโครงการว่าแนวทางเดินหลักๆ จากสถานีรถไฟฟ้าต้องเป็นทางที่เดินได้ หากเราโฟกัสเรื่องเล็กๆ ถึงจะเป็น Smart City ที่ตอบโจทย์ประชาชนได้
ชัชชาติ กล่าวว่า กทม. เรามีโครงการปลูกต้นไม้ 1,000,000 ต้น ปัจจุบันปลูกไปถึง 1,200,000 ต้น ต้นไม้ทุกอันมี QR Code สามารถติดตามและดูสภาพได้
โครงการสวน 15 นาทีเราต้องการให้มี 500 สวน จะทำให้คนเดินถึงสวนได้ภายใน 15 นาทีเราต้องเอาที่ของเอกชนในภาครัฐเข้ามา
ปีที่ผ่านมาขยะในกรุงเทพลดลดลงเป็น 10% เพราะเกิดจากการแยกขยะที่สามารถนำขยะไปรีไซเคิลได้สามารถลดงบประมาณได้หลัก 100 ล้านบาท ต่อไปทุกคนต้องร่วมมือกันเพราะต่อไปหากใครไปร่วมจะมีค่าขยะที่แพงขึ้น
รถขยะของเรามีการติด GPS สามารถใช้ชีวิตตรวจสอบได้ รู้เลยว่ารถขยะวิ่งเต็มประสิทธิภาพหรือไม่
ชัชชาติ กล่าวว่าสังคมดีเป็นสิ่งสำคัญ กทม. ใช้ เทคโนโลยีช่วยมี บีเคเคฟู้ดแบงก์ ที่สามารถส่งต่ออาหารให้กันได้ เป็นเหมือนซูเปอร์มาร์เก็ตเล็กๆ ที่สามารถช่วยเหลือประชาชนและไม่ต้องใช้งบประมาณเลยสักนิด
เรามีโครงการตกสุภาพประชาชน 1,000,000 คนยกฐานข้อมูลสุภาพขึ้นออนไลน์ จะทำให้เห็นข้อมูลว่าประชาชนโซนไหนป่วยเป็นอะไรที่สามารถนำข้อมูลมาสร้างและป้องกันได้
รวมถึงมี Helth Tech อำนวยความสะดวกประชาชนเปิดแล้วเจ็ดแห่ง สามารถเข้าถึงแพทย์ได้รวดเร็ว
ชัชชาติ กล่าวว่า กทม. ทำระบบจัดการหาบเร่แผงลอย ทำพื้นที่รองรับผู้ค้าริมทาง เป็นพื้นที่ริมทางสร้างถนนคนเดินเช่น ถนนบรรทัดทอง ทำให้มากขึ้นเพื่อให้คนชินให้คนเคารพการใช้ถนน
ชัชชาติ กล่าวว่า จะเห็นได้ว่า กทม. สว่างขึ้น สามารถช่วยเรื่องความปลอดภัยได้และมีพิกัดโคมไฟใน กทม. อยู่ในระบบแผนที่ทำให้เรารู้ได้เลยว่าตอนไหนเกิดอะไรขึ้น เป็นเทคโนโลยีที่ไม่แพงประหยัดค่าไฟได้ด้วยซ้ำ
ประวัติศาสตร์ไทยไม่เคยมีการนำทะเลมาจากรถบรรทุกตามปฏิบัติธรรมแล้วเรื่องรถบรรทุกน้ำหนักเกินดำเนินการจับแล้ว 49 คัน
มีกล้องซีซีทีวีควบคุมการขับขี่ผิดกฎหมายหรือไม่ ใช้กล้อง AI จับมอเตอร์ไซค์บนทางเท้า
ชัชชาติ กล่าวว่า เราให้อิสระโดยให้เขตบริหารจัดการเอง โดยมีเป้าหมายตัวชี้วัดที่ชัด เอา 50 มารวมกันมันคือกรุงเทพที่มหัศจรรย์
ถ้าแก้ไขเรื่องการทุจริตทำให้เกิดความโปร่งใสเราจะมีงบประมาณไปแก้ปัญหาอย่างอื่นได้เยอะเลยนอกจากเรื่องเทคโนโลยีแล้ว เรื่องความร่วมมือคือเรื่องที่สำคัญ
ชัชชาติ กล่าวทิ้งท้ายว่า “Smart City ไม่ใช่เทคโนโลยีอย่างเดียวแต่มันคือการตอบโจทย์ของชีวิตประชาชน”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง