svasdssvasds

ย้อนรอย "กฎหมาย" ที่ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ

ย้อนรอย "กฎหมาย" ที่ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ

เปิดขั้นตอนการ “ออกกฎหมาย” หากไม่ได้รับการพระราชทานคืนมาภายใน 90 วันหลังนายกฯ ทูลเกล้าฯ ไม่ได้แปลว่าร่างกฎหมายนั้นจะตกไปทันที

พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจในการตรากฎหมายทางรัฐสภา ซึ่งเรียกกฎหมายนั้นว่า “พระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ” เมื่อรัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแล้วก็ยังไม่เป็นกฎหมาย จะเป็นกฎหมายใช้บังคับได้ก็ต่อเมื่อพระมหากษัติย์ทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา การที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย มีผลทำให้ร่างพระราบัญญัติไม่อาจใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ ถือว่าทรงใช้พระราชอำนาจยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้น

ร่างกฎหมายฉบับใด ไม่ได้รับพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือพ้นไปแล้ว 90 วันไม่ได้พระราชทานคืน ไม่ได้แปลว่าร่างกฎหมายนั้นจะตกไปในทันที ให้รัฐสภาประชุมร่วมกันอีกครั้ง ตามมาตรา 146 รัฐสภาหรือ สส. และ สว. สามารถลงมติยืนยันร่างกฎหมายนั้นอีกครั้งด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของทั้งสองสภา (750 คน) หรือ สส. และ สว. รวมกัน 500 เสียง แต่ถ้าเสียงยืนยันไม่ถึงสองในสาม ก็จะเป็นอันตกไป

 

 

 

พระมหากษัตริย์ยับยั้งร่างพระราชบัญญัติได้ ถ้ารัฐธรรมนูญให้อำนาจ

อำนาจยับยั้งร่างกฎหมาย (Veto) เป็นหนึ่งในอำนาจของประมุขของรัฐที่จะ “หน่วงเวลา” หรือไม่ประกาศใช้ร่างกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติพิจารณาเห็นชอบมาแล้ว เพื่อให้ฝ่ายนิติบัญญัติทบทวนร่างกฎหมายนั้นอีกครั้ง เพื่อให้กระบวนการตรากฎหมายรอบคอบและคำนึงถึงอำนาจจากฝ่ายต่างๆ อย่างครบถ้วน

จะเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดให้พระมหากษัตริย์สามารถยับยั้งร่างกฎหมายได้ใน 2 ลักษณะ

  1. การยับยั้งโดยแสดงออกอย่างชัดแจ้ง ผ่านการพระราชทานร่างกฎหมายนั้นคืนมายังรัฐสภา โดยไม่ลงพระปรมาภิไธย
  2. การยับยั้งโดยการนิ่งเฉย ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยเพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายภายใน 90 วัน 

การยับยั้งร่างกฎหมายในสมัยรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 มีดังนี้

  • พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2535
  • พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
  • พระราชบัญญัติเหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม 2547 พ.ศ.2547
  • ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (ฉบับที่…) พ.ศ…

 

สำหรับกฎหมาย 3 ฉบับแรก เป็นการยับยั้งกฎหมายในสมัยรัชกาลที่ 9 ด้วยเหตุผลคือ ร่างพระราชบัญญัตินั้นมีข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อนในการพิสูจน์อักษร มีการใช้ถ้อยคำที่ไม่สอดคล้องกัน และมีการอ้างเลขมาตราในร่างพระราชบัญญัติที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งในหลวงท่านทรงเห็นข้อบกพร่องนี้ จึงได้พระราชทานคืนมายังรัฐสภา เพื่อแก้ไขใหม่ และหลังจากรัฐสภาตรวจสอบแก้ไขเรียบร้อยแล้ว ก็นำขึ้นทูลเกล้าฯ ใหม่ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ก็ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้เป็นกฎหมายในที่สุด

ส่วนในสมัยรัชกาลที่ 10 เป็นครั้งแรกที่ทรงไม่ลงพระปรมาภิไธยในร่างกฎหมาย นั่นคือ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (ฉบับที่…) พ.ศ… ด้วยเหตุผลเดียวกันคือ มีข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อนในการพิสูจน์อักษร มีถ้อยคำที่ไม่สอดคล้องกัน และการอ้างเลขมาตราในร่างพระราชบัญญัติไม่ถูกต้อง ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็อยู่ในขั้นตอนที่รัฐสภากำลังดำเนินการแก้ไขอยู่

การออกกฎหมายแต่ละฉบับ จะต้องผ่านกระบวนการ 3 ส่วน คือ

  1. กระบวนการก่อนการเข้าสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นกระบวนการเกี่ยวกับการเสนอร่างพระราชบัญญัติ
  2. กระบวนการภายในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเกี่ยวกับการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 3 วาระ (แบ่งเป็นวาระรับหลักการ วาระพิจารณารายมาตรา และวาระลงมติทั้งฉบับ)
  3. กระบวนการหลังสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นกระบวนการที่วุฒิสภาจะพิจารณาและประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป

ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่

เมื่อร่างกฎหมายได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่สาม คือ การประกาศใช้ ให้นายกรัฐมนตรีรอไว้ 5 วัน ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าเพื่อลงพระปรมาภิไธย ซึ่งระหว่างนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 148 ระบุว่า หาก 1) นายกรัฐมนตรี 2) สมาชิกไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของทั้งหมดของแต่ละสภาหรือทั้งสองสภารวมกัน กล่าวคือ ส.ส. 50 คน, ส.ว. 25 คน หรือ ส.ส. รวมกับ ส.ว. รวมกัน 75 คน เห็นว่า ร่างกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิฉัย ถ้าศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า มีข้อความที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญให้ตัดข้อความนั้นออกไป แต่ถ้าข้อความนั้นเป็นสาระสำคัญให้ร่างกฎหมายนั้นตกไป 

 

ทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย แล้วจึงประกาศใช้เป็นกฎหมาย

เมื่อร่างกฎหมายได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว รัฐธรรมนูญ มาตรา 145 ระบุให้นายกรัฐมนตรีรอไว้ 5 วัน แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ภายใน 20 วัน เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ก็ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายได้ 

 

การตกไปและผลของการตกไปของร่างพระราชบัญญัติ

เหตุที่ทำให้ร่างพระราชบัญญัติตกไปทั้งฉบับ มีดังนี้

  1. ในกรณีที่ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาลงมติในวาระที่หนึ่งไมรับหลักการแหงรางพระราชบัญญัติใด หรือลงมติในวาระที่สามไมเห็นชอบด้วยกับรางพระราชบัญญัติใด ให้รางพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป
  2. ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และข้อความดังกล่าวเป็นสาระส าคัญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป
  3. ร่างพระราชบัญญัติใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา ให้รัฐสภาปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภา มีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงน้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป
  4. เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ให้ร่างพระราชบัญญัติ ที่รัฐสภายังมิได้ให้ความเห็นชอบ ถ้าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปได้ร้องขอภายใน 60 วัน นับแต่วันเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปต่อรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี พิจารณาต่อไป และรัฐสภาเห็นชอบด้วยก็ให้พิจารณาต่อไป แต่หากมิได้ร้องขอ ภายในก าหนดเวลาดังกล่าวหรือรัฐสภาไม่เห็นชอบด้วยก็ให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป
  5. เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ให้ร่างพระราชบัญญัติ ที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วแต่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้ พระราชทานคืนมา ให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป

ที่มา : ilaw , สถาบันพระปกเกล้า , luehistory

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related