svasdssvasds

“สมรสเท่าเทียม” โอกาสทองภาคธุรกิจ ชิงเค้กตลาดก้อนโต กำลังซื้อสูง

“สมรสเท่าเทียม” โอกาสทองภาคธุรกิจ ชิงเค้กตลาดก้อนโต กำลังซื้อสูง

ต้องขอแสดงความยินดีกับ LGBTQ+ ในประเทศไทย หลัง “สมรสเท่าเทียม” ผ่านฉลุย นับว่าเป็นโอกาสทองของภาคธุรกิจ ในหลายที่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องที่จะมาแย่งชิงเค้กตลาดก้อนโต ที่มีกำลังซื้อสูง

SHORT CUT

  • ไทยมีข่าวดีสำหรับกลุ่ม LGBTQ+ หลังจากที่กฎหมายสมรสเท่าเทียม" ของประเทศไทยผ่านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นับว่าเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ชาติแรกอาเซียน
  • แน่นอนว่าเรื่องนี้ส่งผลดีต่อคู่รัก LGBTQ+ ที่จะได้รับสิทธิต่างๆร่วมกันในฐานะคู่ชีวิตที่ถูกต้องตามกฎหมาย
  • มีหลายแบรนด์ออกมาส่งสัญญา เปิดเกมการตลาดชิงลูกค้ากลุ่ม LGBTQ+ ที่มีกำลังซื้อสูง เชื่อว่าจะมาเติมกำลังซื้อให้ตลาดกลับมาคึกคักอีกครั้ง

ต้องขอแสดงความยินดีกับ LGBTQ+ ในประเทศไทย หลัง “สมรสเท่าเทียม” ผ่านฉลุย นับว่าเป็นโอกาสทองของภาคธุรกิจ ในหลายที่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องที่จะมาแย่งชิงเค้กตลาดก้อนโต ที่มีกำลังซื้อสูง

เมื่อเร็วๆนี้ประเทศไทยมีข่าวดีสำหรับกลุ่ม LGBTQ+ หลังจากที่ "กฎหมายสมรสเท่าเทียม" ของประเทศไทยผ่านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นับว่าเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ชาติแรกของภูมิภาคอาเซียน แน่นอนว่าเรื่องนี้ส่งผลดีต่อคู่รัก LGBTQ+ ที่จะได้รับสิทธิต่างๆร่วมกันในฐานะคู่ชีวิตที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเรื่องนี้ส่งผลดีต่อภาคธุรกิจแน่นอน ล่าสุดมีหลายแบรนด์ออกมาส่งสัญญา เปิดเกมการตลาดชิงลูกค้ากลุ่ม LGBTQ+ ที่มีกำลังซื้อสูง เชื่อว่าจะมาเติมกำลังซื้อให้ตลาดกลับมาคึกคักอีกครั้ง

ทั้งนี้ สมรสเท่าเทียม ของไทยจะช่วยยกระดับด้านความเท่าเทียมทางเพศของไทยแล้วยังก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วย โดยเฉพาะธุรกิจบริการในหลากหลายสาขา จากการศึกษาของสถาบันด้านการวิจัย The William Institute ในสหรัฐอเมริกา พบว่า ภายหลังที่สหรัฐฯ ได้มีการบังคับใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียมทั่วประเทศในช่วงปี 2558-2562 สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ถึง 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

สมรสเท่าเทียม หนุนธุรกิจเพิ่มขึ้นถึง 45,000 ราย 

อย่างไรก็ตามเชื่อว่าการที่ไทยได้ผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียมจะช่วยสร้างการจ้างงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นถึง 45,000 ราย  ธุรกิจบริการที่จะมีโอกาสเติบโตจากการมีกฎหมายสมรสเท่าเทียมมีหลากหลายธุรกิจ อาทิ ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานแต่งงาน เช่น ธุรกิจสตูดิโอถ่ายภาพ ธุรกิจเช่าชุดแต่งงาน สิทธิในการสมรสจะช่วยเพิ่มความต้องการในการจัดงานเฉลิมฉลองการแต่งงานมากขึ้น

ขณะที่บริษัทให้บริการจัดงานแต่งงานของไทย Wonders and Weddings คาดการณ์ว่ายอดจองการจัดงานแต่งงานจะเพิ่มมากขึ้น โดยการจองจัดงานแต่งงานของกลุ่ม LGBTQIA+  จะคิดเป็น 25% จากยอดจองทั้งหมด  การจัดงานแต่งงานถือเป็นการฉลองก้าวสำคัญ ของชีวิตของหลายคน ซึ่งกลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศก็ต้องการเฉลิมฉลองช่วงเวลาสำคัญนี้เช่นกัน

“สมรสเท่าเทียม” โอกาสทองภาคธุรกิจ ชิงเค้กตลาดก้อนโต กำลังซื้อสูง

นอกจากนี้มีข้อมูลของบริษัท IPSOS ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านตลาดข้ามชาติให้ข้อมูลว่าประชากร 9% ของไทย ระบุตนเองว่าเป็นกลุ่ม LGBTQIA+  ซึ่งความต้องการในการจัดงานเฉลิมฉลองที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ธุรกิจโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานแต่งงานเติบโตอย่างมาก เพื่อคว้าโอกาสจากการมีกฎหมายสมร  

LGBTQIA+ บูมท่องเที่ยวไทย

ไม่เพียงเท่านี้กฎหมายสมรสเท่าเทียมจะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่ม LGBTQIA+ ในการเดินทางมาท่องเที่ยวยังประเทศไทยที่เป็นจุดหมายการเดินทางที่เป็นมิตร โดยข้อมูลจาก World Travel & Tourism Council ระบุว่า สัดส่วนของกลุ่มนักท่องเที่ยว LGBTQIA+ คิดเป็น 10% ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก และค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้คิดเป็น 16% ของค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวทั้งหมด หรือคิดเป็นประมาณ 195 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

“สมรสเท่าเทียม” โอกาสทองภาคธุรกิจ ชิงเค้กตลาดก้อนโต กำลังซื้อสูง

พาณิชย์ ชี้ ธุรกิจสตูดิโอถ่ายภาพ ธุรกิจเช่าชุดแต่งงาน ปังแน่

มาดูข้อมูลจาก สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เผยว่า ธุรกิจบริการที่จะมีโอกาสเติบโตจากการมีกฎหมายสมรสเท่าเทียมมีหลากหลายธุรกิจ อาทิ ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานแต่งงาน เช่น ธุรกิจสตูดิโอถ่ายภาพ ธุรกิจเช่าชุดแต่งงาน สิทธิในการสมรสจะช่วยเพิ่มความต้องการในการจัดงานเฉลิมฉลองการแต่งงานมากขึ้น

โดยบริษัทให้บริการจัดงานแต่งงานของไทย Wonders and Weddings คาดการณ์ว่ายอดจองการจัดงานแต่งงานจะเพิ่มมากขึ้น โดยการจองจัดงานแต่งงานของกลุ่ม LGBTQIA+1 จะคิดเป็นร้อยละ 25 จากยอดจองทั้งหมด การจัดงานแต่งงานถือเป็นการฉลองก้าวสำคัญ (milestone) ของชีวิตของหลายคน ซึ่งกลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศก็ต้องการเฉลิมฉลองช่วงเวลาสำคัญนี้เช่นกัน

โดยจากข้อมูลของบริษัท IPSOS ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านตลาดข้ามชาติให้ข้อมูลว่าประชากรร้อยละ 9 ของไทย ระบุตนเองว่าเป็นกลุ่ม LGBTQIA+ ซึ่งความต้องการในการจัดงานเฉลิมฉลองที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ธุรกิจโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานแต่งงานเติบโตอย่างมาก

นอกจากนี้ส่งผลดีต่อ ธุรกิจท่องเที่ยวและร้านอาหาร การมีกฎหมายสมรสเท่าเทียมจะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่ม LGBTQIA+ ในการเดินทางมาท่องเที่ยวยังประเทศไทยที่เป็นจุดหมายการเดินทางที่เป็นมิตร โดยข้อมูลจาก World Travel & Tourism Council ระบุว่า สัดส่วนของกลุ่มนักท่องเที่ยว LGBTQIA+ คิดเป็นร้อยละ 10 ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก

และค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้คิดเป็นร้อยละ 16 ของค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวทั้งหมด หรือคิดเป็นประมาณ 195 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ซึ่งนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ถือว่าเป็นนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง ชอบเดินทางท่องเที่ยว สัมผัสประสบการณ์ที่หลากหลาย ดังนั้นการมีกฎหมายที่รองรับและสภาพสังคมที่เป็นมิตรจะแสดงถึงการยอมรับและให้เกียรติกลุ่ม LGBTQIA+ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้รู้สึกปลอดภัยและสนใจเดินทางมาท่องเที่ยวในไทยมากขึ้น

“สมรสเท่าเทียม” โอกาสทองภาคธุรกิจ ชิงเค้กตลาดก้อนโต กำลังซื้อสูง

ธุรกิจประกันภัย-ธุรกิจทางการเงิน มีโอกาสโต

ธุรกิจประกันภัย และธุรกิจทางการเงิน เป็นอีกหนึ่งธุรกิจบริการที่จะเติบโตมากขึ้น กฎหมายสมรสเท่าเทียมได้สนับสนุนให้คู่รักหลากหลายเพศได้รับสิทธิในการดูแลชีวิตของคู่รัก สิทธิในการดูแลจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส การเป็นตัวแทนทางกฎหมายและการสามารถรับมรดกจากคู่สมรสได้ ทำให้คู่ LGBTQIA+ สามารถทำประกันชีวิตให้กันและสามารถเป็นผู้รับผลประโยชน์

หรือสร้างความมั่นคงในฐานะครอบครัว เช่น การกู้เงินเพื่อซื้อบ้านร่วมกัน การถือกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินร่วมกัน ซึ่งการได้รับการรับรองจากรัฐจะช่วยสร้างความเชื่อถือให้กับธุรกิจประกันภัยและธุรกิจบริการทางการเงินได้ง่ายขึ้น ส่งผลทำให้ธุรกิจดังกล่าวมีแนวโน้มเติบโตจากความต้องการในการทำประกันภัยหรือการร่วมสร้างครอบครัวหรือธุรกิจร่วมกับคู่รัก

ธุรกิจการให้คำปรึกษา-วางแผนครอบครัว รับอานิสงส์

และเชื่อว่าธุรกิจการให้คำปรึกษา และการวางแผนครอบครัวสำหรับคู่รักหลากหลายเพศ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความบันเทิงและนันทนาการ โดยเฉพาะซีรีส์วาย ซึ่งสร้างรายได้ให้กับไทยเป็นอย่างมาก และยังสามารถสอดแทรกวัฒนธรรม สินค้าและบริการของไทยได้เป็นอย่างดี ทำให้ไทยเป็นที่รู้จักในตลาดโลก รวมถึงโอกาสในการเป็นเจ้าภาพจัดงานเทศกาลระดับโลก World Pride ซึ่งจะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของไทยในระดับสากลและก่อให้เกิดรายได้ในธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้องของไทยได้อย่างมหาศาล

ฎหมายสมรสเท่าเทียมนี้จะมีส่วนสำคัญในการสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจให้กับไทย และมีส่วนเสริมในการผลักดันเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะภาคบริการให้เติบโตอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งกลุ่มผู้บริโภค LGBTQIA+ เป็นกลุ่มผู้บริโภคศักยภาพที่มีกำลังซื้อสูง ซึ่งไทยสามารถใช้โอกาสนี้ในการพัฒนาภาคบริการของไทยเพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่าง และยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคบริการไทยผ่านตลาดกลุ่มผู้บริโภค LGBTQIA+ มากขึ้น

“สมรสเท่าเทียม” โอกาสทองภาคธุรกิจ ชิงเค้กตลาดก้อนโต กำลังซื้อสูง

ด้าน ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เปิดเผยว่า กลุ่ม LGBTQIAN+ (หรือกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ) เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีศักยภาพในการใช้จ่าย อีกทั้งแนวโน้มการขยายตัวของประชากรกลุ่มนี้ จากการวิเคราะห์ของ GAY TIMES (โดยใช้ข้อมูลของ IPSOS และ UN Population ร่วมกัน) คาดว่าประชากร LGBTQIAN+ จะมีจำนวนถึง 1 พันล้านคนทั่วโลกภายในปี 2593 ขณะที่ข้อมูลจาก LGBT Capital ณ สิ้นปี 2562 ระบุว่าผู้บริโภคกลุ่ม LGBTQIAN+ มีอำนาจการใช้จ่ายรวมกันถึง 3.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ถือเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่น่าจับตามองอย่างมาก

นอกจากนี้ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย มองว่า หากผ่านเป็นกฎหมายแล้วจะช่วยคู่สมรส LGBTQIAN+ ให้เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยร่วมกันได้อย่างไรบ้าง

• เปิดโอกาสในการกู้ซื้ออสังหาฯ ร่วมกัน แม้ปัจจุบันบางธนาคารจะเปิดโอกาสให้คู่รักชาว LGBTQIAN+ สามารถกู้ร่วมซื้อบ้านได้เช่นเดียวกับคู่รักต่างเพศ หรือมีแคมเปญรองรับคู่รักกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศโดยเฉพาะแล้ว อย่างไรก็ตาม ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมจะทลายกรอบทางเพศลง เปิดทางให้คู่รักทุกเพศสามารถจดทะเบียนสมรสได้และมีสถานะทางกฎหมายเป็นคู่สมรส ซึ่งจะสามารถยื่นกู้ร่วมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยในนามคู่สมรส และมีกรรมสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยร่วมกันเช่นเดียวกับคู่สมรสชาย-หญิง

• มีสิทธิ์การจัดการทรัพย์สินหรือสินสมรสร่วมกัน ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมจะช่วยให้คู่สมรส LGBTQIAN+ มีสิทธิในการบริหารจัดการสินสมรสร่วมกันตามกฎหมาย ได้แก่ ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส เช่น เงินเดือน โบนัส หรือทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือการให้เป็นหนังสือโดยระบุว่าเป็นสินสมรส

รวมทั้งทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว ในกรณีที่ผู้บริโภคมีการซื้อบ้าน/คอนโดมิเนียมตั้งแต่ตอนยังโสดจะถือว่าที่อยู่อาศัยนั้นเป็นสินส่วนตัว หากมีการจดทะเบียนสมรสในภายหลัง และต้องการเพิ่มชื่อคู่สมรสเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ดังนี้ 

  • ค่าใช้จ่ายในการให้ 0.5% ของราคาประเมิน
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร ผู้ให้เปรียบเสมือนเป็นผู้ขายจึงต้องนำเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเฉพาะในส่วนที่ให้คู่สมรส
  •  ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ของราคาซื้อขาย แต่ต้องไม่ต่ำกว่าราคาประเมินที่ดิน โดยต้องครอบครองมากกว่า 5 ปีขึ้นไป หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี หากไม่ตรงตามเกณฑ์นี้ จะเข้าข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตรา 3.3% ของราคาซื้อขายแทน

“สมรสเท่าเทียม” โอกาสทองภาคธุรกิจ ชิงเค้กตลาดก้อนโต กำลังซื้อสูง

ในกรณีซื้อบ้าน/คอนโดฯ หลังจดทะเบียนสมรสแล้วจะถือว่าเป็นสินสมรส หากต้องการเพิ่มชื่อคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสเรียบร้อยแล้วเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อีกคน จะเสียค่าธรรมเนียมอยู่ที่ประมาณ 75 บาท หรือหากต้องการเพิ่มชื่อคู่สมรสในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนจากการกู้เดี่ยวมาเป็นการกู้ร่วมนั้น ธนาคารจะนำรายได้และภาระหนี้ของคู่สมรสที่กู้ร่วมมาพิจารณาด้วยอีกครั้ง

  •  สิทธิในการรับมรดกจากคู่สมรส พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ได้รับมรดกที่มีมูลค่าสุทธิรวมเกิน 100 ล้านบาท โดยทรัพย์สินมรดกที่จะต้องเสียภาษีมี 5 ประเภท ได้แก่

1. อสังหาริมทรัพย์

2. หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

3. เงินฝากหรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกันซึ่งอยู่ในประเทศไทย

4. ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน

5. ทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา

“สมรสเท่าเทียม” โอกาสทองภาคธุรกิจ ชิงเค้กตลาดก้อนโต กำลังซื้อสูง

อย่างไรก็ดีหากผู้ที่ได้รับมรดกเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องของเจ้าของมรดกนั้น ๆ คู่สมรสจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมรดก ซึ่งร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมจะทำให้คู่สมรส LGBTQIAN+ ได้รับสิทธินี้เช่นกัน หรือหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตและไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ คู่สมรส LGBTQIAN+ ที่ยังมีชีวิตจะถือเป็นทายาทโดยธรรมอันมีสิทธิรับมรดกของคู่สมรสที่เสียชีวิตได้ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องเสียภาษีมรดกเช่นกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related