svasdssvasds

เปิดไทม์ไลน์ LGBTQ+ จดทะเบียนได้เมื่อไร หาก สว. ผ่านร่าง “สมรสเท่าเทียม”

เปิดไทม์ไลน์ LGBTQ+ จดทะเบียนได้เมื่อไร หาก สว. ผ่านร่าง “สมรสเท่าเทียม”

ชาวสีรุ้งฉลองได้ “วุฒิสภา” คลอด กฎหมาย "สมรสเท่าเทียม" แล้ว เปิดหน้าประวัติศาสตร์ความหลากหลายทางเพศ โดยมีมติรับหลักการร่างทั้ง 4 ฉบับ ด้วยคะแนนเป็นเอกฉันท์ 451 เสียง และได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาร่างพ.ร.บ.ประชามติ 31 คน

ที่ประชุมพิจารณาร่างแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่...) พ.ศ.... ซึ่งมีผู้เสนอสู่สภา รวม 4 ฉบับ คือ ฉบับของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ฉบับของพรรคเพื่อไทย ฉบับของพรรคก้าวไกล และฉบับของพรรคภูมิใจไทยได้ลงมติรับหลักการร่างทั้ง 4 ฉบับ ด้วยคะแนนเห็นด้วย 130 เสียง ไม่เห็นด้วย 4 เสียง งดออกเสียง 18
ไม่ลงคะแนนเสียง 0  ผู้ลงมติ 152 เสียง และได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาร่างพ.ร.บ.ประชามติ 31 คน และมีระยะเวลาการแปรญัตติ 15 วัน โดยมี ร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นร่างหลักในการพิจารณาวาระที่ 2

วันนี้ (18 มิ.ย. 2567) ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ "ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม" ได้ถูกบรรจุเป็น 1 ในระเบียบวาระการประชุมวุฒิสภาสมัยวิสามัญ และหลายฝ่ายคาดว่า อาจมีมติเห็นชอบ โดยหากที่ประชุมวุฒิสภาเห็นชอบ ร่างกฎหมายดังกล่าว จะถูกส่งไปยัง ครม. จากนั้นนายกฯ จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยจะมีผลใช้บังคับหลังกฎหมายประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 120 วัน หรือประมาณช่วงปลายปีนี้

เปิดไทม์ไลน์ LGBTQ+ จดทะเบียนได้เมื่อไร หาก สว. ผ่านร่าง “สมรสเท่าเทียม”

วันนี้จะเป็นวันที่สำคัญของพี่น้องคนไทย โดยเฉพาะ LGBTQ+ เพราะว่าเป็นวันที่สมาชิกวุฒิสภาจะพิจารณาในวาระสองและวาระสามของร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่...) พ.ศ. .... หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งกฎหมายดังกล่าวเป็นการเดินทางที่ยาวไกลตั้งแต่ปี 2555 มาจนถึงวันนี้ เป็นระยะเวลากว่าหนึ่งทศวรรษที่ได้ฝ่าฟันแล้วแก้ไขปัญหากันมา วันนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าช่วงบ่ายเราจะได้รับข่าวดีจากทางวุฒิสภา ซึ่งเมื่อผ่านวาระสามของทางวุฒิสภาแล้วไม่ได้แปลว่ากฎหมายมีผลบังคับใช้ทันที

เราต้องรอให้มีการมีการนำทูลเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ลงพระปรมาภิไธย เพื่อที่จะประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ซึ่งคาดว่าคงใช้เวลาไม่นาน แต่ว่าอย่างน้อย เมื่อพ้นวันนี้ไปแล้วเรามั่นใจว่ากฎหมายสมรสเท่าเทียม จะทำให้คนไทยทุกคนไม่ว่าจะเป็นเพศใด สถานะใด นั้นสามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้ถูกต้องตามกฎหมายทั้งสิทธิต่างๆ ทางด้านแพ่ง รวมถึงเรื่องสินสมรส และเรื่องอะไรต่างๆ นั้นจะมีสิทธิได้รับเหมือนทุกๆ คน

นอกจากนี้ ช่วงเย็นวันนี้จะมีการเฉลิมฉลองกันที่ทำเนียบรัฐบาล บริเวณหน้าตึกไทยคู่ฟ้าเพื่อเป็นสัญลักษณ์ส่งไปให้กับพี่น้องทั่วโลกได้ทราบว่าวันนี้ประเทศไทยของเราได้เดินหน้าไปอีกหนึ่งก้าวที่สำคัญเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมในการเดินไปข้างหน้า ทุกๆ คนพร้อมกัน โดยที่ไม่ทิ้งคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเอาไว้ข้างหลัง

เปิดไทม์ไลน์ LGBTQ+ จดทะเบียนได้เมื่อไร หาก สว. ผ่านร่าง “สมรสเท่าเทียม”

ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่

วันที่ 19-23 มิ.ย. 67 นายกฯ รอไว้ 5 วัน เผื่อมีโต้แย้ง

เมื่อร่างกฎหมายได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่สาม คือ การประกาศใช้ ให้นายกรัฐมนตรีรอไว้ 5 วัน ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าเพื่อลงพระปรมาภิไธย ซึ่งระหว่างนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 148 ระบุว่า หาก

1) นายกรัฐมนตรี 2) สมาชิกไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของทั้งหมดของแต่ละสภาหรือทั้งสองสภารวมกัน กล่าวคือ ส.ส. 50 คน, ส.ว. 25 คน หรือ ส.ส. รวมกับ ส.ว. รวมกัน 75 คน เห็นว่า ร่างกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิฉัย ถ้าศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า มีข้อความที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญให้ตัดข้อความนั้นออกไป แต่ถ้าข้อความนั้นเป็นสาระสำคัญให้ร่างกฎหมายนั้นตกไป 

ทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย แล้วจึงประกาศใช้เป็นกฎหมาย

24 มิ.ย. – 14 ก.ค. 67 นายกฯ นำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน

เมื่อร่างกฎหมายได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว รัฐธรรมนูญ มาตรา 145 ระบุให้นายกรัฐมนตรีรอไว้ 5 วัน แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ภายใน 20 วัน เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ก็ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายได้ 

เปิดไทม์ไลน์ LGBTQ+ จดทะเบียนได้เมื่อไร หาก สว. ผ่านร่าง “สมรสเท่าเทียม”

ร่างกฎหมายฉบับใด พระมหากษัตริย์ไม่เห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือพ้นไปแล้ว 90 วันไม่ได้พระราชทานคืน ให้รัฐสภาประชุมร่วมกันอีกครั้ง ตามมาตรา 146 รัฐสภาหรือ ส.ส. และ ส.ว. สามารถลงมติยืนยันร่างกฎหมายนั้นอีกครั้งด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของทั้งสองสภา (750 คน) หรือ ส.ส และ ส.ว. รวมกัน 500 เสียง และให้นายกรัฐมนตรีนำทูลเกล้าอีกครั้ง ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงพระปรมาภิไธยภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างกฎหมายนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เลย

“สว.วรพงษ์” ค้าน “สมรสเท่าเทียม” มองเป็นการกดเพศชายหญิง

บรรยากาศในการประชุมวันนี้เป็นไปอย่างราบรื่น สว.ส่วนใหญ่ เห็นพ้องกับคณะกรรมาธิการ โดยมีสมาชิกอภิปราย 1-2 คนในแต่ละมาตรา โดยหนึ่งในคนที่เป็นที่จับตาคือ พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร เป็น สว.ที่ขอสงวนคำแปรญัตติเกือบทุกมาตรา โดยพยายามเปลี่ยนนิยามของคำ เช่น คำว่าคู่สมรส เปลี่ยนเป็นสามีภรรยาหรือคู่สมรส ,คำว่าบุคคล เปลี่ยนเป็นชายและหญิง

พลเอกวรพงษ์ ย้ำว่าไม่เห็นด้วยกับวิธีการและหลักการในการแก้ไขกฎหมายในครั้งนี้ การเอาคำว่าสามีภรรยา เพศชาย เพศหญิงออกไป และใช้คำอื่นมาแทน เช่น คู่สมรส-คู่หมั้น ซึ่งไม่ได้ระบุเพศที่ชัดเจนมาแทน โดยอ้างว่าเพื่อให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม การแก้ไขแบบนี้ตนถือว่าเป็นการเซาะกร่อนบ่อนทำลายสถาบันครอบครัวอย่างรุนแรงที่สุด เพราะสถาบันครอบครัวเป็นสถาบันที่สำคัญของสังคมไทย และอยู่ในสภาพที่เปราะบาง การดำเนินการดังกล่าวจะทำให้สถาบันครอบครัวพังทะลายลงเร็วขึ้น

พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร สมาชิกวุฒิสภา

ถ้าถามว่าครอบครัวประกอบด้วยใครบ้าง ถามเด็ก ถามใคร ถามผู้ใหญ่ ถามที่โรงเรียน เขาก็จะบอกว่าประกอบด้วยพ่อแม่ลูกพ่อคือผู้ชายแม่คือผู้หญิง หรืออาจจะบอกว่าประกอบด้วยสามีภรรยา และบุตรสามีคือผู้ชายภรรยาคือผู้หญิง บุตรก็ว่าไป

คำพวกนี้เขามีความหมาย และระบุเพศไว้ชัดเจนว่าเพศอะไร เพศกำเนิด ที่สำคัญคือคำว่าสามีภรรยาจะปรากฏอยู่ในกฎหมายฉบับนี้เป็นที่แรก เพราะเกิดจากการสมรส ถ้าเอาออกไปจะหายไปจากสารบบภาษาไทย จะสะเทือนถึงสถาบันครอบครัว ไปถึงเรื่องเพศชายเพศหญิง

การแก้ไขตรงนี้จะบานปลายต่อไปอีก เพราะฉะนั้นต้องคิดให้ดี ว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร ตนจึงบอกว่าการแก้กฎหมายแบบนี้ไม่ได้เป็นการยกระดับ LGBTQ ขึ้นมาให้เท่าเทียมกับเพศชายเพศหญิง แต่เป็นการกดเพศชายเพศหญิงลงไปให้เข้ากับ LGBTQ จะทำให้ภาพเบลอไม่ชัด

“LGBTQ ก็จะไปเรียกร้องให้แก้แบบเรียน มหาดไทยต่างๆ เพื่อให้เข้าไปในกลุ่มของท่าน ทะเบียนสมรสก็ออกแบบใหม่อีกแล้ว ไม่มีผู้ชายชื่ออะไร ผู้หญิงชื่ออะไร ผมติดใจการแก้ไขกฎหมาย ทำไมท่านถึงไม่เอะใจ ว่ากฎหมายฉบับนี้จะก่อให้เกิดปัญหาอะไรบ้าง” พลเอกวรพงษ์ กล่าว

พลเอกวรพงษ์ ระบุว่าการแก้ไขกฎหมายแบบนี้ได้ 10 เสีย 90 สังคมสภาพครอบครัวถูกเซาะกร่อนทำลาย ถ้าไม่ตั้งใจก็ถือว่าดี แต่ถ้าตั้งใจก็ถือว่าแย่มาก ตนขอให้พอ ยังกลับตัวทัน พร้อมขอให้เพื่อนสมาชิกฟังตนอธิบายด้วยความรอบคอบก่อนที่จะลงมติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related