SHORT CUT
เพราะอะไรขึ้นเครื่องบินทุกครั้ง เจอเด็กร้องไห้เสมอ ทำไมเด็กถึงร้องไห้บนเครื่องบิน แล้วผู้โดยสารคนอื่นจะทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาได้บ้าง ?
เชื่อว่าผู้ที่เดินทางด้วยเครื่องบินทุกคน ต้องมีประสบการณ์เจอเด็กร้องไห้ไม่หยุดบนเครื่องบินแน่นอน ซึ่งล่าสุดมีประเด็นร้อนในโลกออนไลน์ของจีน เมื่อมีคลิปเหตุการณ์ ผู้โดยสารชาวจีน 2 ราย ในเที่ยวบินของสายการบิน จูนเหยาแอร์ (Juneyao Air) ได้เอาเด็ก 1 ขวบขังไว้ในห้องน้ำ เพื่อทำโทษเด็กที่ร้องไห้ไม่หยุด
โดยเด็ก 1 ขวบกล่าว เดินทางมาพร้อมกับปู่และย่า แต่เด็กร้องไห้ไม่หยุด ปู่กับย่าก็พยายามแก้ไขสถานการณ์สุดฝีมือแล้ว แต่ก็ยังไม่เป็นผล จนผู้โดยสารคนอื่นต้องเอากระดาษมาอุดหู และบางคนถึงกับหนีไปอยู่ท้ายเครื่องบิน ก่อนที่จะมีผู้โดยสาร 2 คนทนไม่ไหว จึงพาเด็กไปขังไว้ในห้องน้ำ และสั่งว่า ถ้าไม่หยุดร้องจะไม่ปล่อยออกไป ทำให้เด็กร้องไห้หาคุณย่าหนักกว่าเดิม แต่ในที่สุดก็หยุดร้องเมื่อเวลาผ่านไป
เหตุการณ์นี้ สายการบิน จูนเหยาแอร์ ออกมาเผยว่า ผู้เป็นปู่และย่าออกมายอมรับผิดที่ปล่อยให้หลานไปรบกวนผู้โดยสารคนอื่น ส่วนในโลกออนไลน์ เสียงของสังคมก็แตกต่างกันออกไป บ้างก็บอกว่าการกระทำของผู้โดยสารแปลกหน้าทั้ง 2 คนทำถูกแล้ว บ้างก็เห็นใจคนเป็นปู่และย่า และต่อว่าการคนแปลกหน้า 2 คนนั้นว่าทำกับเด็กเกินไป
ทั้งนี้ ข่าวเกี่ยวกับพ่อแม่ปล่อยให้เด็กร้องไห้บนเครื่องบิน รถไฟ หรือรถบัส จนมีปัญหากับผู้โดยสารคนอื่น เพราะเป็นเรื่องยากที่พ่อแม่ทั่วไปจะควบคุม เด็กวัยเตาะแตะ (อายุ 1-3 ขวบ) ให้มีอารมณ์นิ่งๆ ตลอดการเดินทางได้
ไม่ว่าคุณจะเป็นพ่อแม่ของเด็กเอง หรือเป็นแค่ผู้โดยสารที่นั่งอยู่ใกล้ๆ การต้องนั่งฟังเสียงร้องไห้สุดแหลมของเด็กตลอดการเดินทางนั้น ไม่ใช่เรื่องที่น่าอภิรมย์สักนิด
มีหลายสาเหตุที่ทารกอาจร้องไห้บนเครื่องบิน เช่นความรู้สึกไม่สบาย อ่อนเพลีย หิว เหงา เบื่อ โกรธ และกระสับกระส่ายทั่วไป ที่ทำให้เสียงคร่ำครวญและน้ำตาไหลออกมา
แต่โดยทั่วทั่วไป คือความดันที่เกิดจากการบินในระดับความสูง คือสิ่งที่ไม่ถูกกับสภาพร่างกายของเด็กทารกวัยเตาะแตะ เพราะหูของทารกและหูของผู้ใหญ่มีความแตกต่างกันทาง กายวิภาคพื้นฐาน
ทารกไม่เก่งในการปรับความดันในหูชั้นกลาง เนื่องจากท่อ ‘ยูสเตเชียน (Eustachian Tube) ’ ของทารกจะทำงานได้ไม่ดีเท่าท่อของผู้ใหญ่ ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว ท่อนี้จะควบคุมความดันภายในหูชั้นกลาง ให้เท่ากับความดันอากาศภายนอกร่างกาย ท่อยูสเตเชียนจะปิดอยู่ตลอดเวลา โดยจะเปิดเฉพาะเมื่อทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การหาว การกลืน และการเคี้ยว ซึ่งจะช่วยให้อากาศผ่านระหว่างหูชั้นกลางและโพรงจมูกได้
ในระหว่างการเดินทางโดยเครื่องบิน ผู้ใหญ่จะตั้งใจหาวหรือกลืนน้ำลายเพื่อเปิดท่อแ ละทำให้ความดันภายในหูชั้นกลางเท่ากันเพื่อลดอาการหูอื้อ หรือเจ็บหู แต่เด็กทารกยังไม่สามารถทำได้ดีเท่าผู้ใหญ่ จึงรู้สึกไม่สบายตัว อึดอัดจนต้องร้องไห้ออกมานั่นเอง
เว็บไซต์ ‘Live Science’ เผย 3 วิธีที่อาจช่วยหยุดไม่ให้เด็กทารกร้องไห้สำเร็จ ได้แก่
นอกจากวิธีพื้นฐานทั่วไป แต่ละสายการบินชั้นนำ ยังมีวิธีเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจช่วยหยุดเสียงร้องไห้เด็กบนเครื่องได้ เช่น บริติชแอร์เวย์ (British Airways) แนะนำว่า พ่อแม่ควรใช้สีหน้ายิ้มแย้ม และน้ำเสียงที่เป็นมิตรในการปลอบ เพื่อให้เด็กทารกสัมผัสได้ถึงความสบายใจขณะเดินทาง ซึ่งในจุดนี้พ่อแม่หลายคู่มักทำผิดพลาดด้วยการใช้เสียงดังบังคับให้เด็กหยุดร้องไห้ แต่ท่าทางที่เป็นการบีบบังคับจะทำให้เด็กเครียดและร้องไห้หนักกว่าเดิม
หากเกินความสามารถที่จะจัดการด้วยตัวเอง เราสามารถเรียกพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพื่อปรึกษาก็ได้ว่าเขามีวิธีจัดการอย่างไร
ทั้งนี้ การจะไม่ให้เด็กทารกร้องไห้ตลอดการเดินทางนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะนอกจากเรื่องความดัน ก็มีเรื่องเสียงของผู้โดยสาร เสียงของเครื่องยนต์ เครื่องบินตกหลุมอากาศ และสภาพแวดล้อมคับแคบที่ทำให้เด็กร้องไห้ได้เช่นกัน ดังนั้นความอดทนในบางครั้งจึงอาจเป็นเครื่องมือให้นักเดินทางทุกคนผ่านสถานการณ์แบบนี้ไปได้
อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองหลายคนเข้าใจสถานการณ์เป็นอย่างดี พ่อแม่เด็กอ่อนในหลายประเทศจากตะวันตก จึงมักพกถุงจะบรรจุสิ่งของเล็กๆ น้อยๆ อย่างที่อุดหู ลูกอม ขนม แล้วมอบให้กับผู้โดยสารที่นั่งใกล้เคียง เพื่อขออภัยในความไม่สะดวกที่มีสียงร้องไห้หรือความซุกซนของเด็กเล็ก และเป็นการแสดงน้ำใจต่อเพื่อนร่วมเดินทางอีกด้วย
ที่มา : livescience,The Star
ข่าวที่เกี่ยวข้อง