svasdssvasds

เฉลิมชัย กำชับกรมอุทยานฯ แก้ไขปัญหาช้างป่า ย้ำผู้ปฏิบัติงานต้องปลอดภัย

เฉลิมชัย กำชับกรมอุทยานฯ แก้ไขปัญหาช้างป่า ย้ำผู้ปฏิบัติงานต้องปลอดภัย

"เฉลิมชัย" กำชับ กรมอุทยานฯ แก้ปัญหาช้างป่าทำร้ายคน ย้ำผู้ปฏิบัติงานต้องปลอดภัยที่สุด ทุกส่วนร่วมแก้ปัญหาเพื่อลดการเผชิญหน้าระหว่างคนและช้าง อย่างต่อเนื่อง น่าตกใจ! ตายจากช้าง 227 ราย บาดเจ็บ 203 รายในรอบ 12 ปีที่ผ่านมา

SHORT CUT

  • เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.ทส. กำชับกรมอุทยานฯ เร่งแก้ไขปัญหาช้างป่าทำร้ายคน
  • ย้ำแนวทางผู้ปฏิบัติงานต้องปลอดภัยที่สุด พร้อมทำงานร่วมทุกภาคส่วน โดยเฉพาะชุมชนในพื้นที่
  • สถิติ 12 ปีที่ผ่านมา มีผู้สูญเสียเพราะช้างป่ากว่า 207 คน และแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

"เฉลิมชัย" กำชับ กรมอุทยานฯ แก้ปัญหาช้างป่าทำร้ายคน ย้ำผู้ปฏิบัติงานต้องปลอดภัยที่สุด ทุกส่วนร่วมแก้ปัญหาเพื่อลดการเผชิญหน้าระหว่างคนและช้าง อย่างต่อเนื่อง น่าตกใจ! ตายจากช้าง 227 ราย บาดเจ็บ 203 รายในรอบ 12 ปีที่ผ่านมา

จากกรณีที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูกระดึงประสบอุบัติเหตุและต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ระหว่างปฏิบัติหน้าที่อย่างหนัก หลังเกิดเหตุช้างป่าทำร้ายนักท่องเที่ยวเสียชีวิต ต้องเร่งตรวจสอบพื้นที่และกำหนดมาตรการความปลอดภัยก่อนเปิดให้ท่องเที่ยว ในวันที่ 23 ธันวาคมนี้ หลังจากที่ปิดให้บริการไปตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม ที่ผ่านมา

 

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้เข้าเยี่ยมและให้กำลังใจนายอดิสร เหมทานนท์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ได้กำชับหน่วยงานในสังกัดเกี่ยวกับการปฏิบัติภารกิจแก้ไขปัญหาช้างป่าโดยให้คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ ซึ่งการแก้ไขปัญหาต้องเป็นไปอย่างมีระบบ โดยให้บูรณาการกับทุกภาคส่วน ตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจหรือวอร์รูม (War Room) ในพื้นที่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ให้เจ้าหน้าที่ชุดผลักดันช้างป่าเพิ่มการลาดตระเวนให้เข้มข้นมากขึ้น การกำหนดมาตรการป้องกัน และแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ที่มีช้างป่าออกนอกพื้นที่ป่าอย่างต่อเนื่อง รวมถึงติดตามช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ ได้แก่ เงินเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิต เพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบได้รับการดูแล ชดเชย และเยียวยาที่สอดคล้องกับความสูญเสียและรวดเร็วทันท่วงที

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในฐานะหน่วยงานที่ใกล้ชิดประชาชน อาสาสมัคร และชุมชนหรือประชาชนที่อยู่ใกล้พื้นที่ที่มีปัญหาช้างป่า ก็ได้ร่วมมือกันแก้ปัญหามาอย่างต่อเนื่อง ด้วยกระบวนการขยายข้อมูล สื่อสารสร้างความเข้าใจ และสนับสนุนให้เกิดการปรับตัว เพื่อบรรเทาความรุนแรงของการเผชิญหน้าระหว่างคนกับช้างป่า ให้อยู่ในจุดสมดุลที่ปลอดภัยทั้งคนและช้างป่า

 

จากสถิติพบว่า ประเทศไทยมีประชากรช้างป่าประมาณ 4,013-4,422 ตัว กระจายตัวอยู่ใน 16 กลุ่มป่า 94 พื้นที่อนุรักษ์ทั่วประเทศ และจากสถิติ 3 ปีย้อนหลัง (2564-2566) พบช้างป่าออกนอกพื้นที่มากกว่า 37,000 ครั้ง สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและพืชผลเกษตรกรรวมกว่า 3,800 ครั้ง และที่น่าวิตก คือในช่วง 12 ปี (2555-2567) มีผู้เสียชีวิตมากถึง 227 ราย บาดเจ็บ 203 ราย เฉพาะปี 2567 มีผู้บาดเจ็บ 34 คน ผู้เสียชีวิต 39 คน แนวโน้มเพิ่มมากขึ้นกว่าปี 2566

สำหรับการช่วยเหลือเยียวยาประชาชน เจ้าหน้าที่ และอาสาสมัคร ที่บาดเจ็บและเสียชีวิตจากสัตว์ป่า เฉพาะในปี พ.ศ.2567 กรมอุทยานฯ ช่วยเหลือเยียวยาตามหลักเกณฑ์ ไปแล้วเป็นจำนวนเงิน 4,810,622.75 บาท จากการเสียชีวิต 34 ราย บาดเจ็บ 60 ราย แยกเป็นช้างป่า 60 ครั้ง กระทิง 15 ครั้ง วัวแดง 1 ครั้ง ลิง 18 ครั้ง แยกเป็นเจ้าหน้าที่ เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บ 3 ราย เยียวยาเป็นเงิน 1,051,526 บาท อาสาสมัคร เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 2 ราย เยียวยาเป็นเงินทั้งสิ้น 202,400 บาท ประชาชน เสียชีวิต  31 ราย บาดเจ็บ 55 ราย เยียวยาเป็นเงิน 3,556,696,75 บาท โดยใช้งบประมาณตามหลักเกณฑ์และวิธีการช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสัตว์ป่า พ.ศ. 2567 หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินสวัสดิการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์ป่าในการปฏิบัติหน้าที่ พ.ศ. 2566 หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินสวัสดิการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์ป่าในการปฏิบัติหน้าที่ พ.ศ. 2566

 

ทั้งนี้ขอให้พี่น้องประชาชนทุกคนร่วมเป็นอีกหนึ่งพลังในการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่ารวมทั้งให้กำลังใจเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครที่ทำหน้าอย่างหนักเพื่อเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าไม่ให้ออกมาสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน

related