svasdssvasds

อสังหาฯ ไตรมาส 2 หัวทิ่ม ยอดขาย – โอนดิ่งเหวต่อเนื่อง เบรกโครงการใหม่

อสังหาฯ ไตรมาส 2 หัวทิ่ม ยอดขาย – โอนดิ่งเหวต่อเนื่อง เบรกโครงการใหม่

ส่องความเคลื่อนไหวธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ไตรมาส 2 2567ส่อวิกฤต ยอดขาย – โอนดิ่งเหวต่อเนือง ผู้ประกอบการเบรกโครงการใหม่รักษาสภาพคล่องมากขึ้น

SHORT CUT

  • ชีพจรของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทยตอนนี้เห็นที่จะชีพจรแผ่วเบามาก
  • แม้ว่รัฐบาลจะออก 5 มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ต้นเดือนเม.ย. 2567 ที่ผ่านมา แต่ภาพรวมตลาดไม่คึกคักเท่าที่ควร
  • ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ไตรมาส 2 2567ส่อวิกฤต ยอดขาย – โอนดิ่งเหวต่อเนือง

ส่องความเคลื่อนไหวธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ไตรมาส 2 2567ส่อวิกฤต ยอดขาย – โอนดิ่งเหวต่อเนือง ผู้ประกอบการเบรกโครงการใหม่รักษาสภาพคล่องมากขึ้น

ชีพจรของคนเรายังมีขึ้นมีลง ชีพจรของภาคธุรกิจก็เช่นกัน โดยเฉพาะชีพจรของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทยตอนนี้เห็นที่จะชีพจรแผ่วเบามาก แม้ว่รัฐบาลจะออก 5 มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ต้นเดือนเม.ย. 2567 ที่ผ่านมา แต่ภาพรวมตลาดไม่คึกคักเท่าที่ควร โดยแนวโน้มไตรมาส 2 อสังหาริมทรัพย์ไทยส่อวิกฤต ยอดขาย – โอนดิ่งมากจากไตรมาสแรกของปี2567 พบว่า ติดลบยกแผงส่งผลทำให้ดีเวลลอปเปอร์ชะลอเปิดตัวโครงการ เพื่อรักษาสภาพคล่อง

 

โดย “พรนริศ ชวนไชยสิทธิ์” นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย เปิดเผยว่า ไตรมาสแรก ปี2567 ที่ผ่านมา  ตัวเลขยอดขาย ยอดโอน ยอดเปิดตัว ตกลงอย่างรุนแรง เรียกได้ว่าแดงเต็มกระดาน โดยเฉพาะทาวน์เฮ้าส์ต่ำสุดในรอบ 12 ปี ส่งผลให้แนวโน้มไตรมาส 2 อาจติดลบหนักกว่าไตรมาสแรก เพราะปัญหาหลักคือ ลูกค้าไม่มีกำลังซื้อ

นอกจากนี้ยังพบว่า ตัวเลขโอนที่ตกลงเป็นเพราะธนาคารไม่อนุมัติสินเชื่อ ลูกค้าไม่มีเงินโอน ซึ่งมาตรการที่รัฐบาลออกมาส่วนใหญ่เป็นการกระตุ้นซัพพลาย แต่ไม่มีมาตรการช่วยเหลือด้าน “ดีมานด์”  ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ที่ฝั่งดีมานด์ ดังนั้นที่รัฐบาลสามารถช่วยได้ง่ายมากคือ ทำให้เศรษฐกิจดี จะทำให้คนมีเงินมาจับจ่ายใช้จ่าย ถือเป็นโจทย์ใหญ่ที่รัฐบาลต้องเร่งทำ เพื่อให้ทุกธุรกิจเดินต่อไปได้

อสังหาฯ ไตรมาส 2 หัวทิ่ม ยอดขาย – โอนดิ่งเหวต่อเนื่อง เบรกโครงการใหม่

“ต้องการให้ธนาคาร สถาบันการเงินมีความยืดหยุ่นให้กลุ่มคนที่มีศักยภาพซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียมได้มากขึ้น เพราะถ้าไม่ปล่อยลูกค้ารายย่อย ลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จะไปไม่รอดเหมือนกัน สุดท้ายจะกลายเป็นหนี้เสียโครงการกลายเป็นเรื่องใหญ่ตามมา เพราะอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจที่มีซัพพลายเชนจำนวนมาก"

จากสถานการณ์ที่ไม่สู้ดีนักของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ทำให้ดีเวลลอปเปอร์ทบทวน “ชะลอ” การลงทุน หรือเปิดตัวโครงการใหม่ เพื่อลดความเสี่ยง รักษาสภาพคล่องไว้จนกว่าสถานการณ์กำลังซื้อ ตลาดปรับตัวดีขึ้น ค่อยพัฒนาโครงการใหม่ออกมา มิเช่นนั้นอาจเผชิญผลกระทบรุนแรงสู่ภาวะล้มหายตายจากไปก่อนที่เศรษฐกิจฟื้นตัว

ด้าน “อิสระ บุญยัง” ประธานคณะกรรมการอสังหาริมทรัพย์ออกแบบและก่อสร้าง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ต้องระมัดระวังการพัฒนาโครงการมากขึ้นจากปัจจัยลบที่รุมเร้าตลาด  หนึ่งในนั้นคือ การชำระคืน “หุ้นกู้” ที่จะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศของตลาดอสังหาริมทรัพย์

อย่างไรก็ตามเวลานี้เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว แม้ท่องเที่ยวจะดีขึ้น แต่ภาคครัวเรือนยังคงมีปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง ลากยาวมาจากวิกฤติโควิด-19 กระทบทุกธุรกิจโดยเฉพาะรายกลาง และรายย่อย ความเชื่อมั่นทางการบริโภคลดลง สะท้อนจากตัวเลขยอดขาย ยอดโอน การเปิดตัวโครงการใหม่ในไตรมาสแรกต่ำสุดรอบ 6 ปี

สำหรับภาคธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนในโครงการระยะยาว มีช่องทางดีลกับสถาบันการเงิน หรือแม้ว่าการออกหุ้นกู้จะเป็นเรื่องง่าย แต่กรณีที่โครงการที่มีระยะเวลายาวนานกว่าหุ้นกู้ การใช้สินเชื่อจากสถาบันการเงินมีความจำเป็นที่ต้องทำควบคู่กัน เพราะกรณีเศรษฐกิจมีปัญหาสามารถเจรจาได้กับผู้ประกอบการรายเดียวคือ สถาบันการเงินที่มีความยืดหยุ่น แต่หากเป็นหุ้นกู้มีลูกค้าหลากหลายมาก ดังนั้น ต้องบาลานซ์ระหว่างสินเชื่อจากสถาบันการเงินกับการออกหุ้นกู้

ปี2567 นับว่าเป็นฝันร้ายจริงๆ สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทยทั้งกำลังซื้อตก ยอดขาย ยอดโอนแผ่วยกแผง แถมยังต้องชะลอการลงทุนใหม่อีกด้วย! แต่เชื่อว่าจะทำให้ผู้ประกอบการปรับตัวได้สู้กับวิกฤตครั้งนี้ ฟ้าหลังฝนย่อมสวยงามเสมอ วันที่..เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related