svasdssvasds

เปิดเงื่อนไข "ลงทะเบียนดิจิทัลวอลเล็ต" ร้านค้า-ประชาชน เงินถึงมือสิ้นปี 67

เปิดเงื่อนไข "ลงทะเบียนดิจิทัลวอลเล็ต" ร้านค้า-ประชาชน เงินถึงมือสิ้นปี 67

เปิดเงื่อนไขลงทะเบียน "ดิจิทัลวอลเล็ต" ล่าสุด ลงทะเบียนร้านค้า เช็กคุณสมบัติร้านค้าที่มีสิทธิ์ได้เข้าร่วมโครงการ หลังรัฐบาลกำหนดใช้จ่ายเป็นทางการในไตรมาส 4 ร้านค้าต้องอยู่ในระบบภาษีฯ ยังไม่สามารถเบิกเงินในรอบแรกแต่ต้องไปใช้จ่ายก่อน

SHORT CUT

  • เปิดเงื่อนไขดิจิทัลวอลเล็ต อายุไม่ 16 ปีขึ้นไป มีรายได้ไม่เกิน 840,000 บาท ต่อปี มีเงินฝากไม่เกิน 5 แสนบาท
  • เริ่มลงทะเบียนภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 และจะมีการเริ่มใช้จ่ายภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567
  • ร้านค้าต้องอยู่ในระบบภาษีฯ ยังไม่สามารถเบิกเงินในรอบแรกแต่ต้องไปใช้จ่ายก่อน

เปิดเงื่อนไขลงทะเบียน "ดิจิทัลวอลเล็ต" ล่าสุด ลงทะเบียนร้านค้า เช็กคุณสมบัติร้านค้าที่มีสิทธิ์ได้เข้าร่วมโครงการ หลังรัฐบาลกำหนดใช้จ่ายเป็นทางการในไตรมาส 4 ร้านค้าต้องอยู่ในระบบภาษีฯ ยังไม่สามารถเบิกเงินในรอบแรกแต่ต้องไปใช้จ่ายก่อน

ความคืบหน้าล่าสุดโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet หรือ "เงินดิจิทัล 10000" เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจส่งเสริมให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่ และช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพ ยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือ เช่น กลุ่มเปราะบาง เกษตรกร เป็นต้น รวมทั้งสร้างและเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม

โดยช่วงเวลาการดำเนินโครงการ ประชาชนและร้านค้าจะสามารถเข้าร่วมโครงการฯ โดยเริ่มให้มีการลงทะเบียนภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 และจะมีการเริ่มใช้จ่ายภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567

เงื่อนไขโครงการดิจิทัลวอลเล็ต

กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนจำนวนประมาณ 50 ล้านคน โดยจะมีเกณฑ์ ดังนี้

  • อายุ 16 ปีขึ้นไป ณ เดือนที่มีการลงทะเบียน
  • ไม่เป็นผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี
  • มีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

เงื่อนไขการใช้จ่ายดิจิทัลวอลเล็ต

ระหว่างประชาชนกับร้านค้า

  • ใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ (878 อำเภอ)
  • กำหนดให้ใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเท่านั้น 

ระหว่างร้านค้ากับร้านค้า

  • ไม่กำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายเชิงพื้นที่ ระหว่างร้านค้ากับร้านค้าในระดับอำเภอและขนาดของร้านค้า
  • การใช้จ่ายเงินสามารถใช้จ่ายได้หลายรอบ โดยรอบที่ 1 จะเป็นการใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้าขนาดเล็กเท่านั้น (ตามกระทรวงพาณิชย์กำหนด) ตั้งแต่รอบที่ 2 ขึ้นไป จะเป็นการใช้จ่ายระหว่างร้านค้ากับร้านค้าโดยไม่จำกัดขนาดร้านค้า

ประเภทสินค้า

สินค้าทุกประเภทสามารถใช้จ่ายผ่านโครงการได้ ยกเว้น สินค้าอบายมุข น้ำมัน บริการ และออนไลน์ เป็นต้น 

เงื่อนไขร้านค้า

คุณสมบัติร้านค้าที่สามารถถอนเงินสดจากโครงการฯ ต้องเป็นร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี ดังนี้

  • ระบบ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT)
  • หรือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax: PIT) เฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax: CIT)

ทั้งนี้ ร้านค้าไม่สามารถถอนเงินสดได้ทันทีหลังประชาชนใช้จ่าย แต่ร้านค้าจะสามารถถอนเงินสดได้เมื่อมีการใช้จ่ายตั้งแต่ในรอบที่ 2 เป็นต้นไป

การพัฒนาระบบโครงการดิจิทัลวอลเล็ต

การใช้จ่ายภายใต้โครงการฯ จะใช้ระบบที่พัฒนาขึ้นโดยหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิตัล ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีเป้าหมายให้เป็น Super App ของรัฐบาล การใช้งานจะพัฒนาให้สามารถใช้จ่ายได้กับธนาคารอื่นๆ ในลักษณะ open loop รัฐบาลจะดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปอย่างรอบคอบ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ตามกฎหมาย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

related