งานสัมมนา UK-Thailand Financial Conference โดยนายกฯ ขึ้นกล่าวปาฐกถา ย้ำบทบาทสำคัญของภาคการเงินต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านนโยบายรัฐบาล Digitalization, Sustainability และ Global Aging Population
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม งานสัมมนา UK-Thailand Financial Conference ที่ โรงแรม Park Hyatt Erawan โดยได้มีแขกรับเชิณระดับสูงมากมาย ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน รวมไปถึงเอกอัคราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย Mark Golding OBE และ Martin Kent ตัวแทนการค้าขายประเทศอังกฤษประจำภูมิภาค เอเซีย-แปซิฟิค
ทั้งนี้เอกอัคราชทูตอังกฤษกล่าวรู้สึกตื่นเต้นที่ได้มีส่วนสำหรับความร่วมมือกันระหว่างสองประเทศ และแม้จะมีความขัดแย้งทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในยูเครนหรือตะวันออกกลาง สหราชอาณาจักรยังมุ่งมั่นกันสร้างความสัมพันธ์กับประเทศในอินโด-แปซิฟิก
Lord Dominic Johnson กล่าวในประเด็นการค้าระหว่างประเทศ “ประเทศไทยมีความสำคัญ ทั้งกับรัฐบาล และนักลงทุน” ท่าน รมช. ยังได้เน้นย้ำความสำคัญของการลองโตอ่อนของทั้งสองฝ่ายในการสร้างเศรษฐกิจที่เป็นธรรมต่อสองฝ่าย
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนา UK-Thailand Financial Conference ภายใต้หัวข้อ “The Changing Roles of the Financial Sector in Thailand’s Economic Development” โดยภายหลังเสร็จสิ้น นางสาวเกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสำคัญดังนี้
นายกรัฐมนตรียินดีกับการกล่าวปาฐกถาพิเศษบทบาทของภาคการเงินในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยภาคการเงินถูกมองว่าเป็นตัวกลางระหว่างผู้ฝากและผู้กู้ยืม ผู้อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรม และผู้จัดการความเสี่ยง อย่างไรก็ดี ภาคการเงินได้มีวิวัฒนาการกลายมาเป็นภาคส่วนที่มีอิทธิพลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำความสำคัญบางประการของภาคการเงินต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ดังนี้
นอกจากนี้ ความก้าวหน้าของระบบการชำระเงินได้ปูทางสำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น และสร้างโอกาสใหม่ให้แก่ธุรกิจ ผ่านการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินของไทยกับญี่ปุ่น สิงคโปร์ และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค ทำให้เกิดการเชื่อมโยงทางธุรกิจและผู้คน โดยรัฐบาลมุ่งมั่นขยายความเชื่อมโยงให้ครอบคลุมภูมิภาคอาเซียนและภูมิภาคอื่น ๆ เพิ่มเติม รวมถึงผลักดันกรอบการดำเนินงานที่ครอบคลุมการออกใบอนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) โดยที่ภาคส่วนอื่น ๆ สามารถมีส่วนร่วมได้
2. ความยั่งยืน (Sustainability) รัฐบาลมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น พันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond), พันธบัตรเพื่อพัฒนาสังคม (Social Bond), พันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond), พันธบัตรส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-Linked Bond) และกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thailand ESG Fund) รวมถึงกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน (Sustainable and Responsible Investing Fund) เพื่อสนับสนุนการลงทุนให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ โดยปัจจุบันมีมูลค่าทรัพย์สินประมาณ 740 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
รัฐบาลยังได้ออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนรุ่นแรกในภูมิภาคอาเซียนที่ออกโดยรัฐบาล เมื่อปี 2563 ซึ่งสามารถระดมทุนได้ถึง 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายหลังความสำเร็จดังกล่าว รัฐบาลได้เปิดตัวพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนชุดที่ 2 ซึ่งสามารถระดมทุนได้อีกกว่า 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยรัฐบาลได้จัดสรรเงินเหล่านี้ไปสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการริเริ่มเพื่อพัฒนาสังคมที่สำคัญ เช่น โครงการสนับสนุนการฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 นอกจากนี้ รัฐบาลยังดำเนินการเพื่อสร้างตลาดคาร์บอนด้วย
3. ประชากรสูงวัยโลก (Global Aging Population) ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มที่ (Super Aged Society) ทำให้ในปี 2577 ไทยจะมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปถึง 28% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1) แรงงานลดลง ซึ่งอาจส่งผลให้การผลิตและการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง 2) ความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงวัยอยู่ในความเสี่ยง เนื่องจากเงินออมหลังเกษียณไม่เพียงพอ และ 3) การใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อสร้างความมั่นคงทางรายได้แก่ผู้สูงวัยจะเพิ่มขึ้น และอาจเป็นความท้าทายทางการเงินในระยะยาว
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ระบบบำนาญของไทยครอบคลุมแรงงานทั้งในและนอกระบบ ผ่านโครงการภาคบังคับ (Mandatory) และภาคสมัครใจ (Voluntary) ตามแนวคิดเรื่องความมั่นคงทางรายได้แบบหลายเสา (multi-pillar income security) ของธนาคารโลก เพื่อสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้กับผู้เกษียณอายุที่เคยทำงานในภาครัฐและเอกชน โดยภาคการเงินมีบทบาทในการจัดการเงินบำนาญอย่างรอบคอบ พร้อมจัดหาผลิตภัณฑ์การออมและการลงทุนที่เหมาะสม รวมถึงดึงดูดให้เกิดการออมมากขึ้น
โดย นายกฯเศรษฐา ได้กล่าวไว้ว่า ระบบ พร้อมเพย์ (PromptPay) เป็นตัวอย่างของความสำเร็จของไทยในการนำนวัตกรรมทางการเงินที่ได้เพิ่มมูลค่าการค้าขายแบบ mobile รวมไปถึงอำนวยความสะดวกต่อการบริโภค ทางรัฐบาลเองก็มีนโยบายสนับสนุนการแข่งขันในแวดวงการเงิน
เรามาทำงานด้วยกันเพื่อทำให้การเติบโตเศรษฐกิจของไทยนั้น แข็งแรง มั่นคง แต่ไปตามฝันของเราทุกคน
โดยในงาน ได้มีการเสวนาเชิงลึกในประเด็นเศรษฐกิจยั่งยืนและบทบาทของสถาบันการเงินในยุคเปลี่ยนผ่านในสองหัวข้อใหญ่ คือ
ทั้งนี้ ในงานมีการลงนาม MOU ระหว่าง EXIM Bank ประเทศไทย และกรมเศรษฐกิจการส่งออกของสหราชอาณาจักร เพื่อการเอื้ออำนวยการค้าขายระหว่างสองประเทศ ไห้ได้มีความคล่องตัวมากขึ้น