SHORT CUT
ปัญหาหมอกควันไฟป่า PM2.5 ในเชียงใหม่ยังวิกฤต ค่ามลพิษทางอากาศสูงเป็นสถิติของปี นายกฯ ยังไม่ประกาศเชียงใหม่เป็นพื้นที่ฉุกเฉิน เกรงส่งผลลบมากกว่า ทำ นักท่องเที่ยว ซื้อประกันมาเที่ยวไทย เขตภัยพิบัติ-พื้นที่ฉุกเฉิน ประกันจะไม่คุ้มครองทันที
สถานการณ์ปัญหาหมอกควันไฟป่า PM2.5 ยังวิกฤตปกคลุมหนาแน่นทั่วภาคเหนือตอนบน ส่วนสถานการณ์ที่เชียงใหม่ก็ยังคงวิกฤตต่อเนื่องค่ามลพิษทางอากาศสูงเป็นสถิติของปีอีกรอบ ค่า PM 2.5 เว็บไซต์ cmuccdc.org ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่รายงานจุดตรวจวัด PM 2.5 ณ เวลา 08:00 น. พบว่า สูงสุดอยู่ที่อำเภอเชียงดาว ตำบลปิงโค้ง 603 ไมครอน เช่นเดียวกับข้อมูลจาก IQAIR วันนี้ (19 มี.ค.) ณ เวลา 08:00 น. ค่าเฉลี่ยดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ที่ 198 โดยความเข้มข้น PM2.5 ในภาพรวมของจังหวัดเชียงใหม่ขณะนี้เป็น 29.4 เท่าของค่าแนวทางคุณภาพอากาศประจำปีขององค์การอนามัยโลกและยังแนวมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นอีก
ด้านสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ระบุว่า ค่ามลพิษทางอากาศที่ปกคลุมภาคเหนือของไทยเวลานี้พบสารพิษแขวนลอยในมลพิษที่มีปริมาณเข้มข้นสูงเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากโดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเสี่ยง ควรต้องงดทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงนี้อีกทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเพิ่มการดูแลสุขภาพให้กับประชาชนในห้วงวิกฤตนี้อย่างทั่วถึง
ซึ่งก่อนหน้านี้ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง โพสต์ภาพขณะปั่นจักรยานในบริเวณลานกว้าง อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จ.เชียงใหม่ หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจส่งมอบหน้ากากอนามัย 2 ล้านชิ้น เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 ให้กับพ่อแม่พี่น้องชาวเชียงใหม่
ต่อมา แขก คำผกา ผู้ดำเนินรายการช่อง Voice TV ได้ออกมาเคลื่อนไหว โดยเป็นการโพสต์อธิบายถึงเจตนาของนายกฯ ในการลงรูปปั่นจักรยานที่เชียงใหม่ผ่านบัญชี X เพื่อชี้แจงสิ่งที่ นายเศรษฐา ต้องการจะสื่อสารจริง ๆ กับประชาชน โดยได้แชร์รูปพร้อมคอมเมนต์ของเฟซบุ๊กเพจ ก.ไก่ ซึ่งแสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นนายกฯ ไว้ด้วย
โดยได้แจงประเด็นถึง 5 ข้อ จากการตีความหมายจากรูปและข้อความ ว่า
เมื่อมีเวลาสัก 15 นาทีจึงอยากเทสต์จักรยานสำหรับงานเปิดสนามจักรยานสัปดาห์หน้า ประชาชนโปรดอย่าลอกเลียนแบบ’
ต่อมานายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ทวีตข้อความผ่าน X ตอบคำถามกรณี ทำไมจึงไม่ประกาศให้ จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่ฉุกเฉิน ในขณะที่ค่าฝุ่นสูง ผมได้รับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องแล้วครับ เกรงว่าหากประกาศจะส่งผลทางลบมากกว่า เพราะสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนั้นคือ จะกระทบกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เพิ่งฟื้นตัวหลังจากผลกระทบโควิด-19 เพราะนักท่องเที่ยวที่ซื้อประกันมาจากบ้านเขา หากเข้ามาท่องเที่ยวในเขตภัยพิบัติ หรือพื้นที่ฉุกเฉิน ประกันจะไม่คุ้มครองทันที แน่นอนว่า จ.เชียงใหม่จะเสียนักท่องเที่ยวที่ตั้งใจมาเที่ยวทั้งระยะสั้น และระยะยาว
หากย้อนกลับไปเมื่อปี 2563 สมัยรัฐบาลประยุทธ์ แขก คำผกา ได้โพสต์ข้อความถีงปัญหา PM 2.5 ในเชียงใหม่ โดยระบุว่า
กลัวนักท่องเที่ยวลด ไม่ยอมประกาศเขตภัยพิบัติแก้ปัญหา คราวนี้ลดจริง ฝุ่นซ่อนไม่ได้
ด้าน ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หรือดร.เอ้ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กทม. โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เรื่องปัญหาฝุ่น pm2.5 ที่เชียงใหม่ แก้ได้ด้วยภาวะผู้นำโดยวิพากษ์วิจารณ์การลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรีที่ผ่านมาว่า “ท่านนายกลงพื้นที่เชียงใหม่ แต่ไม่รับฟังปัญหาของชาวบ้าน และนักวิชาการ ไม่แสดงวิสัยทัศน์ในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ทั้งที่นายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่ มีพลัง แก้ไขวิกฤตฝุ่นพิษได้”
ศ. ดร.สุชัชวีร์ มั่นใจว่าบทบาทของนายกรัฐมนตรีสามารถแก้ปัญหา ทุกข์เรื้อรัง ของชาวเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียงได้ หากท่าน เอาจริงเอาจัง กับ 3 เรื่องนี้
“การเผา เป็นปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน ของราชการกันเอง ทั้งระหว่างหน่วยงาน ที่ต่างฝ่ายต้องการงบประมาณลงหน่วยงานของตนให้มากที่สุด และปัญหาผลประโยชน์ของเอกชน มีหลายคนได้ผลประโยชน์จากการที่ป่า หรือไร่ถูกเผา นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสูงสุด ถ้าแก้เรื่อง ประโยชน์ทับซ้อน ได้การเผาจะลดลง ฝุ่นก็ลดลง
การแก้ปัญหาระยะสั้น เพื่อบรรเทาทุกข์ อาจถึงเวลาที่ต้องแก้ปัญหาด้วย เงิน เพราะการให้เงินโบนัสหมู่บ้านไม่เผา โดยกระจายอำนาจหน้าที่ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ดำเนินการได้กับหมู่บ้านที่ไม่เผา เราอาจไม่ถูกใจเรื่องแจกเงิน แต่คุ้มค่ากว่าความเสียหายทางเศรษฐกิจและทางสุขภาพ ที่เกิดจากฝุ่นพิษ pm2.5 อีกทั้งยังประหยัดงบประมาณในการดับไฟ และรักษาชีวิตเจ้าหน้าที่ ที่ต้องเสี่ยงกับการเข้าไปดับไฟ
เพราะเทคโนโลยีดาวเทียว ไม่โกหก เพราะภาพถ่ายจาก ดาวเทียวธีออส-2 ที่โคจรต่ำ ผ่านประเทศไทย 4 รอบต่อวัน จะรู้ทันที ใครเผา และ ที่ดินใคร สามารถใช้เป็นหลักฐาน เพื่อดำเนินการใดๆ ได้อย่างเป็นธรรม ของดีมี ต้องใช้”
วิกฤตฝุ่น PM2.5 เป็นวิกฤตชาติที่รอไม่ได้อีกต่อไป อย่าปล่อยให้เป็นแบบ ไฟไหม้ฟาง คือ มาดู แล้วจากไป
ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562 ข้อ 20 ได้กำหนดว่า "เมื่อภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเกิดขึ้นในท้องที่ใด ให้ผู้มีอำนาจ ดำเนินการประกาศให้ท้องที่นั้นเป็นเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน"
ดังนั้นเมื่อมีกรณีที่เกิดภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินขึ้นในท้องที่ใดในจังหวัด การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินจะทำให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติในระหว่างเกิดภัยได้ โดยใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบฯ และเมื่อภัยสิ้นสุดลงแล้ว ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติที่ได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบจากภัยพิบัตินั้นๆโดยใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบ
กรณีที่เกิดภัยพิบัติที่เป็นไปตามคำนิยาม "ภัยพิบัติ" ในข้อ 5 แห่งระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 แล้ว
หากจังหวัดไม่ดำเนินการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินหรือประกาศล่าช้าแล้ว จะทำให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติโดยใช้จ่ายจากเงินทดรองราชการเพื่อผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินได้ทั้งในระหว่างเกิดภัยและหลังจากภัยสิ้นสุดลงได้อย่างทันท่วงที
ดังนั้นเมื่อเกิดภัยพิบัติในจังหวัดแล้วจึงขอให้จังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด โดยเร็ว
ศ.นพ.ชายชาญ โพธิรัตน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้และทรวงอก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กล่าวว่า ฝุ่น PM2.5 มีปัญหามาตั้งแต่เดือนพ.ย. เรื่อยมา จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงพีคในเดือน มี.ค. โดยเฉพาะสัปดาห์ที่ 2 พุ่งสูงมาก
มีผู้ป่วยที่เจ็บป่วยเกี่ยวกับ PM 2.5 อาการปานกลาง เข้ารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก เช่น ภูมิแพ้กำเริบ เลือดกำเดาไหล เป็นเลือด หลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ ริดสีดวงจมูกโตขึ้น หอบหืด หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเพิ่มขึ้น
มีผู้ป่วยมารับบริการตรวจรักษาทุกวัน เมื่อเทียบกับฤดูที่หมดฝุ่นไปแล้วจะมีมากกว่าหลายเท่าตัวต่อวัน ส่วนผู้ป่วยหนักที่ต้องนอนไอซียู หรือมาที่ห้องฉุกเฉิน ใส่เครื่องช่วยหายใจ เช่น สโตรก ปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมากขึ้นหลายเท่าตัวเช่นกัน ส่วนผู้ป่วยต้องนอนรพ. อยู่ไอซียู แต่ไม่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ พบเพิ่มขึ้นด้วยอาการปอดอักเสบ หอบหืดกำเริบ ไอเป็นเลือด ติดเชื้อในปอด และผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะเสียชีวิตก่อนมาถึงไอซียูด้วยซ้ำ
เมื่อนำข้อมูลมาศึกษาวิเคราะห์ แยกให้ชัดเจนหรือตัดปัจจัยอื่นๆ ที่อาจจะทำให้เกิดการเจ็บป่วยในลักษณะเดียวกัน เพื่อแสดงว่า ผู้ป่วยรายนั้นเจ็บป่วยจากอย่างอื่น หรือ PM 2.5 โดมีการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติแล้วพบชัดเจนว่า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง