svasdssvasds

9 พื้นที่จัดโซนนิ่งใหม่ กทม. สอดรับกับการขยายตัวของเมือง

9 พื้นที่จัดโซนนิ่งใหม่ กทม. สอดรับกับการขยายตัวของเมือง

กทม. เปิด 9 พื้นที่มีการจัดโซนนิ่งใหม่ เพื่อให้สอดรับกับการขยายตัวของเมืองโดยเฉพาะตามการให้บริการรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ๆ เน้นใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS  เปิดเผยว่า สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กทม. อยู่ระหว่างการจัดทำและนำเสนอ (ร่าง) ผังเมืองรวมกรุงเทพฯ (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ที่ได้มีการศึกษา แก้ไขปรับปรุง และเพิ่มเติมข้อกำหนดต่าง ๆ จากผังเมืองรวมกรุงเทพฯ ฉบับเดิม (พ.ศ. 2556) ให้มีความสอดคล้องกับการขยายตัวของเมือง รวมถึงสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ประเด็นที่น่าสนใจของ (ร่าง) ผังเมืองรวมกรุงเทพฯ (ปรับปรุงครั้งที่ 4) คือ กทม. มีการเพิ่มรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินจากเดิม 26 ประเภท ขึ้นเป็น 31 ประเภท 

เพิ่มรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็น 31 ประเภท

(ร่าง) ผังเมืองรวมกรุงเทพฯ (ปรับปรุงครั้งที่ 4) มีการเพิ่มรูปแบบการใช้ประโยชน์จากที่ดินให้มากขึ้นจาก 26 ประเภทในผังเมืองรวมกรุงเทพฯ (พ.ศ. 2556) เป็น 31 ประเภท โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนของพื้นที่อยู่อาศัย และพื้นที่พาณิชยกรรมเป็นหลัก จาก 10 เป็น 15 ประเภท และ 5 เป็น 8 ประเภท ตามลำดับ

โดย สาเหตุสำคัญของการปรับเปลี่ยน กทม. และบริษัทที่ปรึกษาได้ให้เหตุผลว่ามาจากการที่ที่ดินแต่ละแปลงมีศักยภาพในการพัฒนาที่แตกต่างกัน (ร่าง) ผังเมืองรวมกรุงเทพฯ (ปรับปรุงครั้งที่ 4) จึงต้องการเพิ่มรายละเอียดในการกำหนดพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่พาณิชยกรรมให้มีความละเอียดมากยิ่งขึ้นเพื่อรีดศักยภาพในการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นอกจากการเพิ่มรูปแบบการใช้ประโยชน์จากที่ดินแล้ว (ร่าง) ผังเมืองรวมกรุงเทพฯ (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ยังมีการปรับการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือที่นิยมเรียกกันว่า “โซนนิ่ง” ในอีกหลายพื้นที่เพื่อให้สอดรับกับการขยายตัวของเมืองโดยเฉพาะตามการให้บริการรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ๆ โดยสามารถสรุป 9 พื้นที่สำคัญที่มีการปรับเปลี่ยนโซนนิ่งได้ดังนี้

ปรับปรุงโซนนิ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินใน 9 พื้นที่สำคัญ

  1. กรุงรัตนโกสินทร์

ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย (ศ.1-ศ.2) เป็นพาณิชยกรรม (พ.1-พ.2) และสถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ (ส.) เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์

ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย

 

  2. รัชโยธิน

เปลี่ยนจากพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (ย.4) หนาแน่นปานกลาง (ย.5 เดิม และ ย.6-ย.7) เป็นพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (ย.9) หนาแน่นมาก (ย.11-ย.13) และพาณิชยกรรม (พ.7) เพื่อรองรับศักยภาพในการพัฒนาที่อยู่อาศัย รวมถึงเป็นแหล่งงานและแหล่งพาณิชยกรรมใหม่สำหรับโซนกรุงเทพฯ ตอนเหนือ ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว (ห้าแยกลาดพร้าว-คูคต) และสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต)

เปลี่ยนจากพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (ย.4) หนาแน่นปานกลาง (ย.5 เดิม และ ย.6-ย.7) เป็นพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง

  3. ดอนเมือง-หลักสี่

เปลี่ยนจากพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (ย.3-ย.4) เป็นพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (ย.6-ย.7) และพื้นที่พาณิชยกรรม (พ.3) ในบริเวณรอบสนามบินดอนเมือง เพื่อรองรับกับการพัฒนาอุตสาหกรรม MICE ทั้งโรงแรม ศูนย์ประชุม และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

เปลี่ยนจากพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (ย.3-ย.4) เป็นพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (ย.6-ย.7) และพื้นที่พาณิชยกรรม

 

  4. ลาดพร้าว-รามอินทรา

เปลี่ยนจากพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (ย.3-ย.4) เป็นหนาแน่นปานกลาง (ย.6-ย.7) ครอบคลุมบริเวณ ถ.รามอินทรา ถ.ประดิษฐ์มนูธรรม ถ.นวมินทร์ ถ.เสรีไทย ถ.รามคำแหง และ ถ.ลาดพร้าว เพื่อรองรับการพัฒนาอสังหาฯ ให้สอดรับกับการมาถึงของรถไฟฟ้าสายสีชมพู (มีนบุรี-แคราย) สีส้มตะวันตก (ศูนย์วัฒฯ-มีนบุรี) และสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)

เปลี่ยนจากพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (ย.3-ย.4) เป็นหนาแน่นปานกลาง (ย.6-ย.7) ครอบคลุมบริเวณ ถ.รามอินทรา ถ.ประดิษฐ์มนูธรรม ถ.นวมินทร์ ถ.เสรีไทย ถ.รามคำแหง และ ถ.ลาดพร้าว

  5. ศรีนครินทร์

เปลี่ยนจากพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (ย.4) เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (ย.7) บริเวณ ถ.ศรีนครินทร์ เพื่อรองรับการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) สายสีเขียว (อ่อนนุช-เคหะฯ) และ ARL (พญาไท-สุวรรณภูมิ)

เปลี่ยนจากพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (ย.4) เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (ย.7) บริเวณ ถ.ศรีนครินทร์

  6. มีนบุรี

เปลี่ยนการพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (ย.3) เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (ย.6) และเปลี่ยนที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (ย.6 เดิม) เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (ย.10) และพาณิชยกรรม (พ.3) ในบริเวณศูนย์พาณิชยกรรมชานเมืองมีนบุรี เพื่อรองรับการเป็นจุดตัดสำคัญของรถไฟฟ้าสายสีชมพู (มีนบุรี-แคราย) และสายสีส้มตะวันออก (ศูนย์วัฒฯ-มีนบุรี) ในพื้นที่กรุงเทพฯ ตะวันออก

เปลี่ยนการพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (ย.3) เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (ย.6) และเปลี่ยนที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (ย.6 เดิม)

  7. ทางน้ำหลากฝั่งตะวันออก

ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (ก.1) เป็นชนบทและเกษตรกรรม (ก.2 ใหม่ และ ก.3) โดยจะมีการดำเนินการปรับปรุงระบบป้องกันน้ำท่วมและการระบายน้ำบริเวณพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ

ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (ก.1) เป็นชนบทและเกษตรกรรม

  8. ตลิ่งชัน-ทวีวัฒนา

เปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (ก.2 เดิม) เป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (ก.2 และ ก.3) ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (ย.3) หนาแน่นปานกลาง (ย.6 และ ย.8) และพาณิชยกรรม (พ.4) เพื่อรองรับการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (ท่าพระ-บางแค) สายสีเขียว (บางหว้า-ตลิ่งชัน) และสายสีแดง (บางซื่อ ตลิ่งชัน) และเพื่อการพัฒนาศูนย์พาณิชยกรรมชานเมืองตลิ่งชันในอนาคต

เปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (ก.2 เดิม) เป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (ก.2 และ ก.3)

  9. วงเวียนใหญ่-สุขสวัสดิ์

เปลี่ยนจากพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (ย.4) เป็นหนาแน่นปานกลาง (ย.8) และจากที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (ย.10) เป็นหนาแน่นมาก (ย.13) เพื่อรองรับศักยภาพการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า) และสายสีม่วงตอนใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ)

เปลี่ยนจากพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (ย.4) เป็นหนาแน่นปานกลาง (ย.8) และจากที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (ย.10) เป็นหนาแน่นมาก (ย.13)

ทั้งนี้ การปรับโซนนิ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มศักยภาพให้เจ้าของที่ดินสามารถก่อสร้างอาคารได้มากขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น ในพื้นที่รัชโยธินที่มีการปรับพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (ย.5-ย.7) เป็นหนาแน่นมาก (ย.11-ย.13) หมายความว่าด้วยขนาดที่ดินเท่าเดิมเจ้าของที่ดินจะสามารถ ก่อสร้างอาคารได้พื้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 40-50 เป็นต้น

นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนดังกล่าวยังทำให้เจ้าของที่ดินสามารถพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ได้โดยเฉพาะ อาคารสำนักงาน หรืออาคารพาณิชยกรรมขนาดเกิน 10,000 ตร.ม. ที่แต่เดิมแล้วพื้นที่ประเภท ย.5-ย.7 จะไม่สามารถก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ประเภทนี้ได้

การจัดโซนนิ่งเป็นเพียงหนึี่งตัวอย่างของการปรับปรุงครั้งนี้ ยังมีประเด็นอื่นเพิ่มเติมอีก ซึ่งขณะนี้ กทม. ได้เปิดให้ประชาชนสามารถรับหนังสือแสดงความคิดเห็น (ร่าง) ผังเมืองรวมกรุงเทพฯ (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ได้ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค. 2566 จนถึง 22 ม.ค. 2567 และหากสามารถดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ ตามที่กทม.วางไว้ได้ก็มีโอกาสที่จะสามารถบังคับใช้ได้ในปี 2568

ที่มา : thailandplus 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related