ปรากฏการณ์ ข่าวลุงพล และอื่นๆ : สื่อสะท้อนความจริง หรือเล่าเรื่องที่อยากเล่า ? แล้วสังคมได้อะไรจากเรื่องเหล่านี้
ในโลกยุคก่อน ถอยหลังกลับไปช่วงก่อนจะมีโซเชียลมีเดีย , สื่อหลัก สื่อกระแสหลัก อาทิ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ ถือว่าเป็นกระบอกเสียง เป็นสิ่งสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมจริงๆและมีภาพของความ "น่าเชื่อถือ" เพราะในสื่อยุคเก่านั้นต้องผ่านกระบวนการ "บรรณาธิการ" ที่มีการกลั่นกรองจากองค์กรสื่อ , สื่อในยุคนั้น มีอิทธิพลต่อคนในสังคมอย่างมาก สามารถสร้าง IMPACT "ชี้นำ" สังคมได้ สร้างแรงกระเพื่อมได้ สามารถเป็นเข็มทิศนำทางได้ นี่ไม่ใช่คำกล่าวที่เกินความจริงแล้ว
ยกตัวอย่าง เรื่องความทรงอิทธิพลของสื่อยุคเก่า หากกลับไปในช่วง ปี 1973 , ในตอนนั้น สหรัฐฯ กับ ชาติผู้ค้าน้ำมันกำลังมี ความไม่ลงรอยกันอยู่ เพียงแค่ ผู้สื่อข่าว รายงานว่า กระดาษชำระเริ่มขาดแคลนในสหรัฐฯ แค่เพียงเท่านี้ ก็ทำให้ เกิดการกักตุนกระดาษชำระครั้งใหญ่ได้เลย
อย่างไรก็ตาม เมื่อโลกเดินไปข้างหน้า เทคโนโลยีเจริญรุดหน้า ไหลตามเส้นเวลาไปแล้ว...มันทำให้เกิดการ เกิดขึ้นของสื่อใหม่ๆ ขึ้นมา อย่าง สื่อโซเชียลมีเดีย ในปัจจุบัน มันสามารถแทรกซอนซึมลึกไปในมือถือของทุกๆคน
แต่ อีกนัยหนึ่ง การที่ทุกคน มีโซเชียลมีเดียเป็นของตัวเอง และเข้าถึง "สื่อโซเชียล" ได้ง่าย มันก็ถือเป็นการ Disruption สื่อยุคเก่าไปในด้วย (มีผลกระทบต่อสื่อมวลชนจากโลกดิจิทัล) , และเมื่อโลกมันเป็นแบบนี้ไปแล้ว ทำให้ "สื่อ" ในความหมาย ณ ปัจจุบันเปลี่ยนรูปลักษณ์ เปลี่ยนวิธีการไปจากเดิม
ยกตัวอย่าง เอาง่ายๆ จากกรณี คีย์เวิร์ดข่าว "ลุงพล" ที่กลับมาอยู่ใน สปอร์ตไลท์ ได้แสง ณ เวลานี้ , มันสะท้อนว่า ความต้องการของสังคมในขณะนั้น และเป็นต้องรีบ ต้องวิ่งไปตาม ยอดวิวจากอัลกอริทึม (Algorithm) ของแพลทฟอร์มต่างๆ ทั้ง Facebook ทวิตเตอร์ , ไลฟ์ต่างๆ , แต่อีกทางหนึ่ง สื่อสามารถสร้างค่านิยม และกำหนดการรับรู้ของคนในสังคมได้ เมื่อสื่อเปลี่ยนจากการทำข่าวฆาตกรรม ไปสู่การติดตามชีวิตของ "ลุงพล" ในเชิงบันเทิง รวมถึงตามติดชีวิตแบบเรียลลิตี้ ทุกนาทีเลย (แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ชม หรือ audience ก็ยังขาด การรู้เท่าทันสื่อ รวมถึง แยกไม่ออกระหว่างสื่อหลัก หรือ สื่อโซเชียล)
นอกจากนี้ ในเคสอื่นๆ ในไทย ก็เข้ารูปเข้ารอย คล้ายๆ ข่าว "ลุงพล" ...ทั้ง "น้องไนซ์ เชื่อมจิต" , "ไอซ์ หีบเหล็ก" , "แอม ไซยาไนด์" , "เสี่ยแป้ง นาโหนด" รวมถึง ฆาตกรเหตุกราดยิงโคราช เมื่อปี 2563 เป็นต้น โดยทุกๆ เคสที่กล่าวมา การรายงานของสื่อ ก็ดูจะเป็น เรื่องผิดรูปผิดรอย และมากเกินกว่าความจำเป็น มีความใส่อารมณ์ และ ใส่ความคิดเห็น ของผู้รายงานข่าว ที่นอกเหนือจากการรายงาน Fact ที่เกิดขึ้นเข้าไปด้วย หากเทียบจากมาตรวัดของ "จรรยาบรรณสื่อ" ก็ดูจะไม่ตรง และในขณะเดียวกัน ผู้ชม หรือ audience ก็ไม่ได้ มีทักษะแยกแยะ สื่อ ด้วย
เหตุการณ์ "ลุงพล" ครั้งนี้ทำให้เห็นว่า หากสื่อมวลชน จะสื่อหลักสื่อรอง หรือสื่อโซเชียลมีเดีย มีพาวเวอร์ ขับดัน ปั้น (แบบปลอมๆ)ให้ผู้ต้องหาคดีการเสียชีวิตของเด็กกลายเป็น "คนได้แสง"
ขณะเดียวกัน คนดู ณ พ.ศ นี้ ก็ไม่ได้เสพข่าวเพื่อรับรู้ข้อมูลอย่างเดียว แต่ เสพข่าว เพื่อความบันเทิง ไปแล้ว
แต่อย่างไรก็ตาม อย่าเพิ่งหมดหวังกับ สื่อมวลชนก็มีอำนาจเพียงพอที่จะทำหน้าที่หลักของตนเองในการสืบหาความจริงที่ถูกปกปิดอยู่ในประเทศนี้ได้เช่นกัน...สื่อยังคงเป็นไฟฉายนำทางได้เหมือนเดิม แต่ตัวสื่อเองก็ต้องตั้งคำถามในการทำหน้าที่ในบทบาท 'Gatekeeper' หรือคนเฝ้าประตูเพื่อคัดกรองข่าวสาร หรือ กรองสิ่งที่จะออกไปสื่อสังคมวงกว้างให้มากๆ และ สื่อยังต้องมีอิสระ สื่อต้องสะท้อนความจริง อย่าเป็นแค่ การเล่าเรื่องที่อยากเล่า...
สื่อ อย่าไปหลงมัวเมากับแค่ยอดเอนเกจ ยอดแชร์ ยอดรายได้จากวิวในออนไลน์ , แต่ สังคม ไม่ได้อะไรเลย...
ข่าวที่เกี่ยวข้อง