ประเด็น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566 ฉบับล่าสุด ที่กลายเป็นประเด็นร้อนในสังคม เพราะมีการตั้งข้อสังเกตว่า "ต้องมีการพิสูจน์ความจนก่อน" จึงจะได้เบี้ย ? ใครบ้างมีสิทธิ ปัจจุบันได้รับเดือนละอัตราเท่าไร ?
ประเด็น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566 ฉบับล่าสุด ที่กลายเป็นประเด็นร้อนในสังคม เพราะมีการตั้งข้อสังเกตว่า "ต้องมีการพิสูจน์ความจนก่อน" จึงจะได้เบี้ย ? สำหรับประเด็นนี้ SPRiNG ชวนตรวจสอบ เรื่อง เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566 มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ และคุณสมบัติผู้รับเบี้ยผู้สูงอายุ อย่างไร ใครบ้างมีสิทธิ ปัจจุบันได้รับเดือนละอัตราเท่าไร ?
ทันทีที่ กระทรวงมหาดไทย ในยุครัฐบาลรักษาการของพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 โดยให้มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 12 ส.ค.2566 หลายคนกังวลหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะส่งผลต่อ "ผู้สูงอายุ" อย่างไรบ้าง SPRiNG ขอชวนมาทำความเข้าใจไปพร้อมๆกัน
• ทำความรู้จัก เบี้ยผู้สูงอายุคืออะไร ?
"เบี้ยผู้สูงอายุ" หรือ "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" ซึ่งกำลังได้รับความสนใจจากสังคม ณ เวลานี้ ถือเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่ทางภาครัฐจัดสรรให้แก่ "ผู้สูงอายุ" ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เพื่อช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายการดำรงชีวิตในแต่ละเดือน เนื่องจากรายได้จากอาชีพผู้สูงอายุที่ทำอยู่ในแต่ละเดือนอาจไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย โดยแต่ละปีจะมีการเปิดให้ผู้ที่มีคุณสมบัติรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุรายใหม่มาลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ หมายความว่า การรับเงินเบี้ยผู้สูงอายุจากภาครัฐ จะต้องละทะเบียนก่อน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สำหรับสาระสำคัญของ "หลักเกณฑ์ฉบับบล่าสุดได้มีการเพิ่มเติมในหมวด 1 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิจะได้รับเงินเบี้ยยังชีพ ข้อ 6(4) ซึ่งระบุว่า "เป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด"
• ปรับเกณฑ์คุณสมบัติของผู้มีสิทธิจะได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ - ผู้มีสิทธิได้เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มีใครบ้าง ?
โดย “หลักเกณฑ์ใหม่”ของ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566 ฉบับล่าสุด ตามที่ได้มีการประกาศบังคับใช้ออกมานี้ จะพบว่าระเบียบดังกล่าวมีการระบุว่า มีเนื้อหาเปลี่ยนหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ เป็นจ่ายเงินให้ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ต้องไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ
โดยมีการระบุถึงคุณสมบัติผู้ที่จะได้รับเงินเบี้ยผู้สูงอายุ 600 บาท
- มีสัญชาติไทย
- มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งได้ยืนยันสิทธิขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- เป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด
• วิธีลงทะเบียนรับสิทธิ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ต้องทำอย่างไร ?
สำหรับ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 59 ปีบริบูรณ์สามารถไปลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพล่วงหน้าได้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ของปีนั้น และเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในปีถัดไป ก็จะได้รับเบี้ยผู้สูงอายุตั้งแต่เดือน ต.ค. ในปีนั้น ๆ โดยสามารถไปลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพด้วยตัวเอง ได้ตั้งแต่วันที่ 1-30 พ.ย.ของทุกปี
ทั้งนี้ผู้สูงอายุ สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ตั้งแต่เดือน ต.ค.ของทุกปี เป็นต้นไป โดยจะต้องเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 2 ก.ย. – 1 ต.ค.ของปีนั้น ๆ จึงจะลงทะเบียนล่วงหน้าได้ โดยเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพถัดจากเดือนที่มีอายุครบ 60 ปี นั่นก็คือ เดือน ต.ค. ปีนั้น ซึ่งก็คือ อายุครบ 60 ปีเดือน ต.ค.2565 นั่นเอง
- อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เคยลงทะเบียน ต้องทำอย่างไร ?
ผู้ที่เข้าหลักเกณฑ์ รับเบี้ยผู้สูงอายุ สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่เดือน ม.ค. - ก.ย.2566 จะมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยผู้สูงอายุ 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. เป็นต้นไป (ปีงบประมาณ 2567)
- อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ (คนที่เกิดก่อน 2 ก.ย.2507)
สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่เดือน ม.ค. - ก.ย. 2566
มีสิทธิได้รับเบี้ยผู้สูงอายุในปีงบประมาณ 2567 โดยจะได้รับเบี้ยผู้สูงอายุ 2566 ในเดือนถัดไปที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้ว
• หลักฐานการลงทะเบียนรับสิทธิ รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง
การเตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจะต้องเตรียมเอกสาร ประกอบด้วย
1.กรณีลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วยตนเอง
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด
สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก (ออมทรัพย์) จำนวน 1 ชุด
2.กรณีผู้สูงอายุไม่สามารถไปลงทะเบียนได้ด้วยตัวเอง ต้องเตรียมเอกสารเพิ่ม คือ
หนังสือมอบอำนาจ (ยื่นแบบฟอร์มให้ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ จำนวน 1 ชุด
สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ จำนวน 1 ชุด
ขั้นตอนการยื่นขึ้นทะเบียน
การยื่นขึ้นทะเบียนและแนวทางการปฏิบัติของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย
ประกาศและประชาสัมพันธ์ให้ผู้สูงอายุทราบสิทธิของตนเอง
ลงทะเบียนตามวัน เวลา สถานที่ที่กำหนด (ในวันและเวลาราชการ)
ให้ผู้สูงอายุลงทะเบียนได้ตามแบบรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ด้วยตนเอง
• สถานที่ในการขึ้นทะเบียน รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
จุดบริการ ใน กทม. สำนักงานเขต 50 เขต
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
อบต.(องค์การบริหารส่วนตำบล) หรือ เทศบาลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
ทั้งนี้ การรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุนั้น ผู้สูงอายุสามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทน
• เบี้ยผู้สูงอายุแบบขั้นบันไดอายุ 60-90 ปีขึ้นไป รับเงินขั้นต่ำ-สูงสุดเท่าไร
สำหรับการรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566 ภาครัฐจะโอนเงิน "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" ให้ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน หากเดือนใดวันที่ 10 ตรงกับวันหยุดราชการจะจ่ายให้ในวันทำการก่อนวันหยุดนั้น และเป็นการจ่ายรายเดือนแบบขั้นบันได
ผู้สูงอายุ อายุ 60-69 ปี ได้รับ 600 บาท
ผู้สูงอายุ อายุ 70-79 ปี ได้รับ 700 บาท
ผู้สูงอายุ อายุ 80-89 ปี ได้รับ 800 บาท
ผู้สูงอายุ อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับ 1,000 บาท
ขณะที่ได้รับเงินไม่ตรงวันที่ 10 ในแต่ละเดือน โดยในปีนี้ภาครัฐจะโอนเงินเข้าบัญชีตามวันที่ ดังต่อไปนี้
สิงหาคม 2566 : วันพฤหัสบดีที่ 10 ส.ค.2566
กันยายน 2566 : วันศุกร์ที่ 8 ก.ย.2566
ตุลาคม 2566 : วันอังคารที่ 10 ต.ค.2566
พฤศจิกายน 2566 : วันศุกร์ที่ 10 พ.ย.2566
ธันวาคม 2566 : วันศุกร์ที่ 8 ธ.ค.2566