svasdssvasds

สว. หมดสิทธิ โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี วันไหน เช็กเลย

สว. หมดสิทธิ โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี วันไหน เช็กเลย

คำถามใหญ่ๆ จากสังคม ในช่วงของการโหวตนายกฯ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกฯก้าวไกล ตลอดเดือนกรกฎาคม 2566 ว่า จริงๆแล้ว สว.จะหมดสิทธิโหวตนายกฯ เมื่อไร ? SPRiNG ชวนมาหาคำตอบกัน

ในช่วงของการโหวตนายรัฐมนตรี ในช่วงกรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา  ทั้งในวันโหวตครั้งแรก วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 , และ ในวันโหวตนายกรอบ 2 วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 (ซึ่งถึงแม้จริงๆแล้วในวันนั้นจะไม่มีการโหวตนายกฯรอบ 2 ก็ตาม) ประเด็นที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงกันอย่างมากนั่นคือการ ที่สว.มีสิทธิโหวตเลือกนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 

หากจะบอกว่า  มันไม่ใช่เรื่องใหญ่ก็คงจะไม่ได้ เพราะ ก้าวไกล ชนะเลือกตั้ง 2566 ได้สส. 151 เสียง แต่ทำไมถึงดูเหมือนว่า สว. กลับกลายมาเป็นคนตัดสินใจแทน ? 

จากประเด็นนี้ ประเด็น ที่ สว.มีสิทธิโหวตเลือกนายกฯ คนที่ 30 ทำให้มีการถกเถียง ตั้งคำถามในสังคมมากมาย อาทิ เราจะรอเวลา 10 เดือนต่อจากนี้ หรือไม่ เพื่อให้ สว. ระเหิดไป แล้วค่อยโหวตเลือกนายกฯกัน ? เพราะถึงวันนั้นใน 10 เดือนข้างหน้า สว. จะหมดสิทธิโหวตเลือกนายกแล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดังนั้น SPRiNG จึงอยากชวนเจาะ ลงลึกกันอีกสักนิดว่า แท้ที่จริงแล้ว ตามกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญ สว. จาก รัฐธรรมนูญ 2560 จำนวน 250 คน นั้น จริงๆแล้ว จะหมดวาระ วันไหน ?   

(สว. 250 คน มีที่มา 3 ทาง คือ 1) ส.ว. โดยตำแหน่งจากปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 2) 194 คน มาจากการสรหาโดยคณะกรรมการ สรรหาจำนวน 400 คน เพื่อให้ คสช. คัดเลือกให้เหลือ 194 คน และคัดชื่อสำรองอีก 50 คน 3) กกต. จัดให้กลุ่มอาชีพเลือกกันเอง 200 คนและให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คัดเลือกให้เหลือ 50 คน  

ทั้งนี้ สว. หรือ วุฒิสภาชุดพิเศษ มีอายุ 5 ปีนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ซึ่งการแต่งตั้งวุฒิสภาชุดพิเศษนี้ มีผลในวันที่ 11 พฤษภาคม 2562 ดังนั้น ส.ว. ชุดพิเศษ จึงจะทำงานไปจนถึง 11 พฤษภาคม 2567 

ดังนั้นนั่นหมายความว่า หลังจากวันที่ 11 พ.ค. 2567 สว. เหล่านี้ จะหมดสิทธิโหวตเลือกนายกฯ  ตามมาตรา 272  แล้ว , โดยอำนาจโหวตเลือกนายกฯ ก็จะกลับมาอยู่ในมือของ สส. ที่มาจากการเลือกตั้งของประชานโดยบริบูรณ์ ตามมาตรา 159 
 

related