svasdssvasds

มาตรา 272 คืออะไร ? จะแก้ไข มาตรา ส.ว. มีสิทธิ์โหวตนายกฯ ต้องทำอย่างไร

มาตรา 272 คืออะไร ? จะแก้ไข มาตรา ส.ว. มีสิทธิ์โหวตนายกฯ ต้องทำอย่างไร

ทำความรู้จัก มาตรา 272 ...ทำไม มาตรานี้ ถึงเป็นตัวสกัดกั้น ไม่ให้ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไปถึงตำแหน่งนายกฯ และเงื่อนไขใดบ้างที่จะสามารถ แก้ มาตรา นี้ได้ เช็กเลย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ระบุถึง มาตรา 272 บัญญัติไว้ว่า มาตรา 272 ในระหว่างห้าปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้ดําเนินการตามมาตรา 159 เว้นแต่การพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 159 วรรคหนึ่ง ให้กระทําในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และมติที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 159 วรรคสาม ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

ในระหว่างเวลาตามวรรคหนึ่ง หากมีกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 ไม่ว่าด้วยเหตุใด และสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันจํานวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภาขอให้รัฐสภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 

ในกรณีเช่นนั้น ให้ประธานรัฐสภาจัดให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาโดยพลันและในกรณีที่รัฐสภามีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาให้ยกเว้นได้ ให้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งต่อไป โดยจะเสนอชื่อผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 หรือไม่ก็ได้

ทำความรู้จัก มาตรา 272 ...ทำไม มาตรานี้ ถึงเป็นตัวสกัดกั้น ไม่ให้ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไปถึงตำแหน่งนายกฯ และเงื่อนไขใดบ้างที่จะสามารถ แก้ มาตรา นี้ได้ เช็กเลย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทำความรู้จัก มาตรา 272 ...ทำไม มาตรานี้ ถึงเป็นตัวสกัดกั้น ไม่ให้ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไปถึงตำแหน่งนายกฯ และเงื่อนไขใดบ้างที่จะสามารถ แก้ มาตรา นี้ได้ เช็กเลย

สำหรับ มาตรา 272  (หรือ ม. 272) ที่กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมา นั่นเป็นเพราะว่า ในการโหวตเลือกนายก พิธา เมื่อวันที่ 13 ก.ค. ที่ผ่านมา   มี ส.ว. เพียงแค่ 13 คน โหวตเห็นชอบให้พิธา เป็นนายกฯ   ( 34 เสียง ส.ว. ไม่เห็นชอบ , 159 เสียง ส.ว. งดออกเสียง และ  มี 44 คน ส.ว  ที่ไม่เข้าร่วมประชุมโหวตนายกฯ 

นั่นทำให้ วันต่อมา (14 ก.ค. 66) ชัยธวัช ตุลาธน เลขาฯ พรรคก้าวไกล  และนายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ จะเดินทางไปยื่นเรื่องที่อาคารรัฐสภา 
 

โดยเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ การเสนอแก้รัฐธรรมนูญ ถือว่ายากกว่าการโหวตนายกรัฐมนตรีมาก 

โดย การจะล้ม มาตรา 272  หรือมาตราที่ทำให้ ส.ว. โหวต นายกฯ ได้นั้น จะต้อง 

1. มีเสียงข้างมากในการโหวตแก้รัฐธรรมนูญ 376 เสียง ขึ้นไป 
2. โดยในจำนวน 376 เสียง ต้องมีเสียง ส.ว. เห็นชอบ 1 ใน 3 หรือ 84 เสียง 
3. และมีเสียงฝ่ายค้านร้อยละ 20 ด้วย ในการโหวตแก้มาตรานี้  

related