ทำความเข้าใจ มาตรา 213 คืออะไร ? หลัง บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในช่วงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แนะ พรรคก้าวไกล ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ ญัตติปิดสวิตช์โหวต “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" เป็นนายก ในรอบที่ 2
เปิดคำอธิบายเพิ่มเติม เกี่ยวกับ รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 213 หลังจากมีกระแสร้อนแรง หลังวันโหวตนายกรอบ 2 ซึ่ง รัฐสภาฯ ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ลงมติ (19 ก.ค. 66) ว่า การเสนอญัตติการพิจารณาเลือกนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกฯ เป็นญัตติซ้ำ ทำให้ไม่สามารถโหวตนายกฯ รอบ 2 ได้ และนั่น ทำให้ ชื่อของพิธา ไม่ได้ถูกเสนอชื่อให้โหวตเป็นนายกฯ ครั้งที่ 2
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 213 ระบุว่า บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้มีสิทธิยื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อมีคําวินิจฉัยว่าการกระทํานั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ เรื่องนี้ ได้กลายเป็นประเด็นร้อนแรงขึ้นมาในประเทศไทย เพราะ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในช่วงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊ก Borwornsak Uwanno ถึงกรณีที่ประชุมรัฐสภา มีมติเสียงข้างมากเห็นว่า ญัตติเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นญัตติที่ตกไปแล้ว ไม่สามารถเสนอชื่อนายพิธา แคนดิเดตก้าวไกล ซ้ำได้ ตามข้อบังคับการประชุมรัฐธรรมนูญ ข้อ 41 โดย บวรศักดิ์ แนะพรรคก้าวไกลซึ่งได้เสียงจากการเลือกตั้งมากที่สุด และควรได้สิทธิในการจัดตั้งรัฐบาล เป็นพรรคแรก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โดย บวรศักดิ์ ชี้ว่า การใช้ข้อบังคับรัฐสภา ในการ โหวตนายกฯรอบ 2 ทำให้รัฐธรรมนูญเป็นง่อย แนะส่งศาลรัฐธรรมนูญผ่านผู้ตรวจการแผ่นดินตีความ และ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เชื่อว่า รัฐธรรมนูญ ต้องใหญ่กว่า ข้อบังคับการประชุมสภาฯ
“เอาข้อบังคับการประชุมมาทำให้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญเป็นง่อย ทั้ง ๆ ที่รัฐธรรมนูญกำหนดการเลือกนายกไว้เป็นการเฉพาะแล้ว น่าสงสารประเทศไทย"
“ผิดหวังส.ส.คนที่ไปร่วมลงมติห้ามเสนอชื่อซ้ำ แม้คุณจะอยู่ฝ่ายค้านคุณก็ควรรู้ว่าเมื่อไหร่ต้องทิ้งความเป็นฝ่ายค้าน ทำสิ่งที่ถูกต้อง แต่การตีความของรัฐสภาไม่เป็นที่สุด คนที่คิดว่าสิทธิของตนถูกกระทบ ไปยื่นเรื่องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินได้ว่ามติรัฐสภาซึ่งเป็นการกระทำทางนิติบัญญัติขัดรัฐธรรมนูญได้ตามมาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญ ถ้าผู้ตรวจการไม่ส่งศาล ผู้นั้นยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้"
“ผมจะรอดูคำร้องว่าการกระทำของรัฐสภาขัดรัฐธรรมนูญครับ และจะดูว่าศาลรัฐธรรมนูญว่ายังไง สอนรัฐธรรมนูญมาสามสิบกว่าปีต้องทบทวนแล้วว่าจะสอนต่อไหม?!?!?!”
ทั้งนี้ ในการ โหวตนายกฯ รอบ 2 ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 รัฐสภาลงมติตามข้อบังคับ 41 โดยที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ลงมติว่า การเสนอญัตติการพิจารณาเลือกนายพิธา ลิ้มเจริญรัฐ เป็นนายกฯ เป็นญัตติต้องห้ามตามข้อบังคับฯ ข้อที่ 41 หรือไม่ โดยข้อสรุปของที่ประชุม
• จำนวนผู้ลงมติ 715
• เห็นด้วย 395
• ไม่เห็นด้วย 312
• งดออกเสียง 8
นั่นหมายความว่า การเสนอชื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ถือว่าเป็นการเสนอญัตติซ้ำตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อ 41 ทำให้ไม่สามารถโหวตนายกฯ รอบ 2 ได้ หลังจากที่โหวตนายกฯรอบแรกไปตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2566
และในช่วงเวลาต่อจากนี้ พรรคเพื่อไทย พรรคอันดับ 2 ที่ได้จำนวน ส.ส. มาเป็นอันดับ 2 หลังการเลือกตั้ง 2566 จะเป็นพรรคจัดตั้งรัฐบาลแทน