เตรียมเสนอ อุทยานธรณีขอนแก่น สู่อุทยานธรณีโลก ในการดูแลขององค์การยูเนสโก พร้อมชูแหล่งค้นพบไดโนเสาร์ 5 สายพันธุ์ใหม่ที่ค้นพบในไทยสู่สายตาโลก
ศูนย์ศึกษาไดโนเสาร์เมืองไทยและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางธรรมชาติแหล่งสำคัญอยู่ที่ จังหวัดขอนแก่น เมื่อไม่นานมานี้ นางสาว รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยหลังจบการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 21 มิถุนายน 2565 ว่า ครม.เห็นชอบให้เสนออุทยานธรณีวิทยาขอนแก่นเป็นอุทยานธรณีโลกขององค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO)
อุทยานธรณีขอนแก่น มีเนื้อที่ประมาณ 1,038 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอในจังขอนแก่น ได้แก่ อำเภอภูเวียง อำเภอเวียงเก่า และอำเภอมัญจาคีรี ซึ่งอำเภอมัญจาคีรีนเป็นแหล่งสำคัญที่ครม.เห็นชอบให้ควบรวมไปอยู่ในพื้นที่อุทยานธรณีขอนแก่น เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ชนิดใหม่ของโลก ซึ่งมี 5 สายพันธุ์เด่นด้วยกันคือ
เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ชนิดแรกที่พบในประเทศไทย มีชีวิตอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนต้น เมื่อประมาณ 130 ล้านปีก่อน เดิน 2 เท้า ยาวประมาณ 7 เมตร ฟันมีลักษณะทรงกรวย มีแนวร่องฟันและสันกรามสลับกันคล้ายจระเข้ ได้รับการสันนิษฐานว่ามีแหล่งหากินอยู่บริเวณริมน้ำ กินปลาเป็นอาหาร
จังหวัดที่ขุดพบซากฟอสซิล ได้แก่ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ อุบลราชธานี สกลนคร อุดรธานี และนครราชสีมา การตั้งชื่อดังกล่าว เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายวราวุธ สุธีธร หนึ่งในผู้มีส่วนร่วมในการสำรวจนี้
เป็นไดโนเสาร์กินพืช มีชีวิตอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนต้น เมื่อประมาณ 130 ล้านปีก่อน เดิน 4 เท้า ยาวประมาณ 15-20 เมตร คอและหางยาว เป็นไดโนเสาร์สกุลใหม่ของโลก มีนิสัยอยู่รวมกันเป็นฝูง พบได้ที่จังหวัดขอนแก่น
เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ มีชีวิตอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนต้น เมื่อประมาณ 130 ล้านปีก่อน เดิน 2 เท้า ยาวประมาณ 6.5 เมตร มีขาหลังที่ใหญ่และแข็งแรง เป็นไดโนเสาร์วงศ์ไทรันโนซอริเดที่เก่าแก่ที่สุด สันนิษฐานว่าเริ่มมีวิวัฒนาการครั้งแรกในทวีปเอเชีย แล้วแพร่กระจายไปยังเอเชียเหนือและอเมริกาเหนือ ก่อนที่จะสูญพันธุ์
ส่วนซากที่พบเป็นส่วนกระดูกโคนหางและกระดูกสะโพกในลักษณะที่สมบูรณ์ฝังอยู่ในชั้นหินทราย พบที่จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ สกลนคร อุดรธานี และนครราชสีมา
ไดโนเสาร์นกกระจอกเทศ จากยุคครีเตเชียสตอนต้นเมื่อประมาณ 130 ล้านปีก่อน วิ่งเร็ว ปราดเปรียว ไม่มีฟัน ยาวประมาณ 1-2 เมตร กินได้ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร พบที่จังหวัดขอนแก่น และกาฬสินธุ์
เป็นไดโนเสาร์ที่เพิ่งค้นพบล่าสุด อยู่ในตระกูลไดโนเสาร์กินเนื้อสกุลใหม่ และชนิดใหม่ของไทยและของโลก มีชีวิตอยู่ในยุคครีเตเชียส เมื่อราว ๆ 130 ล้านปีที่แล้ว วิ่งเร็วและดุร้าย ลำตัวยาวประมาณ 6 เตร
ฟอสซิลที่ค้นพบคือส่วนของกระดูกสันหลังส่วนหลัง กระดูกหลังส่วนสะโพก กระดูกมือและเล็บ กระดูกหน้าแข้ง ข้อเท้า ฝ่าเท้าและเท้า ค้นพบที่จังหวัดขอนแก่น ในอุทยานแห่งชาติภูเวียง
การตั้งชื่อนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่คุณสุธรรม แย้มนิยม ผู้ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ชิ้นแรกของประเทศไทย ที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"ผึ้งหยาดอำพันภูจอง" ผึ้งชนิดใหม่! พบเฉพาะถิ่นในอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย
นักวิทย์ค้นพบฟอสซิลนกยักษ์เรซัวร์จากยุคจูราสสิกใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบ
นอกจากนี้ในพื้นที่ดังกล่าวยังค้นพบรอยเท้าสัตว์ร่วมยุคกับไดโนเสาร์ อย่าง จระเข้และปลาโบราณ ด้วยอีกทั้งยังเป็นพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัตศาสตร์ เชิงธรณีวิทยาที่สำคัญหลายแห่ง เช่น ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ หลุมจุดไดโนเสาร์ อุทยานแห่งชาติภูเวียง น้ำตกดาดฟ้า เป็นต้น
ส่วนขั้นตอนในการยื่นข้อเสนอนี้ ทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะยื่นความประสงค์ต่อยูเนสโกภายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 หากอุทยานธรณีขอนแก่นได้รับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกแล้ว จะทำให้อุทยานธรณีขอนแก่นเป็นที่รู้จักและยอมรับจากนานาประเทศ ซึ่งส่งผลดีต่อภาคการท่องเที่ยวของประเทศ สร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่นและสร้างความตระหนักรู้และการอนุรักษ์ทรัพยากรของประชาชนในพื้นที่ด้วย
นางสาวรัชดากล่าวด้วยว่า อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks) เป็นขอบเขตพื้นที่ที่มีคุณค่าทั้งด้านธรณีวิทยา โบราณคดี นิเวศวิทยา และวัฒนธรรม โดยมีความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ การศึกษาวิจัย และการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ภายใต้การจัดการอย่างมีส่วนร่วมทั้งจากภาครัฐ ท้องถิ่น และชุมชน ปัจจุบันไทยมีอุทยานธรณีโลกที่ได้รับการรับรองแล้ว 1 แห่ง คือ อุทยานธรณีสตูล เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา ส่วนการเสนออุทยานธรณีโคราชเป็นอุทยานธรณีโลกนั้น ขณะนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาของยูเนสโก
ที่มาข้อมูล