svasdssvasds

UN เผย กิจกรรมของมนุษย์จะทำให้เกิดภัยพิบัติมากขึ้น เฉลี่ย 500 ครั้งต่อปี

UN เผย กิจกรรมของมนุษย์จะทำให้เกิดภัยพิบัติมากขึ้น เฉลี่ย 500 ครั้งต่อปี

กิจกรรมของมนุษย์กำลังนำมนุษย์ไปสู่การเกิดภัยพิบัติมากขึ้นกว่าเดิม เฉลี่ย 500 ครั้งต่อปี ที่ไม่ใช่แค่น้ำท่วม ดินถล่ม หรืออัคคีภัย แต่รวมถึง โรคระบาด อุบัติเหตุทางเคมี ฯลฯ

แน่นอนว่าหลายคนรู้ว่า ส่วนหนึ่งของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีสิ่งผิดปกติอุบัติขึ้นรายล้อมมนุษย์ทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งล้วนมาจากน้ำมือของพวกเราเอง พฤติกรรมของมนุษย์ได้สร้างความเสียหายหรือส่งผลกระทบไม่ทางตรงก็ทางอ้อม นั่นจึงทำให้สภาพแวดล้อมของมนุษย์เริ่มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง แต่เราก็ไม่เคยทำอะไรกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้สักที

จนล่าสุด UN หรือ (United Nations องค์การระหว่างรัฐบาลหรือสหประชาชาติ) ได้ออกรายงานการสังเกตว่ากิจกรรมของมนุษย์มีส่วนทำให้เกิดภัยพิบัติเพิ่มมากขึ้น โดยจะเกิดภัยพิบัติขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ประมาณ 350-500 ครั้งต่อปี ซึ่งได้เกิดขึ้นไปทั่วโลกแล้วในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา และคาดว่าในปีต่อๆไปจะเกิดเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้น

จำนวนภัยพิบัติส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ เช่น ไฟไหม้และน้ำท่วมหรืออัคคีภัย แต่การคำนวณครั้งนี้ยังรวมไปถึงอันตรายอื่นๆด้วย เช่น โรคระบาดหรืออุบัติเหตุทางเคมี ซึ่งอาจเกิดสูงถึง 560 ครั้งต่อปี หรือเฉลี่ย 1.5 ครั้งต่อวันภายในปีค.ศ. 2030 ทำให้ผู้คนหลายล้านชีวิตตกอยู่ในอันตราย (ข้อมูลรายงานการประเมินทั่วโลก จากสำนักงานเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR))

ในปีต่อไปจะเกิดภัยพิบัติแรงขึ้น ถี่ขึ้นทั่วโลก นอกจากนี้ รายงานได้ระบุเสริมว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วมากขึ้น มนุษย์ได้ตัดสินใจไปโฟกัสในจุดที่แคบเกินไป และมองโลกในแง่ดีเกินไปมากเกี่ยวกับความเสี่ยงของภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น และจะทำให้พวกเขาไม่เตรียมตัวไว้ให้พร้อม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผลกระทบของภัยพิบัติจะยังเพิ่มขึ้นไปอีกจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในพื้นที่ที่เสี่ยงประสบกับภัยธรรมชาติ

Amina J Mohammed รองเลขาธิการสหประชาชาติ ผู้นำเสนอรายงานที่ UN กล่าวว่า “โลกไม่จำเป็นต้องทำอะไรมากกว่านี้เพื่อรวมเอาความเสี่ยงจากภัยพิบัติเข้าไว้ด้วยกันในการใช้ชีวิต การสร้าง และการลงทุนของเรา ซึ่งกำลังทำให้มนุษยชาติอยู่บนเกลียวคลื่นแห่งการทำลายตนเอง”

"เราต้องเปลี่ยนความพึงพอใจโดยรวมของเราไปสู่การกระทำ"

รายงานยังระบุเพิ่มเติมว่า ภัยพิบัติจะส่งผลกระทบอย่างไม่เป็นสัดส่วนกับประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งทำให้พวกเขาสูญเสียค่าเฉลี่ย 1% ของ GDP ต่อปี หากเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วที่จะเสีย 01-0.3% ของ GDP ต่อปี ซึ่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้รับความเสียหายสูงสุด โดยสูญเสียเฉลี่ย 1.6% ของ GDP ต่อภัยพิบัติทุกปี โดยประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มที่จะมีประกันภัยน้อยเกินไป

มีเพียง 40% ของการสูญเสียที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติตั้งแต่ปี 1980 เท่านั้นที่ได้รับการประกัน รายงานระบุอัตราการครอบคลุมการประกันภัยในประเทศกำลังพัฒนาบางครั้งเกือบเป็นศูนย์

“ระบบการเงินจำเป็นต้องก้าวไปข้างหน้าจริงๆ เพราะไม่เช่นนั้นจะมีความเสี่ยงสะสมมากมายที่ไม่ได้กำหนดราคาในการตัดสินใจของเรา” เจนตี้ เคิร์สช์-วูด (Jenty Kirsch-Wood) ผู้เขียนหลักของรายงานกล่าว

ประกันภัยพิบัติของประเทศกำลังพัฒนานั้นมีน้อยมาก จึงต้องเร่งเตรียมพร้อมหาทางรับมือที่อาจรุนแรงขึ้นในอนาคต เป็นที่รู้กันอยู่แล้ว สำหรับข่าวคราวของภัยพิบัติที่เกิดขึ้นว่าสิ่งเหล่านั้นกำลังทวีความรุนแรงและความถี่มากขึ้นจากทั่วทุกมุมโลก โดยที่เราแทบจะไม่สามารถแก้ไขอะไรได้เลย ส่วนหนึ่งเป็นเพาระการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนทั่วโลก ทำให้สมดุลของโลกนั้นเปลี่ยนไป จนมนุษย์ไม่สามารถต่อสู้หรือป้องกันอะไรใดๆได้เลย มีเพียงแต่ต้องเตรียมตัวตั้งรับกับความรุนแรงจากภัยพิบัติที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันข้างหน้าเท่านั้น หรือถ้าเป็นไปได้และเราสามารถแก้ไขสาเหตุของการเกิดภัยพิบัติลงได้สักเสี้ยวหนึ่งก็อาจสามารถยื้อเวลาและลดความเสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าวลงได้บ้าง

ที่มาข้อมูล

https://www.reuters.com/business/environment/human-activity-is-leading-more-disasters-un-report-2022-04-25/

related