svasdssvasds

สรุปให้ #LetTheEarthBreath ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์ เกิดอะไรขึ้น?

สรุปให้ #LetTheEarthBreath ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์ เกิดอะไรขึ้น?

#LetTheEarthBreath ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์ในไทย หลังนักวิทย์อังกฤษออกมาประท้วงเหตุรัฐบาลอนุมัติให้สร้างโรงงานพลังงานฟอสซิล Springnews สรุปให้เกิดอะไรขึ้น?

เกิด #LetTheEarthBreath ขึ้นมาในเทรนด์ทวิตเตอร์ตั้งแต่คืนวันที่ 14 เมษายนและมีการรณรงค์ชวนกันประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ประหยัดพลังงานลดโลกร้อน มันเกิดอะไรขึ้น?

มีคลิปไวรัลจากต่างประเทศตัวหนึ่งแสดงให้เห็นการประท้วงของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีการรายงานว่า รัฐบาลอังกฤษได้อนุญาตให้มีการสร้างโรงงานพลังงานฟอสซิล ซึ่งจะทำให้ในอีก 3-5 ปีข้างหน้าโลกร้อนขึ้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์เริ่มทนไม่ไหวออกมาประท้วงว่า มันจะทำให้โลกร้อนนะ พวกเขาเตือนมาหลายปีแล้ว แต่ไม่มีใครฟังเลย มาดูกันว่ามันเกิดอะไรขึ้น?

เกิดอะไรขึ้น?

เว็บไซต์ Smithsonian รายงานเมื่อวันที่ 13 เมษายนว่า นักวิทยาศาสตร์จัดกลุ่มประท้วงลอสแองเจลิส เรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกหลังจากรายงาน IPCC ฉบับล่าสุดประกาศออกมาว่าโลกอยู่ในจุดที่ไม่สามารถหวนกลับไปแก้ไขได้แล้ว

โดยรายงานกล่าวว่า มีนักวิทยาศาสตร์กว่า 1,000 คนจาก 25 ประเทศเข้าร่วมการประท้วงของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากการตีพิมพ์ใหม่ของ IPCC หรือคณะกรรมการระว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รายงานเตือนว่า เราต้องลดก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วนให้ได้ภายในปี 2025 เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากสภาพอากาศที่เลวร้าย

พวกเขาคือใคร?

กลุ่มที่ออกมาเรียกร้องนี้เรียกตนเองว่า Scientist Rebellion ได้เขียนในจดหมายว่า “การดำเนินการและแผนการในปัจจุบันไม่เพียงพอในการลดก๊าซให้ได้ตามเป้าหมาย หรือภาระผูกพันอื่นๆก็จะไม่บรรลุผล” การประท้วงของพวกเขาเน้นย้ำถึงความเร่งด่วนและความอยุติธรรมของสภาพภูมิอากาศและวิกฤตทางนิเวศวิทยา ตามแถลงการณ์จากองค์กร

กลุ่มนักวิทย์ยืนประท้วง โดย Scientist Rebellion Scientist Rebellion เป็นองค์กรวิทยาศาตร์ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2020 โดยนักเรียนปริญญาเอกในสกอตแลนด์ ซึ่งพวกเขาได้แรงบันดาลใจจากกลุ่มกบฏสูญพันธุ์ (Extinction Rebellion) ตามรายงานของ AFP The Extinction Rebellion

พวกเขาเผยเป้าหมายที่ชัดเจนออกมาเป็นจดหมายที่แสดงเจตจำนงค์ว่าพวกเขามีความตั้งใจที่จะเผยความจริงด้านดวามรุนแรงของสภาพอากาศและเหตุฉุกเฉินทางนิเวศวิทยา ด้วยการประท้วงโดยจะไม่ก่อให้เกิดความรุนแรงแต่อย่างใด พร้อมกับเชิญชวนนักวิทยาศาสตร์ลงนามให้ครบ 200 คนเพื่อร่วมขบวนการดังกล่าว

 

ความเห็นของนักวิทยาศาสตร์

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในลอสแองเจลิส นักวิทยาศาสตร์รวมถึง Peter Kalmus นักวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศของ NASA กับ Jet Propulsion Laboratory ก็เข้าร่วมด้วยโดยได้ล่ามโซ่ตัวเองกับอาคาร JP Morgan Chase

“เราพยายามเตือนพวกคุณมาหลายสิบปีแล้ว นักวิทยาศาสตร์ของโลกกำลังถูกละเลย และมันต้องหยุดได้แล้ว เรากำลังจะสูญเสียทุกอย่างไป” คาลมัสพูดด้วยน้ำเสียงสั่นเครือ

พวกเขาประจันหน้ากับเจ้าหน้าที่ประมาณ 100 นายในชุดปราบจลาจลและถูกจับกุมไป ตามรายงานของ Eric Schank จากเว็บ Salon

เจ้าหน้าที่เข้าจับกุมตัวนักวิทยาศาสตร์ออกไปทีละคนจากที่ชุมนุม ภาพโดย Scientist Rebellion

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Kalmus ได้เขียนความคิดเห็นหลายชิ้นใน Guardian เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเรียกร้องให้ยุติอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลและเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน

เขากล่าวว่า “ฉันรู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการสูญเสียป่าไม้ ปะการังและความหลากหลายทางชีวภาพที่ลดน้อยลง แต่ฉันจะสู้ต่อไปให้หนักที่สุดเพื่อโลกใบนี้ ไม่ว่ามันจะเลวร้ายแค่ไหน เพราะมันอาจเลวร้ายลงได้เสมอ และมันจะเลวร้ายลงเรื่อย ๆ จนกว่าเราจะยุติอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลและการแสวงหากำไรแบบทวีคูณด้วยการผลาญทรัพยากรทุกอย่างบนโลก”

เหตุการณ์ทำให้เกิดการลุกฮือของนักวิทยศาตร์ประเทศอื่นๆด้วย เช่น ในกรุงวอชิงตันดี.ซี. ถูกล่ามโซ่กับรั้วทำเนียบขาว นักวิทยาศาสตร์ชาวสเปนปาเลือดปลอมใส่ด้านหน้าสภาแห่งชาติ นักวิทยาศาสตร์ชาวปานามาแสดงการประท้วงที่สถานทูตหลายแห่ง และผู้ประท้วงชาวเยอรมันก็ปักหลักอยู่ที่สะพานในมาลาวี ตามคำแลถลงของ Scientist Rebellion

“ฉันไม่แน่ใจว่านี่เป็นโอกาสสุดท้ายของเราแล้ว แต่เวลากำลังจะหมดลงแล้ว” จอร์แดน ครูซ วิศวกรด้านสิ่งแวดล้อมในเอกวาดอร์ เขียนถึง Marlowe Hood ของ AFP ในอีเมล "ฉันกลัว แต่ความกลัวที่กระตุ้นการกระทำ มันคือความอยู่รอด"

สมาชิกของ Scientist Rebellion เป็นผู้นำการประท้วงหลายครั้งก่อนหน้านี้ รวมถึงที่ COP26 ในกลาสโกว์ ที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วสหราชอาณาจักร และต่อหน้า Royal Society ตามเว็บไซต์ ปีที่แล้ว องค์กรรั่วไหลร่างรายงาน IPCC

IPCC ฉบับใหม่เผยว่าอย่างไร?

แถลงการณ์ฉบับใหม่นี้เผยว่า การเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศจะกระทบกับผู้คน 3.3-3.6 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคที่ถือว่า “มีความเสี่ยงสูง” แต่ผลกระทบของภาวะโลกร้อนมีการกระจายอย่างไม่เท่าเทียมกัน ผู้ที่มีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุดมักจะถูกตัดขาดจากทรัพยากรที่สามารถช่วยให้พวกเขาปรับตัวหรือลดความเสี่ยงดังกล่าวได้

หรือกล่าวคือ ประเทศที่ยากจนมักจะเป็นผู้ที่เสียเปรียบที่สุดในวิกฤตการณ์นี้  ทั้งการขาดแคลนทรัพยากร ขาดการอุดหนุน ที่จะเป็นปัจจัยสำคัญในการปรับตัวหรือป้องกันตัวจากภาวะโลกร้อนที่กำลังเข้มข้นขึ้น จากการประชุม COP26 จึงมีการเสนอให้ประเทศที่ร่ำรวยยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือประเทศที่ยากจนในด้านของทุนทรัพย์ เพื่อให้พวกเขามีโอกาสที่จะเอาตัวรอด และประเทศร่ำรวยกว่าจะต้องให้ความช่วยเหลือ เพราะความร่ำรวยของตนมักมาจากการใช้ทรัพยากรจำนวนมากที่เหนือกว่า มากกว่า จึงต้องมีการชดเชย

กลับมาที่ตัวรายงาน  รายงานฉบับนี้เป็นแผนที่แสดงความทุกข์ทรมานของมนุษย์และข้อกล่าวหาที่เลวร้ายและความล้มเหลวของการเป็นผู้นำด้านสภาพอากาศ หลักฐานในรายงานฉบับนี้มาจากแหล่งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มากกว่า 34,000 แห่งแสดงให้เห็นว่า พายุที่รุนแรง ภัยแล้ง น้ำท่วม คลื่นความร้อนและไฟป่า ทั้งหมดนี้ทวีความรุนแรงและถี่ขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงไปของสภาพอากาศอย่างไร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการผลิตอาหาร ขัดขวางการทำประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์ ทำให้เมืองและโครงสร้างพื้นฐานเสียหาย และทำลายสุขภาพของมนุษย์

นักวิทย์เผยว่า พวกเขาออกมาต่อสู้เพราะหมดหนทางแล้ว โลกต้องการการรักษาโดยด่วน Cr.Scientist Rebellion IPCC คือใครเชื่อถือได้ไหม?

IPCC หรือ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นหน่วยงานหรือองค์ที่จะคอยเตือนมนุษยชาติว่ากำลังทำอะไรเกินตัวอยู่หรือไม่ หรือพูดง่ายๆก็คือ เป็นหน่วยงานที่จะคอยเฝ้าสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นทั่วโลกอันจะนำไปสู่การหาแนวทางแก้ไขภาวะโลกร้อน

สรุปจากผู้เขียน

การประท้วงนี้เกิดขึ้นมาจากกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อว่า Scientist Rebellion ในลอสแองเจลิส หลังจากทนไม่ไหวกับการเพิกเฉยของรัฐบาลที่พยายามดันทุรังสร้างโรงงานพลังงานฟอสซิลที่จะทำให้โลกร้อนขึ้น แม้ว่ารายงานฉบับใหม่ของ IPCC จะรายงานว่าโลกร้อนเกินไปแล้ว ต้องเร่งแก้ไข นั่นจึงทำให้เหล่านักวิทย์ไม่พอใจและออกมาประท้วงเชิงสัญลักษณ์กันหลายประเทศทั่วโลก

การประท้วงดังกล่าวก่อให้เกิดไวรัล หลังตำรวจเข้าบุกรวบเหล่านักวิทย์ไปทีละคน จึงมีการขึ้น #LetTheEarthBreath ขึ้นในทวิตเตอร์และมีการแชร์ออกไปอย่างกว้างขวาง แม้กระทั่งในไทยเอง ก็มีการพูดถึงกันมากขึ้นถึงการประท้วงดังกล่าว และเชิญชวนกันช่วยลดพฤติกรรมอันก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน

ในความเป็นจริง รายงานของนักวิทยาศาสตร์นั้นได้เผยแพร่มานานหลายปีแล้ว ถึงการเตือนภัยมนุษยชาติว่าโลกของเรากำลังร้อนขึ้นจากพฤติกรรมของพวกเราเอง และมีผลกระทบด้านใด มาจากไหน ที่ไหน ใครเป็นคนทำ รายงานเหล่านี้มีมาหมดแล้ว แต่ยังคงได้รับการเพิกเฉยจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะผู้นำโลก จึงมีการจัดประชุม COP26 ขึ้นเมื่อปลายปี 2021 ที่ผ่านมา จึงเริ่มเห็นนโยบายที่เป็นรูปเป็นร่างบ้าง แต่การลงมือทำนั้นยังยากอยู่ในหลายประเทศเนื่องจากหลายปัจจัย ซึ่งทาง Springnews เคยนำเสนอไว้ สามารถศึกษาหาข้อมูลต่อได้ที่ เว็บไซต์ Springnews > ค้นหาคำว่า สิ่งแวดล้อม

ที่มาข้อมูล

https://www.smithsonianmag.com/smart-news/scientists-stage-worldwide-climate-protests-after-ipcc-report-180979913/

https://www.theguardian.com/environment/video/2022/apr/13/extinction-rebellion-scientists-glue-hands-to-business-department-in-london-climate-protest-video

https://scientistrebellion.com/

https://twitter.com/ScientistRebel1

related