svasdssvasds

อธิบดีกรมอนามัยเตือน เด็ก 12-15 ปี ไม่ควรทำ IF เสี่ยงเป็นโรคขาดสารอาหาร

อธิบดีกรมอนามัยเตือน เด็ก 12-15 ปี ไม่ควรทำ IF เสี่ยงเป็นโรคขาดสารอาหาร

กรมอนามัย เตือน เด็ก12-15 ปี ไม่ควรลดน้ำหนักแบบ IF หรือการลดน้ำหนักแบบกินอาหารตามช่วงเวลา เพราะอยู่ในช่วงวัยเจริญเติบโต เสี่ยงเกิดโรคขาดสารอาหาร

จากข่าว เด็ก 14 ปี ลดน้ำหนักแบบ IF ที่มีการอดอาหาร 23 ชั่วโมง กิน 1 ชั่วโมง ตลอด1ปีจนทำให้ร่างกายวิกฤติ ไม่รับอาหารทุกชนิด โดย นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย แจงถึงการทำ Intermittent Fasting หรือ IF เป็นหนึ่งในวิธีการกำหนดระยะเวลาการกิน เพื่อลดน้ำหนัก ที่ผ่านมาประชาชนหลายคนเลือกช่วงเวลาการอดอาหารไม่เหมาะสม ทำให้ร่างกายเกิดความหิว ดังนั้น แนะให้เลือกช่วงวลาให้เหมาะสม เช่น ช่วงเวลาที่ร่างกายยังไม่ต้องการสารอาหาร 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 ให้ประเมินสภาพร่างกายของตนเองว่ามีโรคประจำตัวหรือไม่ รวมถึงต้องมีวัจถุประสงค์มนการทำ IF เช่น เพื่อลดน้ำหนัก หรือ ควบคุมอาหารเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรั้ง ส่วนวัยเจริญเติบโต กลุ่มอายุ 12-15 ปี ที่อยู่ในภาวะอ้วนสามารถทำ IF ได้ ส่วนกลุ่มที่ร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ไม่ควรคุมอาหารด้วยวิธี IF เพราะจะทำให้ขาดสารอาหารได้  

IF คืออะไร?

IF หรือ Intermittent Fasting  คือ การกินแบบจำกัดช่วงเวลา  แบ่งเวลาการกินออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงอด กับ ช่วงกิน
การทำ IF  การทำ IF คือ ช่วยยกระดับการเผาผลาญไขมันให้กับร่างกาย ดังนั้นน้ำหนักจากการสะสมของไขมันจึงลดตามไปด้วย โดยหลักการเผาผลาญคือ เมื่อเราอยู่ในช่วงอดอาหาร ระดับอินซูลินจะลดลง ระดับ Growth Hormone สูงขึ้น การอดระยะสั้นสลับกันไปนี้จะช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญของร่างกายได้

อย่างไรก็ตาม ประชาชนกลุ่มไหนที่ต้องการคุมน้ำหนักด้วยวิธี IF ควรประเมินสภาวะสุขภาพของตนเองและต้องไม่มีโรคประจำตัว

related