svasdssvasds

ข่าวปลอม! “กราโนลา” อาหารช่วยลดน้ำหนัก เตือนกินมากไปอ้วนแน่นอน

ข่าวปลอม! “กราโนลา” อาหารช่วยลดน้ำหนัก เตือนกินมากไปอ้วนแน่นอน

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ระบุ “กราโนลา” ไม่ใช่อาหารสำหรับควบคุมน้ำหนัก หรือลดน้ำหนัก ยิ่งถ้าผสมน้ำตาล น้ำผึ้ง หรือส่วนประกอบอื่นๆ หากกินเยอะเกินไปก็จะสะสมเป็นไขมัน และทำให้อ้วนได้

ข่าวปลอม! “กราโนลา” อาหารช่วยลดน้ำหนัก เตือนกินมากไปอ้วนแน่นอน

ตามที่ได้มีการแชร์ข้อความผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ ถึงประเด็นเรื่อง กราโนลา อาหารช่วยลดน้ำหนัก ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากที่มีการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับการรับประทานกราโนลา เพื่อหวังผลในการควบคุมน้ำหนัก และลดน้ำหนักนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ชี้แจงว่า กราโนลา (Granola) มีส่วนผสมที่มีประโยชน์ แต่ก็เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง จากน้ำมันพืชเพื่อให้กรุบกรอบ น้ำตาลเพื่อให้ความหวาน แล้วยังมีส่วนผสมของผลไม้แห้ง ซึ่งมีน้ำตาลผสมอยู่ หากกินเยอะเกินไปก็จะสะสมเป็นไขมัน และทำให้อ้วนได้ ดังนั้นกราโนลาจึงไม่ใช่อาหารสำหรับควบคุมน้ำหนัก
 

กราโนลา (Granola) เป็นอาหารตะวันตกอย่างหนึ่งที่ทำจากข้าวโอ๊ต และธัญพืชต่าง ๆ เมล็ดถั่วหรือนัท และผลไม้แห้ง ซึ่งผ่านกระบวนการปรุง เติมน้ำตาล น้ำผึ้ง และน้ำมัน แล้วจึงนำไปอบกรอบ นิยมนำไปรับประทานเป็นอาหารเช้าโดยอาจผสมกับ โยเกิร์ต น้ำผึ้ง นม เพื่อทำให้น่ากินยิ่งขึ้น หรือนำไปอัดเป็นแท่งเพื่อให้รับประทานได้ง่ายและประหยัดเวลา จึงเป็นอาหารที่มีประโยชน์แต่ให้พลังงานสูง  หากต้องการรับประทานควรอ่านฉลาก และฉลากโภชนาการก่อนบริโภค เพื่อพิจารณาส่วนประกอบ ปริมาณการบริโภคที่เหมาะสมต่อครั้ง และปริมาณแคลอรี่ที่จะได้รับจากการบริโภค และควรเลือกแบบที่มีน้ำตาลน้อย ไม่ใส่ผลไม้อบแห้งมากเกินไป ถ้ากินกับนมหรือโยเกิร์ตก็ควรเลือกแบบที่ไขมันต่ำ น้ำตาลน้อย ทั้งนี้หากต้องการลดน้ำหนัก ควรเลือกบริโภคอาหารที่มีใยอาหารสูง ลดหวาน มัน เค็ม หรือเลือกอาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักที่ได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th หรือโทร. 1556


บทสรุปของเรื่องนี้คือ : กราโนลา (Granola) ไม่ใช่อาหารสำหรับควบคุมน้ำหนัก หรือลดน้ำหนัก หากต้องการรับประทานควรเลือกกราโนลาแบบที่มีน้ำตาลน้อย ไม่ใส่ผลไม้อบแห้งมากเกินไป ถ้ากินกับนมหรือโยเกิร์ตควรเลือกแบบที่ไขมันต่ำ น้ำตาลน้อย


หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
 

related