ภาพผู้คนร่วม 300 คน ที่ยอมปลดเปลื้องเสื้อผ้าของตัวเอง ริมทะเลเดดซี Dead Sea นับเป็นปรากฏการณ์ที่น่าตื่นตาตื่นใจ และเป็นส่วนหนึ่งของผลงาน ภาพถ่าย - ศิลปะจัดวาง "เปลือยหมู่" ของ สเปนเซอร์ ทูนิค ศิลปินช่างภาพ ชาวอเมริกันที่รังสรรค์ผลงานลักษณะนี้มาอย่างยาวนาน .
ภาพผู้คนยอมปลดเปลื้องเสื้อผ้าอาภรณ์ของตัวเองออกเกือบ 300 คน เป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะ "เปลือยหมู่" ชิ้นใหม่ล่าสุดของ สเปนเซอร์ ทูนิค ศิลปินช่างภาพ และศิลปินในศิลปะแขนงการจัดวาง "สิ่งมีชีวิต" live installation ซึ่งงานศิลปะชิ้นนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากจัดที่บริเวณ ทะเลเดดซี Dead Sea ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสถานที่สำคัญของโลก ซึ่งมีจุดเชื่อมต่อระหว่างจอร์แดน , อิสราเอล และ เขตเวสต์แบงค์
.
ผลงานศิลปะเปลื้องผ้า และถ่ายภาพ เปลือยหมู่ ชิ้นนี้ มีจุดประสงค์คือ ส่วนหนึ่งเพื่อให้ผู้คนตะหนักถึงปัญหา สภาวะของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความจำเป็นในการอนุรักษ์ทะเลเดดซี ซึ่ง บริเวณ ทะเลเดดซี Dead Sea ครั้งหนึ่ง เมื่อปี 2011 สเปนเซอร์ ทูนิค เจ้าพ่ออาร์ท "เปลือยหมู่" เคยมาทดลองทำผลงานแล้ว และในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา สภาพของทะเลเดดซีก็เปลี่ยนไปมาก และน้ำเหือดแห้งหายไปจำนวนมาก
.
"การที่ได้มาอิสราเอลครั้งก่อน ได้ให้ประสบการณ์อะไรต่างๆมากมายๆ ผมมีความสุขกับการได้กลับมาทำงานศิลปะที่นี่อีกครั้ง...และ ประเทศเดียวในแถบตะวันออกกลางที่อนุญาตให้ทำงานศิลปะ นู้ดแบบนี้" สเปนเซอร์ ทูนิค เจ้าพ่ออาร์ท "เปลือยหมู่" ให้ความเห็น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ประตูชัยฝรั่งเศส : ศิลปะการห่อคลุม ที่ต้องรอคอยถึง 60 ปี จึงสำเร็จตามฝัน
"หุ่นเด็กผู้หญิงกำลังจมน้ำ" ที่สเปน สะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อม หลอนปนสยอง
โรงภาพยนตร์แห่งชาติโซมาเลีย กลับมาให้บริการครั้งแรก ในรอบ 30 ปี
การที่ให้เหล่า นางแบบ-นายแบบเปลือยหมู่ ทาตัวเป็นสีขาวในศิลปะชิ้นนี้ ก็เพราะ สเปนเซอร์ ทูนิค ศิลปินชาวอเมริกันต้องการ สื่อเป็นนัยว่า ตรงจุดนี้ มีเกลือ และ ทะเลเดดซี เป็นทะเลมรณะ เป็นทะเลหรือทะเลสาบที่ได้ชื่อว่ามีความเค็มที่สุดในโลก แต่สภาพแวดล้อมบริเวณนี้กำลังเปลี่ยนไป
.
ขณะเดียวกัน รัฐมนตรีการท่องเที่ยวของอิสราเอล หวังว่า ผลงานศิลปะเปลือยหมู่ ของ สเปนเซอร์ ทูนิค ชิ้นนี้ จะเป็นการกวักมือเรียกและดึงดูดให้ผู้คนไปเยือนทะเลเดดซี มากขึ้น เพราะในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ทุกประเทศต่างประสบปัญหาเรื่องเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวด้วยกันทั้งสิ้น
สำหรับ สเปนเซอร์ ทูนิค ศิลปินช่างภาพ ทำงานในลักษะนี้มาเป็นเวลาหลายปี เขาถ่ายภาพหรือถ่ายวิดีโอคนเหล่านี้ และการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมของพวกเขา และมีผลงานอันน่าตื่นตาตื่นใจ จัดแสดงให้เห็น https://www.spencertunick.com/ ตามสถานที่ต่างๆ อาทิ โอเปร่า เฮาส์ ที่ออสเตรเลีย , สนามแอร์น ฮัปเปิล สเตเดี้ยม ( Ernst Happel Stadium ) สนามกีฬาแห่งชาติออสเตรีย, จัตุรัสกลางเมือง Mexico City ในเม็กซิโก ซิตี้ เป็นต้น