svasdssvasds

วัน ศิลป์ พีระศรี 15 กันยายน ระลึกถึง บิดาศิลปะร่วมสมัยไทย

วัน ศิลป์ พีระศรี 15 กันยายน ระลึกถึง บิดาศิลปะร่วมสมัยไทย

วันที่ 15 ก.ย.ถือเป็นวันเกิด ศิลป์ พีระศรี “บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยไทย” ที่คนรักศิลปะทุกคน ต่างใช้วาระโอกาสนี้ ร่วมระลึกถึงสิ่งที่ท่านเคยสร้างประโยชน์เอาไว้...และสิ่งที่ ศิลป์ พีระศรี เคยสอนไว้ ก็เพื่อให้ตระหนักว่าชีวิตคนเราแสนสั้นแต่การศึกษาหาความรู้ไม่มีวันจบ

ประวัติย่อบิดาศิลปะร่วมสมัยไทย
.
15 กันยายน 2435 (1892) ถือเป็นวันเกิด ของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี หรือชื่อเดิมคือ คอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci)  
.

โดยอาจารย์ ศิลป์ พีระศรี ได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยไทย”  เพราะท่านคือผู้ให้กำเนิดและเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยศิลปากรยุคแรก โดยศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ดูแลการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติอย่างเข้มงวด
.
ในอดีต ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นประติมากรจากเมืองฟลอเรนซ์ อิตาลี ที่มีผลงานและได้รับรางวัลมากมายเข้ามารับราชการในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
.
โดยย้อนกลับไป ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระประสงค์จะหาช่างปั้นมาช่วยปฏิบัติราชการเพื่อฝึกฝนให้คนไทยสามารถปั้นรูปได้อย่างแบบตะวันตกและสามารถมีความรู้ถึงเทคนิคต่างๆในงานมาปฏิบัติราชการกับรัฐบาลไทย ทางรัฐบาลอิตาลีจึงเสนอนาย คอร์ราโด้ เฟโรชี่ มาพร้อมทั้งคุณวุฒิและผลงาน ซึ่งรัฐบาลไทยก็ยินดีรับเข้าเป็นข้าราชการในตำแหน่งช่างปั้น กรมศิลปากรกระทรวงวัง
.
อนุสาวรีย์ที่สำคัญหลายแห่งในประเทศเกิดจากฝีมือการปั้นหล่อและออกแบบของอาจารย์ ศิลป์ พีระศรี  เช่น พระบรมราชานุสาวรีย์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ดอนเจดีย์อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

silp ภาพจาก หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยศิลปากร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผู้ริเริ่มโรงเรียนประณีตศิลปกรรม  
.
อาจารย์ ศิลป์ พีระศรี ยังมีบทบาทสำคัญในการก่อตั้ง มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาศิลปะขั้นอุดมศึกษาแห่งแรกของไทย โดยเริ่มต้นจาก โรงเรียนประณีตศิลปกรรม ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2477 มีท่านเป็นผู้ดูแลการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ประสิทธิประสาทวิชา  
.
อาจารย์ศิลป์ ริเริ่มเขียนบทความ และหนังสือศิลปะเป็นจำนวนมาก เพื่อหว่านเมล็ดพันธุ์ศิลปะสมัยใหม่ในเมืองไทย ซึ่งตลอดการใช้ชีวิตบนผืนแผ่นดินไทยนานเกือบ 40 ปีในฐานะคนไทยคนหนึ่ง โดยสมบูรณ์ตราบจนสิ้นชีวิต  โดย ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 รวมอายุได้ 70 ปี

silp2 ภาพจาก หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยศิลปากร

ภาษิตแห่งการใช้ชีวิต
.
อาจารย์ ศิลป์ พีระศรี ทุ่มเทชีวิตให้กับงานอย่างสม่ำเสมอดังเช่นสุภาษิตที่ท่านมักกล่าวกับลูกศิษย์เสมอว่า  อาทิ “พรุ่งนี้ก็สายเสียแล้ว” , "ศิลปะยืนยาว...ชีวิตสั้น"  , “พวกเธอต้องเรียนรู้ความเป็นมนุษย์ก่อน…แล้วจึงเรียนศิลปะ”  หรือ “Ars longa, vita brevis” หรือ "ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น" ซึ่งเป็นสุภาษิตละตินที่ท่านมักจะพูดกับลูกศิษย์อยู่บ่อยครั้ง
.
เพื่อให้ตระหนักว่าชีวิตคนเราแสนสั้นแต่การศึกษาหาความรู้ไม่มีวันจบ ...และแม้ท่านจะจากโลกนี้ไปแล้ว แต่คุณงามความดีของท่านยังคงอยู่ยืนยงเสมอ

silp23 ภาพจาก .หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยศิลปากร

google Google Doodle แสดงการรำลึกถึง ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เนื่องในวันคล้ายวันเกิด 15 กันยายน 2559

related