svasdssvasds

พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ยุคโควิด-19 ต้องรู้ 3 วิธี ตั้งรับภาษีอีเพย์เมนต์

พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ยุคโควิด-19 ต้องรู้ 3 วิธี ตั้งรับภาษีอีเพย์เมนต์

ช่วงนี้เป็นโอกาสทองของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ที่อยู่บ้านขายของออนไลน์จับกลุ่มลูกค้านักช้อปที่อยู่บ้าน แต่จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาษีขายของออนไลน์ด้วย ว่าเกณฑ์ไหนถึงจะเสียภาษี รวมถึงจะต้องรับภาษีอีเพย์เมนต์ให้ได้

โควิด-19 คนหยุดอยู่บ้าน ขายของออนไลน์มากขึ้น

ช่วงที่โควิด-19 ระบาดแบบนี้ หลายคนหยุดทำงานอยู่ที่บ้าน เวลาจะช้อปปิ้งก็ต้องช้อปทางออนไลน์ เพราะช่วงนี้ห้างสรรพสินค้าก็ปิดไปก่อนชั่วคราว ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ถือโอกาสนี้ขายของกันมากขึ้น บางคนก็ขายดี บางคนก็ขายไม่ดี เพราะกำลังซื้อของผู้คนดูจะแผ่ว จากผลกระทบโควิด-19 แต่ถึงอย่างไรคนที่ค้าขายออนไลน์ในปัจจุบันก็ต้องเสียภาษีต่าง ๆ ให้รัฐ ถ้าเข้าเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี

วันนี้ #สปริงนิวส์ ได้รวบรวมข้อมูลจาก ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ที่เกี่ยวข้องกับภาษีขายของออนไลน์มาเติมความรู้ให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์กัน โดยเริ่มจากต้องรู้ก่อนว่าประเภทของการขายของออนไลน์มีอะไรบ้าง คำตอบคือ มี 3 ประเภท ที่มีโอกาสเสียภาษีขายของออนไลน์ ถ้าเข้าเกณฑ์ตามที่รัฐกำหนดไว้ คือ

1.ขายผ่านมาร์เก็ตเพลส

2. ขายให้กลุ่มลูกค้าในโซเชียลมีเดีย

3.เปิดเว็บไซต์ของตัวเอง

ปัจจุบันขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีเข้ารัฐ ปัจจุบันขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีเข้ารัฐ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• พาส่อง ! มาตรการยกเว้นภาษีนำเข้า ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ มีอะไรบ้าง ?

• กรมสรรพากร แจง ปมดราม่า แม่ค้าโดนเก็บภาษี หลังเข้าโครงการรัฐ

• วันนี้ยื่นภาษีภ.ง.ด.90/91วันสุดท้าย ถ้าเกินกำหนดจะโดนอะไร ?

ส่องดูเกณฑ์ไหนที่มีโอกาสเสียภาษี

นอกจากนี้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จะต้องรู้เกี่ยวกับภาษีขายของออนไลน์ โดยมีอีกสิ่งที่ต้องรู้เมื่อจะเปิดร้านค้าออนไลน์ ว่าการธุรกรรมแบบไหนถึงจะถูกมีจะเสียภาษีขายของออนไลน์บ้าง ตามรายละเอียดดังนี้

พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ยุคโควิด-19 ต้องรู้ 3 วิธี ตั้งรับภาษีอีเพย์เมนต์

1.ยอดฝาก โอนเข้า ขารับ 3,000 ครั้ง/ปีขึ้นไป ไม่ว่าจะครั้งละกี่บาทก็ตาม

2.ฝาก โอนเข้า ทุกบัญชี ขารับ 400 ครั้ง/ปีขึ้นไป

3.ยอดเงินรวมกัน ขารับ 2 ล้านบาท /ปีขึ้นไป ซึ่งก็ต้องเข้าเงื่อนไข จำนวนครั้ง และมูลค่าของเงินที่ฝากโอน

อย่างไรก็ตามถ้าร้านค้าออนไลน์ใดไม่อยู่ในเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมาด้านบน ก็แค่เพียงยื่นภาษีแสดงรายได้ประจำปีตามปกติ เพราะปัจจุบันร้านค้าออนไลน์ก็ต้องยื่นภาษีเป็นปกติอยู่แล้ว หากรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด  เช่น

-ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถ้ามีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,000 บาท/ปีขึ้นไป ใช้เกณฑ์เดียวกับมนุษย์เงินเดือน -ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี จะเรียกเก็บที่ 7%

เปิดวิธีตั้งรับภาษีอีเพย์เมนต์ 

สำหรับสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ยังไม่มีประสบการณ์เรื่องการเสียภาษีขายของออนไลน์ ขอแนะนำว่าควรเริ่มต้นเตรียมตัวก่อนด้วยวิธี ดังนี้

1.ทำบัญชีรายรับ รายจ่ายไว้

2.เก็บหลักฐานทุกอย่าง

3.ศึกษาเรื่องภาษีให้ละเอียด

 

related