ช่วงที่โควิด-19 ระบาดหนัก ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ มีความจำเป็นอย่างมาก บางส่วนผลิตในประเทศได้ บางส่วนนำเข้ามาจากต่างประเทศ แต่เรื่องของภาษีนำเข้ายา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ ก็ยังมีหลายคนสงสัย วันนี้จะพาไปหาคำตอบกัน !
ต้องยอมรับว่าช่วงที่โควิด-19 ระบาดอย่างหนัก ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยชีวิตมนุษย์ และจะต้องมีความพร้อมที่สุดเพื่อรองรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันที่โควิด-19 ระบาดอย่างหนัก และจะต้องมีสำรองไว้เพื่ออนาคตที่ไม่รู้ว่าโควิด-19จะจบลงยังไง ดังนั้น ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ จึงจำเป็นที่ต้องพร้อม และเพียงพอมาก ๆ
โดย ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ มีทั้งผลิตเองในประเทศ และนำเข้ามาจากต่างประเทศมา หรือหากในประเทศผลิตไม่ทันก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเข้ามาโดยเฉพาะช่วงนี้ที่โควิด-19 กำลังวิกฤตมาก แต่การนำเข้าสินค้าเหล่านี้หากนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศก็เสียภาษีนำเข้า ซึ่งประเด็นนี้ก็มีการถกเถียงกันในสังคมว่าตกลงต้องเสียเท่าไหร่ ยังไง หรือได้รับการยกเว้นแล้ว
โควิดยังน่าเป็นห่วง ทำให้ต้องนำเข้าเครื่องมือทางการแพทย์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• องค์การเภสัชกรรม (จีพีโอ) แจงกรณีราคานำเข้าและภาษีวัคซีนโมเดอร์นา
• สรรพากร ยืนยัน วัคซีนทางเลือกเอกชน ประชาชนไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
• รีดภาษีความหวาน 3,500 ล้านบาท/ปี หวังดูแลสุขภาพคนไทย กินหวานลดลง
วันนี้ #สปริงนิวส์ ได้รวบรวมข้อมูล และหาคำตอบมาให้ โดยเริ่มจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่วันที่ 18 พ.ค. 2564 ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบให้ขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการนำเข้า ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ โควิด-19 สำหรับบริจาคเป็นสาธารณกุศล ไปถึง 31 มี.ค. 2565
เรื่องนี้ถูกเปิดเผยจาก ‘น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล’ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ว่า ครม. เห็นชอบให้ขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการนำเข้า ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์โควิด-19 สำหรับบริจาคเป็นสาธารณกุศล สำหรับการนำเข้าและบริจาคตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 2564 ถึงวันที่ 31 มี.ค. 2565 หลังจากที่มาตรการเดิมสิ้นสุดไปเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2564
สำหรับละเอียดตามมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการนำเข้ายา เวชภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์ต้านโควิด-19 สำหรับบริจาคเป็นสาธารณกุศลครั้งนี้ กระทรวงการคลังจะตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร มีดังนี้
ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าสินค้าที่ใช้รักษา วินิจฉัย ป้องกันโควิด-19 เพื่อบริจาคให้แก่สถานพยาบาล ซึ่งประกอบด้วย
-สถานพยาบาลของทางราชการ
-สถานพยาบาลของสถาบันการศึกษาของรัฐ
-สถานพยาบาลขององค์การมหาชน
-สถานพยาบาลของรัฐวิสาหกิจ
-สถานพยาบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
-สถานพยาบาลของหน่วยงานอื่นของรัฐ
-สถานพยาบาลของสภากาชาดไทย
-หน่วยงานของรัฐ องค์กรหรือสถานสาธารณกุศล
-สถานพยาบาล ที่กระทรวงการคลังประกาศ
ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม รายละเอียดดังนี้
-บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
-สำหรับการบริจาคให้สถานพยาบาล ไม่นำต้นทุนสินค้ามาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
ขณะที่ ‘นายศรัณยู ชเนศร์’ รองประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทในเครือโรงพยาบาลกล้วยน้ำไท กล่าวว่า เรื่องของภาษีนำเข้า ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ ช่วงนี้ยังอยู่ในภาวะปกติ นอกจากที่ได้รับการยกเว้นก็จะมีการเสียเพียงภาษีมูลค่าเพิ่มตามปกติเท่านั้น ส่วนประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนำเข้าภาษีนำเข้า ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ ส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องของปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ที่เป็นปัญหากับการนำเข้า ส่งออก มาสักระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ก็เร่งดำเนินการแก้ไขอยู่ ส่วนปัญหาอื่น ๆ ก็อาจมีบ้างในเรื่องของโลจิสติกส์ที่ล่าช้า