svasdssvasds

สมชัย ชี้ พลังประชารัฐ เดินเกมแก้รัฐธรรมนูญพลาด ! ถูก ส.ว. ปัดตกกลางสภา

สมชัย ชี้ พลังประชารัฐ เดินเกมแก้รัฐธรรมนูญพลาด ! ถูก ส.ว. ปัดตกกลางสภา

สมชัย ศรีสุทธิยากร วิเคราะห์กรณีญัตติของพรรคพลังประชารัฐ ที่มัดรวมกัน 5 ประเด็น ถูกปัดตกกลางสภา โดยญัตติที่ผ่านความเห็นชอบ มีเพียงญัตติเดียว คือญัตติของประชาธิปัตย์ ที่เสนอให้เปลี่ยนระบบเลือกตั้ง ให้คล้ายกับระบบฯ ในรัฐธรรมนูญ ปี 2540

สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก หลังผลโหวตแก้รัฐธรรมนูญ ออกมาว่า มีญัตติของพรรคประชาธิปัตย์ ผ่านเพียงญัตติเดียว จากทั้งหมด 13 ญัตติ โดยมีบทวิเคราะห์เป็นข้อๆ ดังนี้

1. 13 ญัตติ ส.ว. คว่ำ 12 ญัตติ ผ่านเพียงญัตติเดียว

แม้สภาผู้แทนจะลงมติ อย่างเป็นเอกภาพ เทเสียงเกือบทั้งสภา เห็นชอบในทุกฉบับที่มีเสนอแก้ไข  แต่หาก ส.ว. ไม่เอา  ทุกฉบับตั้งแต่ 1-12 ก็ตกไป  ตามเงื่อนไข มาตรา 256 ที่ต้องมี ส.ว. หนึ่งในสามร่วมเห็นชอบ

2. ญัตติของพลังประชารัฐ ส.ว.ไม่ลงมติรับหลักการ

การที่ ส.ว. ลงมติรับหลักการเป็น 0 ในฉบับที่ 1 ของ พลังประชารัฐ เป็นปัญหาที่เกิดจากร่างของ พลังประชารัฐ ที่วางแผนผิด นำ 5 ประเด็นแก้ไข 15 มาตรา มาผูกรวมในร่างเดียว  และเมื่อมีการเปิดประเด็นทำลายหลักการป้องกันการทุจริตของบทลงโทษในมาตรา 144 และ 185  แม้จะรับปากว่าจะไปแก้ในขั้นแปรญัตติ  แต่ก็ไปต่อได้ยาก ส.ว. จึงเลือกทิ้งร่าง พลังประชารัฐ และ ไปหนุน ฉบับที่ 13 เรื่องแก้บัตรเลือกตั้ง แทน

สมชัย ศรีสุทธิยากร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

3. ผ่านเพียงญัตติเดียว คือ ญัตติที่ 13 ของประชาธิปัตย์

ร่างฉบับที่ 13 ขอประชาธิปัตย์ แม้เป็นประเด็นแก้บัตรเลือกตั้งเป็นสองใบ และเปลี่ยนวิธีการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ กลับเป็นแบบเดิมตามรัฐธรรมนูญ ปี 40 และ 50 แต่โดยเจตนาต้องการใช้เป็นร่างประกบ  มิได้เตรียมการเป็นร่างหลัก ดังนั้น เนื้อหาที่เสนอแก้ไขจึงมีเพียง 2 มาตรา คือ มาตรา 83 และ มาตรา 91 ทั้ง ๆ ที่ หากจะแก้ระบบเลือกตั้ง ควรต้องแก้อย่างน้อย  8 มาตรา คือ มาตรา 83 , 85 , 86 , 90 , 91 ,92 ,93, และ 94

4. ญัตติของประชาธิปัตย์ ที่ผ่านความเห็นชอบในวาระแรก อาจไปต่อยากในวาระต่อไป

การรับหลักการร่างที่ 13 เพียงร่างเดียวของ ส.ว. จึงเป็นการหลับหูหลับตาลงมติตามโพย ที่กำหนดให้ ทิ้ง 1 รับ 13 โดยไม่มองรายละเอียดว่า ไปต่อไม่ได้  ทั้ง ๆ ที่ หากจำเป็นต้องทิ้ง 1 ยังมีร่างฉบับที่ 3 ของเพื่อไทย ที่เป็นข้อเสนอแก้ระบบเลือกตั้งในรายละเอียดและเหมือนกับร่าง พปชร. แทบทุกประการ พร้อมมีเนื้อหาครบทั้ง 8 มาตรา  แต่ไม่ยอมรับหลักการด้วยเนื่องจากเป็นของฝ่ายค้าน

อนุสาวรีย์ประชาธิไตย

5. อาจมีปัญหาตามมา ในขั้นตอนต่อไป

การรับหลักการร่างฉบับ 13 ร่างเดียว จึงไปต่อในขั้นแปรญัตติไม่ได้ เพราะแปรอย่างไรเนื้อหาก็จะขัดกับมาตราอื่น ๆ ที่มีอยู่เดิมและไม่ได้รับการแก้ไข ยกเว้นต้องเสนอร่างแก้ไข อีก 6 มาตราที่เหลือเข้ามาอีกรอบ ให้วุ่นวายเล่น

6. ใครต้องรับผิดชอบบ้าง จากกรณี ร่างแก้ร่างธรรมนูญ ของ พลังประชารัฐ ถูกคว่ำ

6.1 ไพบูลย์ นิติตะวัน และ ส.ส. พปชร. สมควรรับผิดชอบที่เสนอร่างแก้ไข โดยเอา มาตรา 144 และ 185 มาผูกรวมเป็นมัดเดียว ในร่างฉบับที่ 1

6.2 พลเอกประวิตร ในฐานะหัวหน้าพรรค สมควรรับผิดชอบที่ ไม่รู้เรื่องลูกพรรคทั้งพรรคร่วมลงชื่อในร่างฉบับที่ 1  แล้วตัวเองมาสัมภาษณ์ ในวันก่อนลงมติ ว่า ไม่ถูกต้อง ไม่เห็นด้วย

6.3 พลเอกประยุทธ์  ยังสบายดี เพราะทุกอย่างเป็นเรื่องของสภา และพรรค  ตัวเองไม่เกี่ยว

ที่มา  : สมชัย ศรีสุทธิยากร

ภาพ : สมชัย ศรีสุทธิยากร

related