svasdssvasds

‘ปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์’ กับเพลงสะท้อนชีวิต 'ด.ช. รามี่' ที่เกิดในปาเลสไตน์

‘ปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์’ กับเพลงสะท้อนชีวิต 'ด.ช. รามี่' ที่เกิดในปาเลสไตน์

'ด.ช. รามี่’ บทเพลงชื่อดังของเจ้าพ่อเพลงรักเพื่อชีวิต ‘ปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์’ สะท้อนความเจ็บปวดของแผ่นดินที่ไม่เคยมีความสงบ

SHORT CUT

  • ความขัดแย้งระหว่าง ‘อิสราเอล’ และ ‘ปาเลสไตน์’ ได้ถึงจุดแตกหักในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 เมื่อสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ลงมติรับรองข้อมติที่ 181 (II) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "แผนแบ่งดินแดนปาเลสไตน์
  • นั่นจึงเป็นที่มาของเพลง "เด็กชายรามี่" โดย ปู พงษ์สิทธิ์ ที่เขียนขึ้นจากความ เจ็บปวดและการต่อสู้ของเด็กชายชาวปาเลสไตน์คนหนึ่ง และเพลงนี้ได้กลายเป็นเสียงสะท้อนถึง ‘โศกนาฏกรรม’ จากความขัดแย้งทางศาสนาและการเมือง
  • โดยรวมแล้ว "เด็กชายรามี่" เป็นเพลงที่สะท้อนความสูญเสียที่สูญเปล่าบนแผ่นดีที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง โดยเฉพาะในหมู่เด็กๆ ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ

'ด.ช. รามี่’ บทเพลงชื่อดังของเจ้าพ่อเพลงรักเพื่อชีวิต ‘ปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์’ สะท้อนความเจ็บปวดของแผ่นดินที่ไม่เคยมีความสงบ

ความขัดแย้งระหว่าง ‘อิสราเอล’ และ ‘ปาเลสไตน์’ ได้ถึงจุดแตกหักในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 เมื่อสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ลงมติรับรองข้อมติที่ 181 (II) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "แผนแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ (United Nations Partition Plan for Palestine) " ที่มีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ยืดเยื้อระหว่างชาวยิวและชาวอาหรับในดินแดนปาเลสไตน์

แผนดังกล่าวเสนอให้จัดตั้งรัฐอิสระสองรัฐ ได้แก่ รัฐยิวและรัฐอาหรับ พร้อมทั้งกำหนดให้กรุงเยรูซาเลมเป็นเขตปกครองพิเศษ แม้แผนนี้จะได้รับการสนับสนุนจากชาวยิวส่วนใหญ่ ซึ่งเห็นว่าเป็นโอกาสสำคัญที่จะสร้างรัฐอิสราเอลเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ แต่ชาวอาหรับกลับปฏิเสธอย่างแข็งขัน เพราะพวกเขามีจำนวนมากกว่าชาวยิวถึง 2 เท่า แต่ต้องยอมแบ่งดินแดนให้ชาวยิวมากถึง 52 % จึงนำมาสู่สงครามและความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมานานถึงปัจจุบัน และต่อให้มองไปยังอนาคต ก็ยังไม่เห็นเงาแห่งสันติภาพบนดินแดนแห่งนี้เลย 

เพลง "ด.ช. รามี่" โดย ปู พงษ์สิทธิ์

นั่นจึงเป็นที่มาของเพลง "ด.ช. รามี่" โดย ปู พงษ์สิทธิ์ ที่เขียนขึ้นจากความ เจ็บปวดและการต่อสู้ของเด็กชายชาวปาเลสไตน์คนหนึ่ง และเพลงนี้ได้กลายเป็นเสียงสะท้อนถึง ‘โศกนาฏกรรม’ จากความขัดแย้งทางศาสนาและการเมือง ที่ได้พรากชีวิตผู้คนที่ไม่สมควรต้องตายบนดินแดนแห่งนี้มานานหลายทศวรรษ

SPRiNG ขอพาไปดูเรื่องราวเล็กๆ ที่ซ่อนอยู่ในทุกถ้อยคำและทุกท่วงทำนองของเพลง ‘เด็กชายรามี่’ นี้กัน แต่ไม่ใช่เพื่อชี้หน้าว่าใครเป็นผู้ร้ายในความขัดแย้งครั้งนี้ แต่คือการนำเสนอความจริงบนแผ่นดินที่ไฟแห่งสงครามไม่เคยดับ ผ่านสายตาของเด็กตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่ไม่มีวันได้มีชีวิตปกติเหมือนพวกเรา

Pu Pongsit Official

ราวเล็กๆ ที่ซ่อนอยู่ในเพลง 'เด็กชายรามี่'

“เด็กชายรามี่ เป็นเด็กชาวปาเลสไตน์

เกิดในแผ่นดินสงคราม และการทำลาย

ชีวิตวัยหนุ่ม ไม่ทันได้ใช้”

ท่อนแรกของเพลง เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงชีวิตที่ขมขื่นคนที่เกิดขึ้นในดินแดนแห่งนี้ เพราะตั้งแต่เด็ก พวกเขาอาจถูกผู้ใหญ่หัวรุนแรง ปลูกฝังอุดมการณ์แห่งความเกลียดชังและการก่อการร้าย และเมื่อเด็กต้องเติบโตในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความรุนแรง พวกเขามักประสบกับปัญหาทางจิตใจ และภาวะซึมเศร้าอย่างต่อเนื่อง จนไม่ได้ใช้ชีวิตเหมือนกับคนทั่วไป

“ศรัทธาแห่งศาสนา อยู่เหนือความตาย

แตกต่าง ไม่อาจร่วมแผ่นดินเดียวกันได้

จึงทำสงคราม แยกแผ่นดินปาเลสไตน์ (มายาวนาน) ”

ต่อมา เนื้อเพลงกล่าวถึงศาสนาและการแบ่งแยกดินแดน เพราะบริเวณนั้นนับเป็นแผ่นดินพันธสัญญา และนครเยรูซาเล็ม ก็เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับทั้งสามศาสนา ได้แก่ ยูดาห์ คริสต์ และอิสลาม จึงมีความขัดแย้งระหว่างชาวยิวและชาวอาหรับที่ไม่จบสิ้น

“**อิสราเอลมีเทมเพิ้ลเมาท์ อยู่เยรูซาเล็มฮารัม

อัล ชาริฟ อยู่เยรูซาเล็ม

ต่างอ้างสิทธิเป็นเจ้าของ

ไม่อาจปรองดอง ต้องทำสงคราม”

ท่อนต่อมาเล่าถึงสถานที่สำคัญ ‘เทมเพิ้ลเมาท์ (Temple Mount) ’ หรือที่เรียกว่า ฮาราม อัล-ชาริฟ (Haram al-Sharif) ในภาษาอาหรับ ตั้งอยู่ในนครเยรูซาเล็ม และเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในโลก สร้างขึ้นโดยกษัตริย์โซโลมอน เรียกว่า 'พระวิหารแรก (First Temple)' แต่ถูกทำลายโดยชาวบาบิโลนในปี  586 ก่อนคริสต์ศักราช หลังจากนั้นมีการสร้าง 'พระวิหารที่สอง (Second Temple)' ซึ่งถูกทำลายโดยจักรวรรดิโรมันในปี ค.ศ. 70

ปัจจุบัน เทมเพิ้ลเมาท์  มีความสำคัญทางศาสนาต่อชาวยิวและชาวมุสลิม และต่างแย่งกันอ้างสิทธิเป็นเจ้าของ สำหรับชาวยิว นครเยรูซาเล็มเป็นสถานที่ซึ่งพระเยซู ถูกพิพากษา แบกกางเขนไปตามถนน และถูกตรึง  ส่วน 'เทมเพิ้ลเมาท์' ชาวยิวเชื่อว่าเป็นจุดที่ใกล้ชิดกับพระเจ้ามากที่สุด ขณะที่ชาวมุสลิมก็เชื่อว่า สถานที่เดียวกันนี้เป็นจุดที่ นบีมุฮัม หมัดศาสดาของอิสลามเสด็จขึ้นสู่สวรรค์

“***พลีชีวิตพิทักษ์แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์

สิ้นชีวิตได้ขึ้นสวรรค์แน่นอน

รบกับยิวเพื่อแยกแผ่นดินที่หมายปอง

สถาปนารัฐปาเลสไตน์”

ท่อนต่อมาเล่าถึง ‘การพลีชีพ’ โดยตามความเชื่อของศาสนาอิสลาม ที่เล่าไว้ว่า ชาวมุสลิมทุกคนที่ต่อสู้ เพื่อปกป้องศาสนาและดินแดนที่ถูกยึดครองถือเป็นการกระทำที่มีคุณค่าและนำไปสู่การได้รับรางวัลในชีวิตหลังความตาย ซึ่งก็คือการขึ้นสวรรค์ ความเชื่อนี้มีรากฐานมาจากใน ‘คัมภีร์อัลกุรอาน’

 “เด็กชายรามี่ เป็นเด็กชาวปาเลสไตน์

อายุสิบสองได้ลองลิ้มรสความตาย

สังเวยสงคราม ศรัทธา ศาสนา”

ท่อนสุดท้ายของเพลงสะท้อนถึงโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นจริง ความขัดแย้งหลายครั้งได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตเด็กชาวปาเลสไตน์จำนวนนับไม่ถ้วน โดยเฉพาะในปี 2014 เกิดเหตุการณ์ Operation Protective Edge ที่ทัพอากาศอิสราเอลทิ้งระเบิดใส่ฉนวนกาซาเพื่อโจมตีกลุ่มฮามาส แต่กลับทำให้เด็กชาวปาเลสไตน์ต้องเสียชีวิตถึง 500 คน ส่วนในความขัดแย้งครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ ปี 2023 และยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลง ซึ่งขณะนี้ องค์กร Save the Children อ้างว่ามีเด็กชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตอย่างน้อย 3,000 คนแล้ว

PHOTO AFP

โดยรวมแล้ว "ด.ช. รามี่" เป็นเพลงที่สะท้อนความสูญเสียที่สูญเปล่าบนแผ่นดีที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง โดยเฉพาะในหมู่เด็กๆ ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

related